Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์แนวหน้า [ วันที่ 07/10/2564 ]
ชี้ภาครัฐขึ้นภาษีไม่ช่วยปกป้องคนไทยจากภัยบุหรี่

 ภายหลังนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง ออกมาประกาศขึ้นภาษีบุหรี่ เป้าหมายเพื่อ ดูแลสุขภาพประชาชน หวังลดการบริโภคบุหรี่ ลงได้ 2-3% ขณะที่ นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ออกมาหนุนให้ปลดล็อกผลิตภัณฑ์ทางเลือก เช่น ไอคอส ทำให้เกิดการถกเถียงกันในสังคม มีทั้งเสียงสนับสนุนและคัดค้านจาก หลายฝ่าย
          นพ.เอกภพ เพียรพิเศษ หรือ หมอเอก สส.พรรคก้าวไกล เขต 1 เชียงราย ได้โพสต์ ผ่านหน้าเฟซบุ๊คเพจว่า "การขึ้นภาษีอย่างเดียว อาจไม่ใช่คำตอบของการควบคุมบุหรี่ และบางทีมุขเดิมๆ วิธีเดิมๆ ที่ใช้ในการควบคุมบุหรี่อาจไม่ได้ผล" พร้อมแสดงข้อมูลจาก กระทรวงสาธารณสุข อ้างอิงการขึ้นภาษีส่งผล ให้ยอดขายบุหรี่ของโรงงานยาสูบลดลง แต่จำนวนผู้สูบบุหรี่กลับลดลงเพียงเล็กน้อย แค่ 2%(อัตราการสูบบุหรี่ของประชากรไทยใน ช่วงปี 2560-2564) สะท้อนความล้มเหลวของ ภาครัฐ ในการบริหารจัดการควบคุมผลิตภัณฑ์ ยาสูบ จึงเสนอมุมมองใหม่ปลดล็อกบุหรี่ไฟฟ้า ให้เป็นสินค้าถูกกฎหมาย
          "ผลจากการขึ้นภาษีเมื่อปี 2560 ทำให้ยอดขายบุหรี่ลดลง วัดจากตัวเลขกำไรของโรงงานยาสูบที่ลดลง แต่ทว่าจำนวนผู้สูบได้ทำให้โรงงานยาสูบที่เคยมีกำไรสุทธิถึง 9,343 ล้านบาท ในปี 2560 เหลือกำไรเพียง 513 ล้านบาท ในปี 2562 ถ้ากำไรลดลง เนื่องมาจากยอดขายที่ลดลงเพราะคนสูบบุหรี่ลดลงก็คงไม่ว่ากัน แต่เมื่อดูอัตราคนสูบบุหรี่ที่แทบไม่ขยับลดลงเลยในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา
          ด้านนายเท่าพิภพ ลิ้มจิตรกร หรือ สส.เท่า สส.พรรคก้าวไกล ได้ตั้งข้อสังเกตผ่านเฟซบุ๊คเพจว่า การขึ้นภาษีบุหรี่เป็นเพียงการใช้ข้ออ้างสุขภาพรัฐหารายได้จาก ประชาชนเท่านั้น เป็นความพยายามอันสิ้นหวัง รีดภาษีบุหรี่แต่ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาจริง เพราะนอกจากจะเปิดช่องให้บุหรี่แบรนด์จากต่างประเทศนำบุหรี่ราคาต่ำมาขาย กระทบต่อเกษตรกรยาสูบไทยรายได้ลดลงแล้ว ยังมี การลักลอบขายบุหรี่เถื่อน รายได้ภาษีที่รัฐ คาดหวังจะเก็บได้ก็ไม่ได้ แต่เปิดทางให้เกิด การทุจริตคอร์รัปชั่น ส่วนสุขภาพประชาชนโดยรวมก็ไม่ดีขึ้น ดังนั้น ทางออกคือสนับสนุน การใช้บุหรี่ไฟฟ้าในนโยบายควบคุมยาสูบ แบบลดสารอันตราย (Harm Reduction) เพื่อการแก้ปัญหาแบบรอบด้าน ซึ่งหลายประเทศที่พัฒนาแล้วพยายามแก้ไขปัญหา การสูบบุหรี่ด้วยวิธีการลดอันตรายที่เกิดจาก สิ่งนั้นๆ (Harm Reduction) เช่น นิวซีแลนด์ ได้ผ่านกฎหมายเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า และอังกฤษ หากต้องการเลิกสูบบุหรี่ คุณหมอในโรงพยาบาลก็สามารถสั่งบุหรี่ไฟฟ้าให้กับผู้ที่อยากเลิกบุหรี่ได้
          ส่วนแอดมิน เพจดัง Drama-Addict บอกว่า แม้รัฐปรับเพดานภาษีกี่ครั้ง แต่จำนวนคนสูบบุหรี่ไม่ลดลง ทางออกที่ดีน่าจะเป็นของการปรับตัวนำบุหรี่ไฟฟ้า หรือ vape และ IQOS มาใช้ร่วมแก้ปัญหา
          สอดคล้องกับ นายวรภพ วิริยะโรจน์ สส. บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกลและโฆษกคณะกรรมาธิการการเงิน การคลัง สถาบัน การเงินและตลาดการเงิน ที่แสดงความคิดเห็น ผ่านเฟซบุ๊คว่า เคยย้ำกับรัฐบาลไปหลายครั้ง แล้วว่าให้พิจารณาทบทวนเรื่องการแบนบุหรี่ไฟฟ้า การแบนบุหรี่ไฟฟ้าโดยไม่มีการทบทวนหรือศึกษา คือ การปิดกั้นการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่อาจก่อประโยชน์ทั้งด้าน สาธารณสุขและเศรษฐกิจให้กับประเทศ เพราะ จะช่วยให้รัฐบาลจัดเก็บรายได้ภาษีอย่างเต็มเม็ด เต็มหน่วย ทั้งเป็นโอกาสของเกษตรกรไร่ยาสูบ และผู้ประกอบการในธุรกิจต่อเนื่อง
          แต่ยังคงมีเสียงคัดค้านจาก นพ.หทัย ชิตานนท์ ประธานสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ ระบุว่า บุหรี่ไฟฟ้า และประเภท heat-not-burn products ยังเป็นสิ่งที่น่ากังวล ซึ่งบุหรี่ไฟฟ้าเป็นสินค้า ที่กำลังได้รับความนิยมในกลุ่มเยาวชน กลุ่มคนทำงาน จนกลายเป็นสารเสพติดตัวใหม่ที่เข้าถึงกลุ่มนักสูบหน้าใหม่มากขึ้น แต่ก็ ยังพบการโฆษณาขายบุหรี่ไฟฟ้าเกลื่อน สื่อออนไลน์และตลาดนัดทั่วไป
          ทั้งนี้ นายชัยวุฒิ ธนาคมานุสรณ์ รมว. ดีอีเอส ระบุว่า บุหรี่ไฟฟ้าอันตรายน้อยกว่าบุหรี่เผาไหม้ปกติ และกลุ่มที่คัดค้านน่าจะยังไม่ทราบที่อย.ของสหรัฐฯ (US-FDA) อนุญาตให้ไอคอสสามารถสื่อสารกับผู้บริโภคได้ ว่าผู้ใช้ไอคอสจะรับสารอันตรายที่ลดลง เป็นผลิตภัณฑ์ยาสูบลดความเสี่ยงที่เรียกว่า Modified Risk Tobacco Products (MRTP) ซึ่งชัดเจนว่าอันตรายน้อยกว่าบุหรี่เผาไหม้ปกติ ซึ่งถ้ามันอันตรายอย่างที่มีการกล่าวอ้าง คงไม่มีประเทศไหนให้ขาย

 pageview  1204998    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved