โรคจิตเภทคืออะไร
โรคจิตเภทเป็นโรคทางจิตเรื้อรังซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของ ความคิด (thinking) ความรู้สึก (feeling) และพฤติกรรม (behavior)
สาเหตุ
เป็นโรคทางพันธุกรรมทำให้มีการพัฒนาของระบบประสาทผิดปกติ เมื่อมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมก็เกิดโรคนี้ ได้แก่
การที่เกิดขาอออกซิเจนในระหว่างการคลอด
มารดาเป็นไข้ในตั้งครรภ์ไตรมาสที่2
มารดาเป็นไข้หวัดใหญ่ในขณะตั้งครรภ์
อาการแสดง
อาการแสดงจะแบ่งเป็นสองระยะได้แก่
1. อาการนำก่อนป่วย[prodome] อาการนำก่อนป่วยในผู้ป่วยแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนอาการชัด บางคนอาการไม่ชัด อาการนำมักจะเกิดขณะวัยเรียน อาการนำอาจจะมีอาการเป็นเดือนก่อนเกิดปรากฏอาการทางจิต
แยกตัวเล่น ไม่ยุ่งกับใคร
แปลกประหลาด ไม่สามารถปฏิบัติตนให้สมบทบาทได้ เช่นบทบาทของการเป็นเพื่อน ลูก
ไม่ดูแลตัวเอง เช่นไม่อาบน้ำหรือหวีผม
บุคลิกเปลี่ยนจนเพื่อนสังเกตเห็น
มีความคิดแปลกๆ
ห่วงใยรูปร่างหน้าตา ชอบดูกระจก กลัวผิดปกติ
มีพฤติกรรมต่อต้านสังคม
2. อาการทางจิต ผู้ป่วยแต่ละรายจะมีอาการแตกต่างกันได้มาก แม้แต่ผู้ป่วยคนเดียวกัน ต่างเวลาอาการของเขาก็อาจจะแตกต่างกันอาการที่ทำให้ผู้ป่วยพบแพทย์
I. อาการทางจิต ผู้ป่วยจะมีอาการ
ประสาทหลอน เช่น หูแว่ว ตาฝาด
ระแวง กลัวคนทำร้าย คิดว่ามีคนสะกดรอยตามปองร้าย แปลความหมายเหตุการณ์ รอบตัวผิดจากความเป็นจริง เช่นเพื่อนลูปหน้าแปลว่าหน้าด้านไม่รู้จักอาย
อาละวาด ทำลายข้าวของ
พยายามฆ่าตัวตาย หรือทำร้ายผู้อื่น
II. ความสามารถในการดำเนินชีวิตเสื่อมลง
การเรียนเลวลง หรือเรียนไม่ได้
การงานบกพร่อง ทำงานไม่ได้เท่าที่เคยทำ เกียจคร้าน
ความสัมพันธ์กับบุคลอื่นไม่ราบรื่น เข้ากับคนอื่นไม่ได้ ระแวง คิดแปลเจตนาของ ผู้อื่นในทางลบ หงุดหงิด
ไม่ใส่ใจดูแลตัวเอง ไม่อาบน้ำ ไม่แต่งตัวให้เรียบร้อย ไม่หวีผม ห้องนอนสกปรก
III. ผู้ป่วยบางรายมาหลังจาก
ดื่มเหล้ามาก
ใช้สารเสพติด
การป่วยทางกาย
ลักษณะทั่วไป
- ผู้ป่วยจะมีกริยาท่าทางประหลาด แต่งตัวไม่เรียบร้อย สกปรก มีกลิ่นเหมือนไม่อาบน้ำแปรง ฟัน การเคลื่อนไหว บางคนหยุดนิ่งไม่เคลื่อนไหว เคลื่อนไหวน้อย หรือไม่อยู่นิ่ง ลุกลน
- พฤติกรรมทางสังคม เก็บตัว แยกตัว หรือวุ่นวายเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องที่ไม่ควร
- การพูดมีหลายแบบ พูดจาได้ความดี พูดไม่รู้เรื่อง พูดน้อย หรือไม่พูดเลย
- อารมณ์ บางคนสีหน้าราบเรียบ ไม่แสดงอารมณ์อะไร บางรายสีหน้าไม่สอดคล้องกับเรื่องราว ที่พูด และบางรายสีหน้าปกติ
ความคิด Though
ผู้ป่วยบางรายไม่มีความคิดออกมาเลย บางรายมีความคิดหลั่งไหลออกมารวดเร็วและบางคนคิดเหมือนคนปกติ ความคิดมักจะไม่ต่อเนื่อง เปลี่ยนเรื่องก่อนที่เรื่องกำลังกล่าวจะจบ มีอาการหลงผิด เช่นหวาดระแวงว่าคนจะทำร้าย หูแว่ว ตาฝาด และประสาทหลอน และมักจะมีปัญหาเรื่องการสื่อสารทั้งการรับและการส่ง เช่นโกรธอย่างรุนแรงโดยไม่มีเหตุผลหรือเฉยไม่ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วย
การดำเนินของโรค
ผู้ป่วยจะเริ่มด้วยอาการนำ แล้วตามมาด้วยอาการของโรคอาจจะเกิดแบบเฉียบพลัน หรือค่อยเป็นค่อยไป อาการสงบลงสลับกับกำเริบขึ้นอีกเป็นครั้งคราว ผ่านไปหลายปีอาจจะมีอาการหลงเหลืออยู่เช่นเดียวกับอาการนำ
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยโดยอาการเป็นสำคัญ ผู้ป่วยมีลักษณะดังต่อไปนี้่
มีพฤติกรรมที่ผิดปกติ
ป่วยเรื้อรัง
ความสามารถในการดำรงชีวิตเสื่อมถอย เช่น ทำงานไม่ได้ พึ่งตนเองไม่ได้
เมื่อป่วยแล้วไม่หายเป็นปกติเหมือนก่อนป่วย
ต้องวินิจฉัยแยกโรคต่อไปนี้
Bipolar disorder โรคนี้เวลาหายจะเหมือนคนปกติ การป่วยบางครั้งเป็น
โรคจิตเพราะพิษสุรา หรือสารเสพติด เช่น ยาบ้า กัญชา ยาลดความอ้วน
โรคทางกาย เช่น SLE โรคลมชัก โรคเนื้องอกในสมอง
การรักษา ทำได้ 3 ทางด้วยกัน
1. รักษาอาการให้หาย เป็นการใช้ยาในการรักษายาที่ใช้ได้แก่
Haloperidol
Resperidone
Clozapine
2. ป้องกันมิให้กลับเป็นซ้ำ หากกินยาสม่ำเสมอการกำเริบจะน้อย สาเหตุที่กำเริบคือการถูก ตำหนิติเตียนเป็นประจำ การป้องกันไม่ให้โรคกำเริบคือ
กินยาอย่างต่อเนื่องตามที่แพทย์สั่ง
อย่าบ่นว่า ตำหนิ วิจารณ์ซ้ำซาก
สิ่งที่สำคัญในการรักษาคือผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะมีแนวโน้มในการฆ่าตัวเองสูง ผู้ป่วยที่มีความ เสี่ยงต่อการฆ่าตัวเองสูงมีลักษณะดังต่อไปนี้
ญาติและผู้ป่วยคาดในความสำเร็จสูง
ปรับตัวรับสภาพโรคจิตไม่ได้
ช่วงเวลาที่ต้องระวังในการฆ่าตัวเองคือ ขณะที่รักษาอยู่ในโรงพยาบาล ระยะ 6 เดือน หลังออกจากโรงพยาบาล มีการสูญเสีย เช่นหย่า ตกงาน เปลี่ยนแพทย์ผู้รักษา
อาการดีขึ้นหลังจากป่วยหนักและรู้ว่าตัวเองเป็นโรคจิต
 สัญญาณบ่งบอกว่าจะฆ่าตัวตาย
ผู้ป่วยมีความคิดฆ่าตัวเอง
มีความมั่นใจในตัวเองต่ำ
มีแรงกดดันผู้ป่วยมากได้แก่ ขาดที่พึ่ง ตกงาน ญาติโกรธ ถูกไล่ออกจากบ้าน
อาการกำเริบ หูแว่ว หวาดกลัว รู้สึกมีคนปองร้าย
หมอโกรธ
3. ฟื้นฟูจิตใจและฝึกอาชีพ เนื่องจากผู้ป่วยพลาดการเล่าเรียน และการเรียนรู้ชีวิต การต่อสู้กับปัญหาและอุปสรรค ทางครอบครัวและผู้รักษาต้องประคับประคองให้เขาเรียนรู้วิธีแก้ปัญหา และการฝึกอาชีพ
|