เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






แนะ 7 ข้อปฏิบัติป้องกันลูกหลานเป็นเด็กแว้น-สก๊อย





 

อธิบดีกรมสุขภาพจิต แนะ 7 ข้อปฏิบัติ เลี้ยงลูกหลานไม่ให้เป็นเด็กแว้น-สก๊อย ขณะที่อดีตเด็กเทสต์ (Test) เผยได้รับความตื่นเต้นเร้าใจจากการซิ่งมอเตอร์ไซค์ ระบุเลิกได้เพราะเห็นมาตรการปราบปรามรุนแรงของตำรวจ และมีใจชื่นชอบทางดนตรี

นพ.ม.ล.สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต เป็นประธานเปิดการเสวนาเรื่อง “เลี้ยงลูกอย่างไร ไม่เป็นเด็กแว้น-สก๊อย” เพื่อหามาตรการป้องกันปัญหาการซิ่งมอเตอร์ไซค์ ซึ่งประสบการณ์ของประเทศญี่ปุ่นแก้ปัญหานี้ได้เพราะแก๊งยากูซ่าเก็บค่าคุ้มครองการใช้ถนนซิ่ง ส่วนประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศที่มีกฎหมายมากที่สุด แต่บังคับใช้กฎหมายน้อยที่สุด ปัญหาจึงยังคงมีอยู่ คงห้ามลำบาก ดังนั้น การบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด รวมทั้งจับตาร้านตกแต่งรถ เพราะทราบมาว่าร้านเหล่านี้เป็นผู้สนับสนุนให้มีการแข่งรถ ใครวิ่งชนะทำให้ร้านได้รับความนิยมเข้าไปใช้บริการ การที่ยังมีเด็กแว้นอาจมาจากจุดนี้ก็ได้ ดังนั้นทุกส่วนควรหันหน้ามาพูดคุยกัน ฝาก 7 ข้อปฏิบัติสำหรับป้องกันเด็กแว้น-สก๊อย คือ

1.ฝึกวินัยและความรับผิดชอบให้ลูกตั้งแต่เล็ก
2.สอนให้ลูกนับถือตนเองและเคารพผู้อื่น
3.อย่าให้ลูกได้อะไรง่าย ๆ เกินไป ต้องหัดให้รู้จักพึ่งตนเอง
4.สนับสนุนให้ลูกมีกิจกรรมสร้างสรรค์
5.ควบคุมอารมณ์ของพ่อแม่ โดยรักษาสัมพันธภาพที่ดีกับลูก สื่อสารทางบวก
6.หากห้ามลูกใช้มอเตอร์ไซด์ไม่ได้ ให้พ่อแม่สร้างอุปสรรคในทางสร้างสรรค์ เช่น มอบหมายให้ทำงาน
7.พ่อแม่ต้องมีกำลังใจ อย่าย่อท้อกับอุปสรรค ปัญหาต้องอาศัยเวลาในการแก้ไข


ด้านนายบุรินทร์ทร แซ่ล้อ หรือ เฮง ผู้มีประสบการณ์เด็กแว้นเมื่อ 15 ปีที่แล้ว กล่าวว่า เมื่อปี 2535 เรียกเด็กซิ่งมอเตอร์ไซค์ว่า “เด็กเทสต์” กลุ่มของเด็กเทสต์เป็นลูกของคนค่อนข้างมีฐานะ มีเงินแต่งรถ นิยมซิ่งรถฮอนด้า บีท 115 รถคาวาซากิ เคอาร์ ยามาฮ่า เจอาร์ ส่วนตนใช้รถยามาฮ่าทีแซดอาร์ เพราะคันใหญ่ เครื่องแรง สำหรับเส้นทางที่เด็กเทสต์นิยมในสมัยนั้นคือ ถนนรัชดาภิเษก ช่วงแยกห้วยขวาง-โรงเรียนกุนนทีรุทธาราม หรือเส้นทางถนนวิภาวดีรังสิต ช่วงหน้าสำนักงานหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ-เซนต์จอห์น ตนเริ่มจากไปดูเขาซิ่ง ซ้อนท้าย และในที่สุดก็ขี่เอง ความรู้สึกตอนนั้น มัน มีอิสระ โล่ง ไม่กลัวอะไร แต่จุดพลิกผันที่เลิกเป็นเด็กเทสต์ คือ เห็นเจ้าหน้าที่ปราบปรามโดยใช้ไม้หรือเหล็กสอดเข้าล้อรถ คนซิ่งล้มเทกระจาดเลือดสาด และใช้ไม้หน้าสามไล่ตีคนมาดูทำให้ตนเลิก

“เห็นการกวดล้างรุนแรงทำให้อยากเลิก บอกเพื่อนว่าพอแล้ว หันมาเล่นกีตาร์ เด็กเทสต์กว่าจะกลับก็ตีสาม ตีสี่ รวมกลุ่มกันไปเรื่อย ๆ ทั้งที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน ก็รวมกันได้ 300-400 คน ผมไม่อยากกลิ้ง เห็นแล้วมันโหดร้าย แม้เราจะเป็น
เด็กเทสต์ เราก็คน น่าจะจับตั้งแต่จุดสตาร์ท”











ขอขอบคุณที่มา : http://www.dmh.go.th
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 













 












หน้าแรก | เกี่ยวกับแผนงาน | เครือข่ายและกิจกรรม | ผลผลิตและรายงาน | ข้อมูลสถิติ | การจัดการความรู้ | หน่วยงาน | ติดต่อแผนงาน | เจ้าหน้าที่ดูแลระบบ
แนะนำแผนงาน | ข่าวกิจกรรม | เกาะติดกิจกรรมเด่น | หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | ผลผลิตและรายงาน| รายงานสุขภาพ| ก้าวใหม่กับ HISO | สถานการณ์สุขภาพประเทศไทย
การวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพ | สถานการณ์ข่าวสุขภาพ | เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สื่อข้อมูลสุขภาพ | แบบสำรวจสุขภาพ | webbord | คำถามที่พบบ่อย | สมุดเยี่ยมชม | บริการข้อมูล