Follow us      
  
  

กรุงเทพธุรกิจ [ วันที่ 15/06/2561 ]
จิตแพทย์เตือนโรคดิจิทัลจาก 6 พฤติกรรม ระดมป้องปรามภัยออนไลน์

 

          ชี้ปัญหาเผยแพร่พฤติกรรมไม่เหมาะสม ไลฟ์สด แชร์คลิป-ทำร้าย-ฆ่าตัวตาย
          กรุงเทพธุรกิจ สำนักเฝ้าระวังทาง วัฒนธรรม วธ.ระดมทุกภาคส่วนหามาตรการป้องปรามการเผยแพร่พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมทางสื่อออนไลน์ เผย 86% แชร์คลิป ไลฟ์สด พฤติกรรมหัวร้อน ทำร้ายร่างกาย ฆ่าตัวตาย ส่งผลเด็กเลียนแบบ จิตแพทย์เตือน "โรคดิจิทัล" จาก 6 พฤติกรรมใช้ออนไลน์ ก.ดิจิทัลพบแนวโน้มจ้างเน็ตไอดอลทำผิดกฎหมายมากขึ้น นักวิชาการห่วงเด็กเผชิญภัยออนไลน์
          วานนี้(14 มิ.ย.) ในการเสวนาเพื่อสร้างความร่วมมือในการป้องกันปัญหาการเผยแพร่พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมทางสื่อออนไลน์ ภายใต้หัวข้อ "พฤติกรรมออนไลน์ ภัยหรือสร้างสรรค์" จัดโดยสำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) เพื่อระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมพัฒนาแนวทางปฏิบัติและช่วยกันแก้ไข ประกอบด้วย กรมสุขภาพจิต ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาการแนะแนวศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและ ช่วยเหลือเด็กนักเรียน สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญ การพิเศษ กองป้องกันและปราบปรามการ กระทำความผิดทางเทคโนโลยีสารสนเทศ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย รวมทั้งนักวิชาการอิสระ
          นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่า ข้อมูลของสำนักพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) ที่สำรวจพฤติกรรมการเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อออนไลน์เมื่อปีที่ผ่านมา พบว่าคนไทยใช้สื่อออนไลน์มากถึงร้อยละ 86.9 โดยใช้ในวันทำงานหรือวันเรียน 3.30 ชม./วัน วันหยุด 3.36 ชม. ส่วนใหญ่โพสต์ข้อความ ภาพและคลิปต่างๆ เพื่อสร้างกระแสรับรู้ ทั้งที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ และถ่ายทอดสดหรือ Live สด มีความรุนแรงมากขึ้น เช่น ฆ่าตัวตาย ทำร้าย แสดงออกเกี่ยวกับพฤติกรรมหัวร้อนที่เป็น กระแสทางลบ ส่งผลต่อพฤติกรรมเลียนแบบให้เด็กที่ยังขาดวิจารณญาณ
          สอดรับกับสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ ที่ระบุว่า ร้อยละ 61.45 ยอมรับว่า Live สด ทำให้มีการใช้งานโซเชียลมีเดียเพิ่มขึ้น ร้อยละ 70.04 เห็นว่า Live สดที่ไม่เหมาะสมส่งผลให้เกิดการเลียนแบบ ร้อยละ 66.72 คิดว่าทำให้เกิดความเครียด ร้อยละ 71.83 เห็นว่าสื่อโทรทัศน์ที่นำภาพการที่ไม่เหมาะสมของสื่อออนไลน์ไปเผยแพร่ยิ่งเพิ่มความรุนแรงในสังคม
          จากกระแสดังกล่าว วธ. จึงระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมพัฒนาแนวทางปฏิบัติและช่วยกันแก้ไข เพื่อนำไปสู่มาตรการป้องกันปัญหาการเผยแพร่พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมบนสื่อออนไลน์ โดย วธ.จะสรุปผลและนำแนวดังกล่าวมอบให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปดำเนินการให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
          เฝ้าระวัง 6 พฤติกรรมโรคดิจิทัล
          พญ.ทิพาวรรณ บูรณสิน จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กล่าวว่า เด็กมาพบจิตแพทย์ด้วยปัญหาที่เกิดจากการใช้โซเชียลมีเดียมากขึ้น เช่น ซึมเศร้า สมาธิสั้น เสี่ยงการเสพติดโซเชียลมีเดีย ติดเกมออนไลน์ พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงทั้งทางกายและวาจา เพราะฉะนั้นต้องมีการสร้างความปลอดภัยในการเข้าถึงการใช้งานของเด็ก เช่น ควบคุมเวลาและเนื้อหาในการใช้ และผู้ปกครองต้องเท่าทันเทคโนโลยีมากขึ้น
          มีโรคอุบัติใหม่ที่เรียกว่า โรคดิจิทัล ซึ่งจะเกิดขึ้นจากพฤติกรรมการใช้งานดิจิทัลใน 6 เรื่องที่ต้องเฝ้าระวัง คือ 1.ติดเกม 2.โซเชียลมีเดีย 3.ชอปปิง 4.เวบโป๊ 5.ดูคลิปไปเรื่อยๆ และ 6.ค้นหาไปเรื่อยๆ โดยไม่มีการคุมเวลา แต่เมื่อออกจากการใช้งานดังกล่าวก็จะมีอาการกระวนกระวาย วิตกกังวล เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องที่ประชาชนต้องใส่ใจและ เฝ้าระวัง
          "ในการใช้โซเชียลมีเดียจะต้องยึด 2 หลักการเป็นสำคัญ ได้แก่ คิดก่อนโพสต์และเมื่อโพสต์สิ่งใดแล้วสิ่งเหล่านั้นจะอยู่ไปตราบนานและอาจย้อนมาทำร้ายเราได้ในอนาคตและจะต้องเฝ้าระวังพฤติกรรมเหล่านี้ การเสพติดเกม หรือโซเชียลมีเดียจนเสียการเรียน การใช้โซเชียลมีเดียแล้วมีอาการเปลี่ยนแปลง ซึมเศร้า เก็บตัว วิตกกังวล ก้าวราวทั้งการกระทำและคำพูด หรืออาจถูกรังแกบนออนไลน์ ก็จะมีอาการ จากที่เคยเล่นโซเชียลมีเดียก็จะไม่เล่น แยกตัวและไม่ไปโรงเรียน พ่อแม่ผู้ปกครองต้องใส่ใจ หากพบควรปรึกษาจิตแพทย์
          ชี้ใช้เน็ตไอดอลทำผิดมากขึ้น
          นายมานะชัย บุญเอก นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการพิเศษ กองป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางเทคโนโลยีสารสนเทศ กระทรวงดีอี ยืนยันว่าพฤติกรรมออนไลน์มีการใช้ไปในทางสร้างสรรค์ถึง 99 % แต่สิ่งที่เป็นภัย ซึ่งกระทรวงดีอีตรวจพบ คือมีข้อความ ภาพ คลิปที่สุ่มเสี่ยง เกมแฝงความรุนแรง ลามก การพนัน พฤติกรรมก้าวร้าวที่จะสะสมให้เกิดการเลียนแบบ
          ที่สำคัญปัจจุบันพบการนำบุคคลที่มีชื่อเสียงที่เป็นที่ชื่นชอบของคนส่วนมากหรือเน็ตไอดอลมาทำผิดกฎหมายในเรื่องต่างๆ ผ่านสื่อออนไลน์มากขึ้น ซึ่งอาจทำให้ผู้ใช้งานอื่นๆ มีพฤติกรรมเลียนแบบหรือบริโภคสิ่งที่คนกลุ่มนี้นำเสนอมากขึ้น อาจเป็นอันตรายได้หากเป็นสิ่งผิดกฎหมาย
          8 พฤติกรรมออนไลน์น่ากังวล
          นายธาม เชื้อสถาปนศิริ นักวิชาการอิสระ กล่าวว่า การใช้สื่อสังคมออนไลน์มีทั้งเชิงสร้างสรรค์และภัย ผลเชิงบวก เช่น เชื่อมต่อผู้คนเข้าด้วยกัน ติดต่อสื่อสารได้แบบปราศจากเงื่อนไขเวลาและพื้นที่ กระตือรือร้นที่จะมีส่วนร่วม ตรวจสอบและเฝ้าระวัง และมีอำนาจที่จะพูดสื่อสารความคิดของตนเอง เป็นต้น แต่ปัจจุบันคนไทยหลายล้านคนกำลังมีพฤติกรรมออนไลน์ที่น่ากังวล 8 เรื่อง คือ 1.เสพติดอินเทอร์เน็ต 2.เสพติดเกมอินเทอร์เน็ต 3.หลงตัวเอง 4.การคุกคามทางเพศออนไลน์ 5.การเสพติด ภาพโป๊ เปลือย 6.ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความจริง 7.ความซึมเศร้าจากอินเทอร์เน็ต และ 8.การพนันอินเทอร์เน็ต
          ชี้ 6 ภัยออนไลน์ต่อเด็ก
          ขณะที่ปัญหาภัยออนไลน์ที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนที่สำคัญมี 6 เรื่อง ได้แก่ 1.การกลั่นแกล้งออนไลน์ (Cyber Bullying) เรื่องนี้ไม่เฉพาะเด็กรังแกกันผ่านทางออนไลน์เท่านั้น แต่กลับพบว่าครูยังเป็นคนกลั่นแกล้งเด็กเองด้วย เช่น ถ่ายรูปหรือคลิปเด็กที่ถูกกล้อนผมแล้วโพสต์ลงสื่อสังคมออนไลน์ เป็นต้น
          2.การสนทนาทางเพศออนไลน์(Cyber Sexting) 3.การสอดส่องติดตามออนไลน์ (Cyber Stalking) 4.ภาพโป๊ เปลือย อนาจารเด็ก (Child pornography) 5.ความเป็นส่วนตัวของเด็ก(Child Privacy) และ 6.การล่อลวงออนไลน์(Online Grooming) เหล่านี้เป็นสิ่งที่เด็กกำลังเผชิญอยู่จากการใช้งานสื่อออนไลน์
          จี้ออกก.ม.คุ้มครองเด็กจากสื่อ
          นายธาม กล่าวด้วยว่า ประเทศไทย เด็กสามารถเข้าถึงการใช้งานโซเชียลมีเดียได้ทุกวัย ขณะที่สหรัฐอเมริกาห้ามไม่ให้เด็กอายุต่ำกว่า 13 ปีใช้งาน ขณะที่การสอนเรื่องรู้เท่าทันสื่อต่างประเทศตั้งแต่ระดับอนุบาล แต่ประเทศไทยสอนในระดับปริญญาตรี ปี 4 คณะนิเทศศาสตร์ อีกทั้งยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองเด็กจากสื่อออนไลน์ ซึ่งจำเป็นต้องดำเนินการในเรื่องนี้ ควบคู่กับมาตรการอื่นๆ ในการป้องกันภัยจากสื่อออนไลน์
          ในประเทศเกาหลีใต้ผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือจะออกซิมการ์ดเด็กให้สำหรับพ่อแม่ใช้งาน ในกรณีที่ต้องการซื้อโทรศัพท์มือถือให้ลูก เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารหรือติดตามเด็ก พร้อมทั้งมีระบบจีพีอาร์เอสให้ทราบที่อยู่ของลูก แต่จะไม่สามารถใช้เล่นเกมหรืออื่นๆ ได้ ขณะที่ประเทศไทยยังไม่มีผู้ประกอบการรายใดออกซิมการ์ดเด็ก มีแต่ออกซิมบุฟเฟ่ต์ใช้ไม่อั้น ซึ่งพ่อแม่ก็ซื้อให้ลูกใช้ได้ตลอดเวลา
          แนะปลูกฝังการคิดวิเคราะห์
          นายมานะ ตรีรยาภิวัมน์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า การเรียนการสอนของไทย สอนแต่การใช้สื่อดิจิทัลแต่ไม่เคยสอนเรื่องการรู้เท่าทันสื่อว่ามีภัยและต้องระวังอย่างไร ซึ่งการใช้งานสื่อออนไลน์ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ต่างไม่รู้เท่าทัน
          เช่น ผู้ใหญ่จะเชื่อข้อมูลทางการแพทย์ที่ส่งต่อทางไลน์อย่างมาก แม้บุคลากรทางการแพทย์จะให้ข้อมูลว่าไม่จริงก็ไม่เชื่อ จึงเป็นปัญหาทุกวัย เนื่องจากปัจจุบันมีความแนบเนียนของการตกแต่งข้อมูลที่เผยแพร่ทางสื่อออนไลน์อย่างมาก จึงจำเป็นต้องพัฒนาเสริมความรู้ เรื่องการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลในคนทุกระดับ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กจะต้องปลูกฝังเรื่องการคิดวิเคราะห์ เพราะหากมีทักษะในเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเผชิญกับเรื่องใดจะสามารถแยกแยะ คัดกรองข้อมูลต่างๆ ได้อย่างรู้เท่าทัน
          ชี้ปัญหาเผยแพร่พฤติกรรมไม่เหมาะสม ไลฟ์สด แชร์คลิป-ทำร้าย-ฆ่าตัวตาย
          กรุงเทพธุรกิจ สำนักเฝ้าระวังทาง วัฒนธรรม วธ.ระดมทุกภาคส่วนหามาตรการป้องปรามการเผยแพร่พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมทางสื่อออนไลน์ เผย 86% แชร์คลิป ไลฟ์สด พฤติกรรมหัวร้อน ทำร้ายร่างกาย ฆ่าตัวตาย ส่งผลเด็กเลียนแบบ จิตแพทย์เตือน "โรคดิจิทัล" จาก 6 พฤติกรรมใช้ออนไลน์ ก.ดิจิทัลพบแนวโน้มจ้างเน็ตไอดอลทำผิดกฎหมายมากขึ้น นักวิชาการห่วงเด็กเผชิญภัยออนไลน์
          วานนี้(14 มิ.ย.) ในการเสวนาเพื่อสร้างความร่วมมือในการป้องกันปัญหาการเผยแพร่พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมทางสื่อออนไลน์ ภายใต้หัวข้อ "พฤติกรรมออนไลน์ ภัยหรือสร้างสรรค์" จัดโดยสำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม(วธ.) เพื่อระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมพัฒนาแนวทางปฏิบัติและช่วยกันแก้ไข ประกอบด้วย กรมสุขภาพจิต ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาการแนะแนวศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและ ช่วยเหลือเด็กนักเรียน สำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญ การพิเศษ กองป้องกันและปราบปรามการ กระทำความผิดทางเทคโนโลยีสารสนเทศ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย รวมทั้งนักวิชาการอิสระ
          นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รมว.วัฒนธรรม กล่าวว่า ข้อมูลของสำนักพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (สพธอ.) ที่สำรวจพฤติกรรมการเผยแพร่ข้อมูลผ่านสื่อออนไลน์เมื่อปีที่ผ่านมา พบว่าคนไทยใช้สื่อออนไลน์มากถึงร้อยละ 86.9 โดยใช้ในวันทำงานหรือวันเรียน 3.30 ชม./วัน วันหยุด 3.36 ชม. ส่วนใหญ่โพสต์ข้อความ ภาพและคลิปต่างๆ เพื่อสร้างกระแสรับรู้ ทั้งที่มีประโยชน์และไม่มีประโยชน์ และถ่ายทอดสดหรือ Live สด มีความรุนแรงมากขึ้น เช่น ฆ่าตัวตาย ทำร้าย แสดงออกเกี่ยวกับพฤติกรรมหัวร้อนที่เป็น กระแสทางลบ ส่งผลต่อพฤติกรรมเลียนแบบให้เด็กที่ยังขาดวิจารณญาณ
          สอดรับกับสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ ที่ระบุว่า ร้อยละ 61.45 ยอมรับว่า Live สด ทำให้มีการใช้งานโซเชียลมีเดียเพิ่มขึ้น ร้อยละ 70.04 เห็นว่า Live สดที่ไม่เหมาะสมส่งผลให้เกิดการเลียนแบบ ร้อยละ 66.72 คิดว่าทำให้เกิดความเครียด ร้อยละ 71.83 เห็นว่าสื่อโทรทัศน์ที่นำภาพการที่ไม่เหมาะสมของสื่อออนไลน์ไปเผยแพร่ยิ่งเพิ่มความรุนแรงในสังคม
          จากกระแสดังกล่าว วธ. จึงระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมพัฒนาแนวทางปฏิบัติและช่วยกันแก้ไข เพื่อนำไปสู่มาตรการป้องกันปัญหาการเผยแพร่พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมบนสื่อออนไลน์ โดย วธ.จะสรุปผลและนำแนวดังกล่าวมอบให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปดำเนินการให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน
          เฝ้าระวัง 6 พฤติกรรมโรคดิจิทัล
          พญ.ทิพาวรรณ บูรณสิน จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ กรมสุขภาพจิต กล่าวว่า เด็กมาพบจิตแพทย์ด้วยปัญหาที่เกิดจากการใช้โซเชียลมีเดียมากขึ้น เช่น ซึมเศร้า สมาธิสั้น เสี่ยงการเสพติดโซเชียลมีเดีย ติดเกมออนไลน์ พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงทั้งทางกายและวาจา เพราะฉะนั้นต้องมีการสร้างความปลอดภัยในการเข้าถึงการใช้งานของเด็ก เช่น ควบคุมเวลาและเนื้อหาในการใช้ และผู้ปกครองต้องเท่าทันเทคโนโลยีมากขึ้น
          มีโรคอุบัติใหม่ที่เรียกว่า โรคดิจิทัล ซึ่งจะเกิดขึ้นจากพฤติกรรมการใช้งานดิจิทัลใน 6 เรื่องที่ต้องเฝ้าระวัง คือ 1.ติดเกม 2.โซเชียลมีเดีย 3.ชอปปิง 4.เวบโป๊ 5.ดูคลิปไปเรื่อยๆ และ 6.ค้นหาไปเรื่อยๆ โดยไม่มีการคุมเวลา แต่เมื่อออกจากการใช้งานดังกล่าวก็จะมีอาการกระวนกระวาย วิตกกังวล เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องที่ประชาชนต้องใส่ใจและ เฝ้าระวัง
          "ในการใช้โซเชียลมีเดียจะต้องยึด 2 หลักการเป็นสำคัญ ได้แก่ คิดก่อนโพสต์และเมื่อโพสต์สิ่งใดแล้วสิ่งเหล่านั้นจะอยู่ไปตราบนานและอาจย้อนมาทำร้ายเราได้ในอนาคตและจะต้องเฝ้าระวังพฤติกรรมเหล่านี้ การเสพติดเกม หรือโซเชียลมีเดียจนเสียการเรียน การใช้โซเชียลมีเดียแล้วมีอาการเปลี่ยนแปลง ซึมเศร้า เก็บตัว วิตกกังวล ก้าวราวทั้งการกระทำและคำพูด หรืออาจถูกรังแกบนออนไลน์ ก็จะมีอาการ จากที่เคยเล่นโซเชียลมีเดียก็จะไม่เล่น แยกตัวและไม่ไปโรงเรียน พ่อแม่ผู้ปกครองต้องใส่ใจ หากพบควรปรึกษาจิตแพทย์
          ชี้ใช้เน็ตไอดอลทำผิดมากขึ้น
          นายมานะชัย บุญเอก นักวิชาการคอมพิวเตอร์ชำนาญการพิเศษ กองป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางเทคโนโลยีสารสนเทศ กระทรวงดีอี ยืนยันว่าพฤติกรรมออนไลน์มีการใช้ไปในทางสร้างสรรค์ถึง 99 % แต่สิ่งที่เป็นภัย ซึ่งกระทรวงดีอีตรวจพบ คือมีข้อความ ภาพ คลิปที่สุ่มเสี่ยง เกมแฝงความรุนแรง ลามก การพนัน พฤติกรรมก้าวร้าวที่จะสะสมให้เกิดการเลียนแบบ
          ที่สำคัญปัจจุบันพบการนำบุคคลที่มีชื่อเสียงที่เป็นที่ชื่นชอบของคนส่วนมากหรือเน็ตไอดอลมาทำผิดกฎหมายในเรื่องต่างๆ ผ่านสื่อออนไลน์มากขึ้น ซึ่งอาจทำให้ผู้ใช้งานอื่นๆ มีพฤติกรรมเลียนแบบหรือบริโภคสิ่งที่คนกลุ่มนี้นำเสนอมากขึ้น อาจเป็นอันตรายได้หากเป็นสิ่งผิดกฎหมาย
          8 พฤติกรรมออนไลน์น่ากังวล
          นายธาม เชื้อสถาปนศิริ นักวิชาการอิสระ กล่าวว่า การใช้สื่อสังคมออนไลน์มีทั้งเชิงสร้างสรรค์และภัย ผลเชิงบวก เช่น เชื่อมต่อผู้คนเข้าด้วยกัน ติดต่อสื่อสารได้แบบปราศจากเงื่อนไขเวลาและพื้นที่ กระตือรือร้นที่จะมีส่วนร่วม ตรวจสอบและเฝ้าระวัง และมีอำนาจที่จะพูดสื่อสารความคิดของตนเอง เป็นต้น แต่ปัจจุบันคนไทยหลายล้านคนกำลังมีพฤติกรรมออนไลน์ที่น่ากังวล 8 เรื่อง คือ 1.เสพติดอินเทอร์เน็ต 2.เสพติดเกมอินเทอร์เน็ต 3.หลงตัวเอง 4.การคุกคามทางเพศออนไลน์ 5.การเสพติด ภาพโป๊ เปลือย 6.ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับความจริง 7.ความซึมเศร้าจากอินเทอร์เน็ต และ 8.การพนันอินเทอร์เน็ต
          ชี้ 6 ภัยออนไลน์ต่อเด็ก
          ขณะที่ปัญหาภัยออนไลน์ที่เกิดขึ้นกับเด็กและเยาวชนที่สำคัญมี 6 เรื่อง ได้แก่ 1.การกลั่นแกล้งออนไลน์ (Cyber Bullying) เรื่องนี้ไม่เฉพาะเด็กรังแกกันผ่านทางออนไลน์เท่านั้น แต่กลับพบว่าครูยังเป็นคนกลั่นแกล้งเด็กเองด้วย เช่น ถ่ายรูปหรือคลิปเด็กที่ถูกกล้อนผมแล้วโพสต์ลงสื่อสังคมออนไลน์ เป็นต้น
          2.การสนทนาทางเพศออนไลน์(Cyber Sexting) 3.การสอดส่องติดตามออนไลน์ (Cyber Stalking) 4.ภาพโป๊ เปลือย อนาจารเด็ก (Child pornography) 5.ความเป็นส่วนตัวของเด็ก(Child Privacy) และ 6.การล่อลวงออนไลน์(Online Grooming) เหล่านี้เป็นสิ่งที่เด็กกำลังเผชิญอยู่จากการใช้งานสื่อออนไลน์
          จี้ออกก.ม.คุ้มครองเด็กจากสื่อ
          นายธาม กล่าวด้วยว่า ประเทศไทย เด็กสามารถเข้าถึงการใช้งานโซเชียลมีเดียได้ทุกวัย ขณะที่สหรัฐอเมริกาห้ามไม่ให้เด็กอายุต่ำกว่า 13 ปีใช้งาน ขณะที่การสอนเรื่องรู้เท่าทันสื่อต่างประเทศตั้งแต่ระดับอนุบาล แต่ประเทศไทยสอนในระดับปริญญาตรี ปี 4 คณะนิเทศศาสตร์ อีกทั้งยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองเด็กจากสื่อออนไลน์ ซึ่งจำเป็นต้องดำเนินการในเรื่องนี้ ควบคู่กับมาตรการอื่นๆ ในการป้องกันภัยจากสื่อออนไลน์
          ในประเทศเกาหลีใต้ผู้ประกอบการโทรศัพท์มือถือจะออกซิมการ์ดเด็กให้สำหรับพ่อแม่ใช้งาน ในกรณีที่ต้องการซื้อโทรศัพท์มือถือให้ลูก เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารหรือติดตามเด็ก พร้อมทั้งมีระบบจีพีอาร์เอสให้ทราบที่อยู่ของลูก แต่จะไม่สามารถใช้เล่นเกมหรืออื่นๆ ได้ ขณะที่ประเทศไทยยังไม่มีผู้ประกอบการรายใดออกซิมการ์ดเด็ก มีแต่ออกซิมบุฟเฟ่ต์ใช้ไม่อั้น ซึ่งพ่อแม่ก็ซื้อให้ลูกใช้ได้ตลอดเวลา
          แนะปลูกฝังการคิดวิเคราะห์
          นายมานะ ตรีรยาภิวัมน์ คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า การเรียนการสอนของไทย สอนแต่การใช้สื่อดิจิทัลแต่ไม่เคยสอนเรื่องการรู้เท่าทันสื่อว่ามีภัยและต้องระวังอย่างไร ซึ่งการใช้งานสื่อออนไลน์ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ต่างไม่รู้เท่าทัน
          เช่น ผู้ใหญ่จะเชื่อข้อมูลทางการแพทย์ที่ส่งต่อทางไลน์อย่างมาก แม้บุคลากรทางการแพทย์จะให้ข้อมูลว่าไม่จริงก็ไม่เชื่อ จึงเป็นปัญหาทุกวัย เนื่องจากปัจจุบันมีความแนบเนียนของการตกแต่งข้อมูลที่เผยแพร่ทางสื่อออนไลน์อย่างมาก จึงจำเป็นต้องพัฒนาเสริมความรู้ เรื่องการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลในคนทุกระดับ โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กจะต้องปลูกฝังเรื่องการคิดวิเคราะห์ เพราะหากมีทักษะในเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเผชิญกับเรื่องใดจะสามารถแยกแยะ คัดกรองข้อมูลต่างๆ ได้อย่างรู้เท่าทัน

 

 pageview  1205126    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved