เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






การป้องกันและช่วยเหลือเด็กติดเกม



 
พญ.วินัดดา ปิยะศิลป์
สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี



ปัญหาเด็กติดเกม พบได้บ่อยในครอบครัวไทยปัจจุบันนี้ พ่อแม่หลายคนลำบากใจที่จะบังคับให้ลูกเลิกเล่นเกม เด็กบางคนติดมากจนไม่สนใจการเรียน ผลการเรียนตกลงมากๆ หรือบางคนไม่ยอมไปโรงเรียน ใช้เวลาเล่นเกมที่บ้านทั้งวัน เวลาห้ามมากๆเด็กแอบหนีไปเล่นเกมที่ร้านเกมนอกบ้าน บางคนเลยซื้อเกมให้เด็กเล่นที่บ้าน เนื่องจากเกรงว่าเด็กจะไม่กลับบ้าน แต่กลับเป็นปัญหาต่อมาจากการเล่นเกมที่บ้านมากขึ้น แพทย์และบุคลากรทางแพทย์ได้รับคำถามหรือการปรึกษาปัญหาเด็กติดเกมมากขึ้น การช่วยเหลือเด็กติดเกมจึงเป็นความจำเป็นรีบด่วนระดับประเทศ และถ้าสามารถป้องกันปัญหานี้ได้ จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง


วัตถุประสงค์

            1. ป้องกันการติดเกมของเด็กและวัยรุ่น
            2. แก้ไขให้เด็กเลิกการเล่นเกมแบบ “ติดเกม” โดยเร็ว
            3. ป้องกันเด็กที่เลิกเล่นได้แล้ว มิให้กลับไปติดเกมอีก

สภาพปัญหาการติดเกม
 

ผลการสำรวจพ่อแม่ผู้ปกครองโดย NECTEC เมื่อ ปี 2000 พบว่าในครอบครัวไทย มีคอมพิวเตอร์ต่ออินเตอร์เนต 27% // มีคอมพิวเตอร์ ไม่มีอินเตอร์เนต 23% // ไม่มีคอมพิวเตอร์ 50%

ในครอบครัวที่มีคอมพิวเตอร์ ร้อยละ 90 ของเด็กใช้งานเป็นประจำ และใช้ในกิจกรรมดังนี้ เล่นเกม ร้อยละ 31 * ทำการบ้านร้อยละ 20 ท่องเว็บเพื่อความสนุกสนานร้อยละ 13 ใช้ซอฟแวร์เพื่อการศึกษาร้อยละ 11 ค้นข้อมูลร้อยละ 3 **

การดูแลของผู้ปกครองนการใช้เน็ต ไม่ใกล้ชิดเวลาเด็กใช้เน็ตร้อยละ 45 ไม่รู้ว่าลูก พบเหตุการณ์ไม่เหมาะสม ร้อยละ 30 ไม่เคยคุยกับลูกเรื่องเน็ตร้อยละ 20


สรุปสภาพปัญหาในขณะนี้

            1. เด็กและวัยรุ่นใช้คอมพิวเตอร์ในการเล่นเกมมาก ใช้ในการศึกษาน้อย
            2. พ่อแม่ไม่มีเวลาดูแลการใช้คอมพิวเตอร์ของลูก

หลักสำคัญในการป้องกันหรือช่วยเหลือ

            วิธีการป้องกันและแก้ไขเด็กติดเกม ทำได้ด้วยการใช้วิธีการต่างๆ ประกอบกัน ดังนี้
 
            1) รู้ความสนใจของลูกตลอดเวลา
                   พ่อแม่ควรสนใจติดตามพฤติกรรมของลูก ความสนใจกิจกรรมต่างๆ รวมถึงความสนใจเรื่องเกม ส่วนใหญ่เด็กจะเริ่มอยากเล่นตั้งแต่อายุ 6 ปีเป็นต้นไป และจะมากขึ้นเรื่อยๆจนถึงวัยรุ่นตอนปลาย ซึ่งเด็กยังขาดการควบคุมตนเอง เพื่อนมีอิทธิพลอย่างสูงที่จะเหนี่ยวนำให้สนใจ อยากรู้อยากเห็น อยากลอง เพื่อจะมีเรื่องสนุกสนานพูดคุยกัน

            2) รู้จักเกมที่เด็กเล่น
                    เกมที่เด็กเล่นอาจมีหลายประเภท แตกต่างกันตามความสนใจ ความชอบความถนัด การพูดคุยเรื่องเกมกับลูกทำให้เข้าใจความชอบของเด็ก ถ้าได้เห็นตอนเด็กเล่นเกมจะสามารถแยกแยะประเภทของเกมได้ ดังนี้

                   ประเภท เกมที่เด็กเล่น แยกตามลักษณะเครื่องเล่น
                           1. เกมคอมพิวเตอร์ ที่บ้าน ร้านเกม อินเตอร์เนต
                           2. เกมกด เกมเครื่อง มือถือ
                           3. ตู้เกม

                   ชนิดของเกม แยกตามลักษณะเนื้อหาของเกม ได้แก่
                           1. เกมสนุก ไม่มีสาระ
                           2. เกมต่อสู้ มีการทำร้าย ทำลาย เช่น Raknarok
                           3. เกมยั่วยุทางเพศ มีเนื้อหาทางเพศกระตุ้น ยั่วยุให้เกิดความรู้สึกทางเพศ
                           4. เกมสร้างสรรค์ ความคิด จินตนาการ วางแผน เช่น The Sims
                           5. เกมวิชาการ ให้ความรู้

            3) รู้สาเหตุที่เด็กชอบ เด็กชอบเกมเนื่องจาก
                  1. เกมทำให้เด็กสนุก ตื่นเต้น เร้าใจ ชวนติดตาม
                  2. เด็กรู้สึกทำอะไรสำเร็จ ทำได้
                  3. ได้แสดงออกเรื่องที่เก็บกด ก้าวร้าว เกมที่เป็นการต่อสู้ ทำร้ายร่างกายกันหรือทำลายล้าง
                  4. มีรางวัล แรงจูงใจเป็นแต้ม คะแนน มีรางวัลจากผลงานทันที ไม่ต้องรอผลนาน
                  5. ไม่ต้องใช้ทักษะสังคม ( ที่เด็กบางคนขาดทักษะสังคม ไม่กล้าแสดงออก กังวลใจ ไม่มั่นใจตนเองจึงมัก
                      ไม่เข้าสังคม )

            4) รู้สาเหตุที่เด็กติดเกม
                  1. เด็กขาดการควบคุมตนเอง
                  2. พ่อแม่ไม่สนใจพฤติกรรมลูก ไม่มีเวลากำกับให้เด็กทำตามกติกา
                  3. ปล่อยให้เด็กมีอิสรเสรีมากเกินไป
                  4. ไม่มีการตกลงกติกากันก่อน
                  5. พ่อแม่ไม่ได้ช่วยให้เด็กมีกิจกรรมที่ดี และเหมาะสมกับจิตใจของเด็ก
                  6. เด็กมีปัญหาทางอารมณ์ ใช้เกมช่วยให้อาการดีขึ้นชั่วคราว
                  7. สิ่งแวดล้อม/เพื่อน/ครอบครัว/ชุมชน

            5) การค้นหาเด็กติดเกม
                  การค้นหาเด็กติดเกม ทำได้ด้วยการสังเกตพฤติกรรมเด็ก ที่บ้าน ที่โรงเรียน นอกบ้าน นอกโรงเรียน
                  การสอบถามพฤติกรรมของผู้ใกล้ชิด การตอบแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การสังเกตพฤติกรรม ต่างๆ
                  ต่อไปนี้

 
                   - การเล่นเกม มักใช้เวลามาก หมกมุ่น
                   - การใช้เงิน ใช้เงินไปกับการเล่นเกม หรือแอบหยิบเงินคนอื่น หาเงินทางอื่นเพื่อนำไปใช้กับเกม
                   - การใช้เวลาว่าง ไม่ใช้เวลาว่างกับกิจกรรมอื่น นอกจากเกม
                   - การเรียน ไม่สนใจการเรียน เรียนไม่รู้เรื่อง ขาดสมาธิในการเรียน คิดถึงเกมในเวลาเรียน ขาดเรียน
                     หนีเรียน ไม่ทำการบ้าน ผลการเรียนตกลง
                   - ความรับผิดชอบส่วนตัว ไม่ทำงานที่ได้รับมอบหมาย หลบเลี่ยงงาน ไม่อยู่ในกติกาที่
                     ตกลงกันไว้ นอนดึก สลับเวลานอน การกินการนอนกิจวัตรต่างๆไม่เป็นเวลา
                   - ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ขาดความสนใจคนอื่น เก็บตัวอยู่กับเกม ไม่สนใจโลกภาย
                     นอก

                 ลักษณะของการติดเกม
 
                     - ใช้เวลาเล่นเกม เกิน 2 ชมต่อวัน
                     - รบกวนหน้าที่ การเรียน ขาดทักษะสังคม ขาดความสัมพันธ์ในบ้าน และกับเพื่อน
                       นอกบ้าน
                     - หมกมุ่นจริงจัง
                     - ขาดไม่ได้ จะมีอาการรุนแรง อารมณ์เสีย
                     - บุคลิกภาพผิดไปจากเดิม
                     - ใช้เงินมาก แอบทำ โกหก ขโมยเงินไปเล่น

                 ปัญหาตามมา

 
                     - เสียการเรียน ขาดแรงจูงใจในการเรียน เรียนไม่สนุก
                     - ติดพฤติกรรม ก้าวร้าว คิดแบบเกม
                     - ขาดจินตนาการ สร้างสรรค์ คิดแต่ในกรอบ
                     - อาการเป็นมากขึ้น จนเป็นโรคติดเกม

            6) การช่วยเหลือเมื่อเด็กติดเกมแล้ว
            การช่วยเหลือเด็กติดเกมทำได้ด้วยการสร้างพื้นฐานความสัมพันธ์ที่ดี แล้วตามด้วยวิธีการดังนี้
                  1. ตกลงกติกากันให้ชัดเจน พยายามให้ลด หรือเลิก ถ้าลด ให้จัดเวลากันใหม่ลดเวลา
                     เล่นลงทีละน้อย เช่น เดิมเล่นทุกวัน วันละ 3 ชั่วโมง ลดลงดังนี้ สัปดาห์แรก ให้เล่นวัน
                     ละ 2 ชั่วโมง สัปดาห์ที่ 2 ให้เล่นวันละ 1 ชั่วโมง สัปดาห์ที่ 3 ให้เล่นเฉพาะ เสาร์-
                     อาทิตย์ ไม่เกินวันละ 1 ชั่วโมง ถ้าเลิกเล่นเกมให้จัดกิจกรรมทดแทนเวลาที่เคยเล่น
                     ทันที กิจกรรมควรสนุกก่อนให้เด็กเพลิดเพลิน เบนความสนใจไปจากเกม
                  2. การเอาจริงกับข้อตกลง ด้วยสีหน้า ท่าทาง
                  3. ตกลงทดลองปฏิบัติเป็นเวลาที่แน่นอน เช่น ทดลองปฏิบัติเป็นเวลา 1 เดือน แล้วกลับ
                     มาประเมินผลร่วมกัน หาทางปรับเปลี่ยนแก้ไข
                  4. กำหนดทางปฏิบัติเมื่อเกิดปัญหาเช่น ถ้าลูกไม่ทำตาม แม่จะทำอะไรจะให้ช่วยอย่างไร
                  5. มีการบันทึกผลการช่วยเหลือ และนำมาพูดคุยกันเป็นระยะๆ ชมในเรื่องที่ได้ทำไป
                     แล้วได้ผลดี ข้อใดยังทำไม่ได้ ให้กลับมาติดตามงาน
                  6. ประเมินผลเมื่อครบเวลาที่ตกลงกันไว้
                  7. ปรับกติกากันใหม่ถ้ามีปัญหาความร่วมมือ หรือทำไม่ได้
                  8. จูงใจให้อยากเลิกด้วยตนเอง
                  9. สร้างความสามารถในการควบคุม เสริมทักษะการควบคุมตนเอง
                 10.จัดสิ่งแวดล้อมให้สงบ ไม่มีสิ่งกระตุ้นเรื่องเกม
                 11.จัดกิจกรรมให้ใช้เวลาที่เคยเล่นเกม เป็นกิจกรรมที่สนุกอย่างอื่น อย่าปล่อยให้ว่าง

            7) การป้องกัน
                    “ เด็กทุกคนมีโอกาสติดเกมได้ ป้องกันตั้งแต่เด็กเริ่มสนใจเกม ” การป้องกันสำคัญกว่าการรักษามาก ควรคิดเสมอว่าเด็กมีโอกาสติดเกมทุกคน การป้องกันเริ่มได้ตั้งแต่เด็กยังไม่ติดเกม อาจเริ่มได้ตั้งแต่ขวบปีที่ 2 ฝึกให้รู้จักกติกาต่างๆในชุมชน

                    ทักษะพื้นฐาน เด็กควรฝึกทักษะเหล่านี้ตั้งแต่เด็กๆ
 
                    1. การมีขอบเขต ตามอายุ เริ่มตั้งแต่เด็กเริ่มหัดเดิน
                    2.การมีระเบียบวินัย ไม่ตามใจเกินไป ควรมีกติกาชัดเจน พูดเรื่องกติกาตรงไปตรงมา
                       และจริงจัง
                    3.ทักษะเตือนตัวเอง สำรวจตนเอง สติ
                    4.ทักษะการยั้งคิด ไตร่ตรอง
                    5.ทักษะการวางแผน และทำตามแผนการด้วยตัวเอง
                    6.ทักษะการแบ่งเวลา
                    7.ทักษะในการควบคุมตนเอง

                    ความสัมพันธ์ที่ดีพ่อแม่ลูก
 
                    1.ความใกล้ชิดสนิทสนมทีดี จะช่วยให้เกิดการเชื่อฟัง การยอมรับกัน การมีเหตุผล
                    2.กิจกรรมภายในครอบครัว ที่มีความเพลิดเพลิน ความสุขใจ จะดึงเด็กไม่ให้ติดเกม

                    การจัดระเบียบในบ้าน
 

                    1. ก่อนซื้อเกม กำหนดกติกาพื้นฐาน ถ้าจะมีเกมในบ้าน ต้องกำหนดเวลา และเงื่อนไขในการเล่น เช่น เล่นได้หลังทำการบ้านเสร็จ เล่นเกมได้ตั้งแต่เวลา 17.00-19.00 น. (เวลาที่ใช้กับจอตู้ หรือจอโทรทัศน์ รวมกันแล้วไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมง


                    2. อย่าเปิดโอกาสให้เด็กเล่นโดยขาดการควบคุม
                    3. เบนความสนใจเด็กไปสู่เรื่องอื่น สร้างวงจรชีวิตที่เป็นสุขหลายแบบ Balanced activities (art, music, aerobic exercise,) ที่ทำให้เพลิดเพลินแต่เหมาะสมเป็นที่ยอมรับ ทำให้สนุก ครอบครัวมีส่วนร่วม มีความสมดุลในพัฒนาการทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม

                    4. สร้างความสนใจไปสู่กิจกรรมที่ทำร่วมกับผู้อื่นที่ดี เช่น กลุ่มกิจกรรม ค่ายกลุ่มบำเพ็ญประโยชน์ ทัศนศึกษา กีฬา

                    5. ถ้าจะอนุญาตให้เล่น ควรจำกัดเวลาไม่เกิน 2 ชม( รวมทั้งเวลาดูโทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต) ฝึกให้ แบ่งเวลา วางแผนการใช้เวลาให้มีคุณภาพ และทำได้จริงตามที่วางแผนไว้

                    6. กำกับให้เด็กทำตามกติกา

                    7. ถ้ามีการละเมิดกติกา มีมาตรการจัดการอย่างจริงจัง แต่นุ่มนวล

                    8. มาตรการจริงจัง มีการคิดและวางแผนร่วมกันล่วงหน้าไว้แล้ว เช่น “อยากให้พ่อเตือนก่อนหมดเวลาหรือไม่” “ถ้าเตือนแล้วไม่สามารถหยุดตามเวลาได้ อยากให้พ่อทำอย่างไร” “แม่จะเตือนเพียงครั้งเดียวก่อนหมดเวลา 5 นาที หลังจากนั้นถ้าไม่หยุดตามเวลา พ่อจะถอดปลั๊กออก” “ถ้ามีการละเมิดเกินวันละ 1 ครั้ง(หรือสัปดาห์ละ3 ครั้ง) จะให้พ่อแม่ทำอย่างไร” “เป็นอันว่าถ้าเกินเวลาที่ตกลงกันใน 1 สัปดาห์ แม่จะงดการเล่นเกมเป็นเวลา 1 สัปดาห์”


              ลักษณะพ่อแม่ที่มีลูกติดเกม

                    พ่อแม่ควรทบทวนตัวเองว่าลักษณะต่างๆต่อไปนี้ มีบ้างหรือไม่ ถ้ามีการแก้ไขจะช่วยป้องกัน และรักษาเด็กติดเกมได้ผล ลักษณะพ่อแม่ที่มีลูกติดเกม ที่พบบ่อยคือ ใจอ่อน ตามใจ ไม่มีเวลา ขาดอำนาจส่วนตัว

              ลักษณะเด็กที่จะติดเกมง่าย

                    เด็กที่มีลักษณะต่อไปนี้ ควรเฝ้าระวังเป็นพิเศษ มีโอกาสติดเกมได้ง่าย หรือถ้าเริ่มเล่นเกมต้องคอยควบคุมอย่างใกล้ชิด
                    1.กลุ่มที่มีปัญหาการเรียน เช่น โรคสมาธิสั้น ภาวะบกพร่องในทักษะการเรียน (LD)
                    2.มีปัญหากับเพื่อน ขาดทักษะสังคม
                    3.ปัญหาอารมณ์ เหงา เครียด ซึมเศร้า
                    4.ขาดการยับยั้งใจตนเอง
                    5.รอคอยไม่ได้
                    6.ขาดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง

            8) ปัจจัยส่งเสริมความสำเร็จในการแก้ปัญหาการติดเกม
                   พ่อแม่ผู้ใหญ่ตรงกัน เป็นทีม เสริมกัน
                   มองในแง่ดี
                   ชมเชยข้อดี ความสำเร็จ
                   desensitization มีกิจกรรมเสริม ทดแทน ให้สนุกสนาน อย่าห้ามเฉยๆ
                   คอยกำกับให้เป็นไปตามที่ตกลง เอาจริง สม่ำเสมอ ไม่รุนแรง “เอาจริง อย่างนุ่มนวล”
                   มีวิธีเตือนดีๆ มองในแง่ดี ตกลงวิธีเตือน

            9) ปัจจัยรบกวนความสำเร็จ
                   เตือนบ่อยๆ
                   บ่น ดุ ว่า เท้าความ
                   ปล่อย ไม่สนใจ ไม่มีเวลา
                   หงุดหงิด อารมณ์เสียใส่กัน
                   พ่อแม่แตกคอกัน ขัดแย้งกัน ยอมเด็กไม่เท่ากัน

            หมายเหตุ
 
                   คณะรัฐมนตรีต้องมีมติเมื่อวันที่ 23 พ.ย.2547 เพื่อล้อมคอกปัญหาไม่ให้ลุกลามจนสายเกินแก้ ด้วยการ ออกมาตรการควบคุมเกมออนไลน์ 4 ข้อ ตามข้อเสนอของกระทรวงไอซีที คือ

                   1. จำกัดชั่วโมงการเล่นเกมออนไลน์ของเยาวชน ที่อายุต่ำกว่า 18 ปี ให้เล่นได้วันละไม่
                       เกิน 3 ชั่วโมง
                   2. ห้ามเล่นการพนัน ชิงโชค หรือซื้อขายอุปกรณ์ในเกมออนไลน์
                   3. ออกระเบียบเกี่ยวกับการจดทะเบียนร้านอินเตอร์เน็ต เพื่อกำกับดูแลการให้บริการ
                       อินเตอร์เน็ต และ
                   4. รณรงค์ให้เยาวชนและผู้ปกครองทราบ โทษของการเล่นเกมออนไลน์ติดต่อกันเป็น
                       เวลานาน

                   กระทรวงมหาดไทย ดำเนินการออกกฎกระทรวง โดยอาศัย พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและวัสดุ โทรทัศน์ พ.ศ. 2530 ให้ รมว.มหาดไทย แต่งตั้งข้าราชการกระทรวงไอซีที ในการควบคุมร้านอินเตอร์เน็ตและเกมออนไลน์ หมายความว่าหลังจากนี้ไปร้านอินเตอร์เน็ต คาเฟ่ 5,670 ร้าน ทั่วประเทศ ต้องจดทะเบียน ไม่เช่นนั้นถือว่าทำผิดกฎหมาย หรือหากใครทำผิดมาตรการ ควบคุมทั้ง 4 ข้อ ทางกระทรวงไอซีทีสั่งปิดได้ทันที ขณะเดียวกันกระทรวงสาธารณสุข ก็จัดตั้ง ศูนย์บำบัดเด็กติดเกม ขึ้นที่สถาบันสุขภาพจิตเด็ก และวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต โดยให้บริการคลินิกพิเศษ สำหรับผู้ปกครอง ที่มีปัญหาเด็กติดเกม เพื่อแก้ไขปัญหา พร้อมหาแนวทางเพื่อ พัฒนาศักยภาพ ของครอบครัว


                   กิจกรรมของศูนย์บำบัดฯนี้ เริ่มตั้งแต่วันที่ 14 ธ.ค.47 เป็นการอบรมเทคนิคการดูแลเด็กติดเกม เบื้องต้น สำหรับผู้ปกครอง ตั้งแต่วันที่ 6 ม.ค. 2548 เป็นการเข้ากลุ่มบำบัดเด็กติดเกม วันที่ 29-30 ม.ค. 2548 เป็นค่ายบำบัดเด็กติดเกมครั้งที่ 1 และวันที่ 18 ก.พ. 2548 เป็นค่ายบำบัดเด็กติดเกมครั้งที่ 2 ซึ่งการบำบัดด้วยการเข้าค่ายอบรมร่วมกันระหว่างเด็กและผู้ปกครองนี้ เป้าหมายเพื่อนำไปสู่ ทางออกที่แท้จริง หากใครสนใจนำบุตรหลานร่วมการบำบัด โทร.0-2354-8305 ต่อ 104 หรือรับคำปรึกษาได้ที่สายฮอตไลน์ โทร.0-2354-8300


                    กระทรวงวัฒนธรรม เตรียมจัดตั้ง สำนักเฝ้าระวังวัฒนธรรม ซึ่งเป็นไปตามมติ ครม. ที่ให้กระทรวงวัฒนธรรม รับโอนภารกิจกองทะเบียนของ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกระทรวงมหาดไทย ใน พ.ร.บ.ควบคุมกิจการเทปและ วัสดุโทรทัศน์ พ.ศ. 2530 และ พ.ร.บ.ภาพยนตร์ พ.ศ. 2473 โดยจะมีสถานะเทียบเท่ากรม เพื่อดูแลการผลิตสื่อที่ไม่เหมาะสม มีความรุนแรง ซึ่งจะรวมไปถึงตัวเกมจากเครื่องเล่นเกมชนิดต่างๆด้วย











ขอขอบคุณที่มา : http://www.childrenhospital.go.th
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 













 












หน้าแรก | เกี่ยวกับแผนงาน | เครือข่ายและกิจกรรม | ผลผลิตและรายงาน | ข้อมูลสถิติ | การจัดการความรู้ | หน่วยงาน | ติดต่อแผนงาน | เจ้าหน้าที่ดูแลระบบ
แนะนำแผนงาน | ข่าวกิจกรรม | เกาะติดกิจกรรมเด่น | หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | ผลผลิตและรายงาน| รายงานสุขภาพ| ก้าวใหม่กับ HISO | สถานการณ์สุขภาพประเทศไทย
การวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพ | สถานการณ์ข่าวสุขภาพ | เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สื่อข้อมูลสุขภาพ | แบบสำรวจสุขภาพ | webbord | คำถามที่พบบ่อย | สมุดเยี่ยมชม | บริการข้อมูล