วันที่ 1 เมษายน วันข้าราชการพลเรือน,วันออมสิน |
วันที่ 2 เมษายน วันคล้ายวันราชสมภพสมเด็จพระเทพฯ,วันสายใจไทย วันอนุรักษ์มรดก ไทย,วันหนังสือแห่งชาติ,วันหนังสือเด็กสากล,วันศูนย์รับบริจาคอวัยวะ |
วันที่ 4 เมษายน วันภาพยนต์แห่งชาติ |
วันที่ 6 เมษายน วันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์(วันจักรี),วันพระบามสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ |
วันที่ 7 เมษายน วันอนามัยโลก
วันอนามัยโลก องค์การอนามัยโลก (World Health Organization, WHO) เป็นองค์กรของสหประชาชาติซึ่งมีกำเนิดมาจาก ประชากรของโลกได้ถูกภัยคุมคามจากโรคระบาดต่างๆ ทำให้เกิดปัญหาที่ต้องพิจารณากันในระหว่างประชาชาติต่างๆ เพราะจะมีโรคระบาดแพร่จากประเทศหนึ่งไปยังประเทศหนึ่งอยู่เสมอ จึงต้องมีการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศต่างๆ จึงมีการประชุมเกี่ยวกับสุขภาพอนามัยระหว่างประเทศเป็นครั้งแรกที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เมื่อพ.ศ.2349 เพื่อวางมาตรการควบคุมและกักกันโรคระบาดระหว่างประเทศ
ต่อมาคณะมนตรีด้านสังคมและเศรษฐกิจแห่งสหประชาชาติ ได้จัดให้มีการประชุมว่าด้วยสุขภาพระหว่างประเทศ เมื่อพ.ศ.2489 ที่เมืองนิวยอร์ก ที่ประชุมได้เล็งเห็นว่าสุขภาพของ ประชาชนเป็นรากฐานของสันติภาพและความมั่นคงปลอดภัยของประชาชาติทั้งมวล จึงได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อเตรียมการสถาปนาองค์การอนามัยโลก โดยจัดการร่างธรรมนูญขององค์การอนามัยโลกแล้วเสร็จ ประกาศใช้ธรรมนูญเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2491 สมัชชาองค์การอนามัยโลกจึงกำหนดให้วันที่ 7 เมษายน ของทุกปีเป็นวันอนามัยโลก (World Health Day) และมีมติให้มีการฉลองพร้อมกันทั่วโลกตั้งแต่ปี 2492 โดยองค์การอนามัยโลก ได้กำหนดข้อปัญหาทางอนามัยขึ้นปีละ 1 เรื่อง สำหรับตั้งเป็นคำขวัญ เพื่อให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขทั่วโลกใช้เป็นแนวทางในการให้สุขศึกษาแก่ประชาชน คำขวัญดังกล่าวมีครั้งแรกเมื่อปี 2493
กิจกรรม รณรงค์ปัญหาสาธารณสุขตามคำขวัญวันอนามัยโลก |
วันที่ 9 เมษายน วันกองทัพอากาศ |
วันที่ 11 เมษายน วันพาร์กินสันโลก
วันพาร์กินสันโลก โรคพาร์กินสัน (Parkinson's disease) เป็นโรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยจะเคลื่อนไหวได้น้อยลง ช้าลง และสั่น ในระยะท้ายของโรคจะมีอาการสมองเสื่อมร่วมด้วย ผู้ที่อธิบายลักษณะโรคนี้เป็นคนแรกคือ นายแพทย์เจมส์ พาร์กินสัน
ได้มีการกำหนดให้วันที่ 11 เมษายน ซึ่งเป็นวันเกิดของนายแพทย์เจมส์ พาร์กินสัน เป็นวันพาร์กินสันโลก (World Parkinson Day) และเริ่มมีการจัดกิจกรรมให้ความรู้ สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของโรค รวมทั้งการดูแลรักษาโรคนี้แก่ประชาชนในวันสำคัญนี้ตั้งแต่ พ.ศ.2540 |
วันที่ 12 เมษายน วันป่าชุมชนชายเลนไทย |
วันที่ 13 เมษายน วันสงกรานต์,วันขึ้นปีใหม่ไทย,วันผู้สูงอายุแห่งชาติ,วันประมงแห่งชาติ
วันสูงอายุแห่งชาติ ผู้สูงอายุหมายถึง ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปทั่วโลกกำลังประสบปัญหาการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุ องค์การสหประชาชาติได้ตระหนักถึงปัญหานี้จึงมีมติให้มีการประชุมสมัชชาโลกว่าด้วยผู้สูงอายุ เมื่อ พ.ศ.2525 ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรียและกำหนดให้ปี 2525 เป็นปีรณรงค์เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ในการประชุมสมัชชาโลกดังกล่าว พลเอกสิทธิ จิรโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ได้เข้าร่วมประชุม และนำเรื่องกลับมานำเสนอคณะรัฐมนตรีให้มีการกำหนด วันผู้สูงอายุแห่งชาติ
เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2525 ได้มีการวางแผนระดับชาติเกี่ยวกับผู้สูงอายุเรียกว่าแผนระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุแห่งชาติ พ.ศ.2525-2544 ประกอบด้วยนโยบายและมาตรการ 5 ด้าน คือ สุขภาพอนามัย การศึกษา การสังคมวัฒนธรรม ความมั่นคงทางรายได้ และการทำงานและสวัสดิการสังคม คณะรัฐมนตรีได้ลงมติเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2525 อนุมัติให้วันที่ 13 เมษายนของทุกปีเป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ เนื่องจากเป็นวันปีใหม่ของไทยประชาชนนิยมไปเยี่ยมบ้านเกิดของตน พบปะพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย และญาติพี่น้อง ทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกอบอุ่น ไม่ถูกทอดทิ้ง
กิจกรรม การประกวดผู้สูงอายุดีเด่น สุขภาพดี การยกย่อง เชิดชูเกียรติผู้สูงอายุที่ทำคุณประโยชน์ การรดน้ำขอพร มอบของขวัญแก่ผู้สูงอายุ |
วันที่ 14 เมษายน วันครอบครัว
วันครอบครัว สังคมไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปมากมายตามนโยบายการพัฒนาประเทศ มีการเปลี่ยนจากระบบเกษตรกรรมไปสู่อุตสาหกรรม ระบบสังคม และครอบครัวมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัดเจน ครอบครัวใหญ่เปลี่ยนเป็นครอบครัวเดี่ยวมากขึ้น แรงงานวัยหนุ่มสาวชนบทมีการอพยพเข้ามาทำงานในเมืองมากขึ้น ทิ้งให้ผู้สูงอายุและเด็กอยู่กับบ้านตามลำพัง เกิดเป็นปัญหาสังคมตามมาอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเด็กเร่ร่อน ยาเสพติด โสเภณี เป็นต้น
หน่วยงานจากภาครัฐ และเอกชน ได้ทำการวิจัยพบว่าปัญหาของเด็กและเยาวชนที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ เกิดจากการขาดความอบอุ่น คณะกรรมาธิการกิจการสตรีและเยาวชน จึงได้เสนอให้มี "วันแห่งครอบครัว" ขึ้น เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของครอบครัว และช่วยกันสร้างครอบครัวให้เกิดความอบอุ่น เพื่อแก้ไขปัญหาในระดับหนึ่ง คุณหญิงสุพัตรา มาศดิตถ์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เสนอให้คณะรัฐมนตรีมีมติกำหนดวันที่ 14 เมษายนของทุกปี เป็นวันครอบครัว (Family Day) |
วันที่ 16 เมษายน วันนักกีฬายอดเยี่ยม |
วันที่ 17 เมษายน วันฮีโมฟิเลีย
วันฮีโมฟิเลีย หน่วยงานทั่วโลกที่ทำงานเกี่ยวกับโรคฮีโมฟิเลียได้เฉลิมฉลองวันฮีโมฟิเลียโลก และกระตุ้นเตือนให้ชาวโลกเห็นความสำคัญของโรคนี้ โดยเฉพาะสหพันธ์ฮีโมฟิเลียโลก ซึ่งจัดตั้งเมื่อ พ.ศ.2506 ได้กำหนดให้วันที่ 17 เมษายนของทุกปีเป็นวันฮีโมฟิเลียโลก
ฮีโมฟิเลีย (Hemophilia) เป็นโรคเลือดออกง่ายผิดปกติที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์แบบ x-linked จะมีความผิดปกติที่โครโมโซม x ( จึงพบในชาย แต่หญิงอาจมีความผิดปกติทางกรรมพันธุ์ซึ่งไม่แสดงออกแต่สามารถถ่ายทอดสู่ลูกหลานได้ ) ทำให้ขาดปัจจัยที่ช่วยการแข็งตัวของเลือดบางตัวซึ่งเป็นสารโปรตีน ทำให้เมื่อมีเลือดออกจะหยุดยาก ถ้าขาดสารที่ช่วยการแข็งตัวของเลือดที่เรียกว่าแฟคเตอร์ 8 ทำให้เกิดฮีโมฟิเลีย เอ ถ้าขาดแฟคเตอร์ 9 ทำให้เกิดอีโมฟิเลียบี ถ้าขาดแฟคเตอร์ 11 ทำให้เกิดฮีโมฟิเลีย ซี ทั้งฮีโมฟิเลียบีและซีมีอาการคล้ายกัน ส่วนอีโมฟิเลีย ซีพบน้อยมาก โรคนี้พบในประชากรประมาณ 1 ใน 2 หมื่นคน ผู้ป่วยจะมีอาการเลือดออกง่ายตั้งแต่เด็ก มักเริ่มมีอาการเมื่อเด็กเริ่มเคลื่อนไหวด้วยตนเอง อาการสำคัญคือ เวลามีบาดแผล เลือดจะไหลซึมและหยุดยาก เลือดออกใต้ผิวหนัง ทำให้มีอาการจ้ำเขียว เลือดออกในข้อ ทำให้ข้อบวม ปวดข้อ เหยียดข้อไม่ออก เลือดออกในกล้ามเนื้อจะทำให้เป็นก้อนแข็ง ถ้าเลือดออกในกล้ามเนื้อของคอหรือกล่องเสียงทำให้กดหลอดลม หรือเลือดออกในสมอง อาจทำให้ตายได้ |
วันที่ 20 เมษายน วันคึกฤทธิ์ |
วันที่ 21 เมษายน วันศาลยุติธรรม |
วันที่ 22 เมษายน วันคุ้มครองโลก
วันคุ้มครองโลก เมื่อ พ.ศ.2513 ได้มีกลุ่มนักการเมืองของสหรัฐอเมริกาที่เล็งเห็นถึงความ สำคัญของการรักษาสิ่งแวดล้อม ได้กำหนด "วันคุ้มครองโลก"( EARTH DAY) ขึ้น คือวันที่ 22 เมษายนของทุกปี ทั้งนี้เพื่อให้ทุกคนในโลกได้มีเวลาอย่างน้อย 1 วัน ที่จะนึกถึงสิ่งแวดล้อม และรักษาสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่ตลอดไป
กิจกรรม จัดนิทรรศการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม รณรงค์เรื่องสิ่งแวดล้อมเพื่อสุขภาพ |
วันที่ 23 เมษายน วันหนังสือโลก,วันหนังสือและลิขสิทธิ์โลก |
วันที่ 24 เมษายน วันเทศบาล |
วันที่ 25 เมษายน วันมาลาเรีย(แห่งแอฟริกา)
วันมาลาเรีย(แห่งแอฟริกา) มาลาเรียเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประชากรโลกในหลายพื้นที่ ทำให้เกิดการเจ็บป่วยและเสียชีวิตจำนวนมากในแต่ละปี โดยเฉพาะในทวีปแอฟริกาและเอเชีย สำหรับทวีปแอฟริกาได้กำหนดให้วันที่ 25 เมษายนของทุกปีเป็นวันมาลาเรียแห่ง แอฟริกา สำหรับประเทศไทยมาลาเรียยังเป็นปัญหาสำคัญ โดยเฉพาะคนที่ปฏิบัติงานในภูมิประเทศที่มีเชื้อมาลาเรียแพร่ระบาดสูง เช่น ทหารที่ปฏิบัติงานบริเวณชายแดน |
วันที่ 28 เมษายน วันราชาภิเษกสมรส,วันสมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์(วันนริศ) |
วันที่ 29 เมษายน วันเต้นรำสากล
วันเต้นรำสากล ใน พ.ศ.2525 คณะกรรมการเต้นรำสากลของสถาบันโรงมหรสพนานาชาติซึ่งสังกัด UNESCO ได้กำหนดให้วันที่ 29 เมษายนของทุกปี เป็นวันเต้นรำสากล (Inter national Dance Day) เพื่อเป็นการรำลึกถึงวันเกิดของ Jean- George Noverre ซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์การเต้นบัลเลต์สมัยใหม่
ในวันสำคัญนี้อาจจัดกิจกรรมการแสดงที่หลากหลายอาจมีการสาธิตการเต้นรำและการแสดงต่างๆทั้งแบบไทย เช่น การแสดงโขน การรำโปงลาง และแบบนานาชาติ เช่น ลีลาศ บอลรูม ยิมนาสติก บัลเลต์ คอนเท็มโพรารี่แด๊นซ์ พีลาทัสสตรีทแด๊นซ์ ฮิปฮอป แจ๊สด๊านซ์ และโมเดิร์นแจ๊ส
|
วันที่ 30 เมษายน วันคุ้มครองผู้บริโภค
วันคุ้มครองผู้บริโภค แต่เดิมนั้นผู้บริโภคถือว่าเป็นผู้กำหนดตลาดชนิดและราคาของสินค้าและบริการต่างๆ โดยมีรัฐเป็นผู้ใช้อำนาจกำหนดรูปแบบหรือพฤติกรรมของผู้ผลิตควบคู่กันไป แต่ในปัจจุบันได้มีการดำเนินการของผู้ประกอบการธุรกิจขนาดใหญ่ในลักษณะรวมกลุ่มจึงก่อให้เกิดพลังทั้งทางเศรษฐกิจและทางการเมืองรวมทั้งการนำเอาศิลปะในการโฆษณาและการตลาดมาใช้อย่างกว้างขวาง สินค้าที่ผลิตก็เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ผู้บริโภคไม่อาจทราบถึงคุณภาพ ราคา และแหล่งผลิตได้ทั่วถึง เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นผู้บริโภคจึงตกอยู่ในภาวะจำยอมและเสียเปรียบผู้ประกอบธุรกิจตลอดมา
กิจกรรม
- การดำเนินการในส่วนกลาง ประธานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคอ่านสารเนื่องในวัน คุ้มครองผู้บริโภค อ่านสารเนื่องในวันคุ้มครองผู้บริโภคทางสถานีวิทยุโทรทัศน์
- จัดรายการอภิปรายในหัวเรื่องที่เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค
- จัดนิทรรศการแสดงผลงานการคุ้มครองผู้บริโภค เผยแพร่เอกสารเกี่ยวกับเรื่องอาหารและยา รวมทั้งผลิตภัณฑ์สุขภาพ
|