เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






เตือนวัยรุ่น! ใช้หูฟัง เอ็มพี3 เปิดเสียงดังนาน





 

เตือนวัยรุ่นใช้หูฟังเอ็มพี 3 เปิดเสียงดัง นานต่อเนื่อง ส่งผลให้ประสาทหูผิดปกติ เตือนถ้ามีเสียงดังวิ้งๆ ในหูตลอดเวลา หรือตื่นนอนมึนงง ทรงตัวไม่ได้รีบพบแพทย์ทันที

ศ.พญ.สุจิตรา ประสานสุข ผู้อำนวยการศูนย์การได้ยิน การพูด การทรงตัว เสียงในหู โรงพยาบาลกรุงเทพ ให้ข้อมูลว่า เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาได้ร่วมกับกรมควบคุมมลพิษสุ่มตรวจการได้ยินของนักเรียนวัยรุ่นในเขต
กรุงเทพฯ ประมาณ 400 ราย พบว่า ร้อยละ 25 มีความผิดปกติในการรับฟังเสียง ซึ่งเกิดจากการฟังเสียงที่ดังมากไปและนานต่อเนื่องเกินไป โดยเฉพาะการฟังเพลงจากหูฟังเพลงเครื่องเอ็มพี 3 หรือ ไอพอด นอกจากนี้ยังเกิดจากการใช้หูฟังของเครื่องโทรศัพท์มือถือด้วย


"การใช้หูฟังประเภทนี้สมองจะได้รับรังสีคลื่นวิทยุด้วย เด็กหลายคนใส่หูฟังทั้งวัน หรือบางคน
อาจใส่ฟังจนนอนหลับไปเลย
นอกจากนี้ยังเคยทดลองว่า หากใช้หูฟังในสถานที่มีเสียงรบกวนดังมาก เช่น ในรถไฟฟ้า หรือศูนย์การค้า ต้องเปิดหูฟังให้เสียงดังจนเกือบสุดจึงจะได้ยินชัด ซึ่งเป็นระดับถึง 105 เดซิเบล ทั้งที่ปกติหูคนเราจะรับได้ประมาณ 80 เดซิเบล เสียงระดับ 105 เดซิเบลจะทำลายประสาทการรับเสียง หรืออาจกระทบแก้วหู" ผู้เชี่ยวชาญ กล่าว

สำหรับอาการขั้นเริ่มต้นของผู้ที่ประสาทหูผิดปกตินั้น ศ.พญ.สุจิตรา กล่าวว่า มีหลายอาการด้วยกัน แต่ที่พบมากคือ การได้ยินเสียงวิ้งๆ ในหู ทั้งที่ไม่ได้เปิดเพลงหรือถอดหูฟังแล้ว เพราะปลายประสาทเกิดการกระทบกระเทือนจากเสียงที่มากระตุ้น ซึ่งหากผู้ใดมีอาการนี้ต้องรีบมาพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ส่วนอีกประเภทหนึ่งคือมีอาการทรงตัวผิดปกติ เช่น ตื่นนอนแล้วยืนตัวตรงไม่ได้ หรือมึนงง หากมีอาการนี้ประมาณ 2-3 วันแล้วไม่ดีขึ้น ก็ต้องรีบไปพบแพทย์

"สังเกตได้ว่าวัยรุ่นสมัยนี้จะพูดจาเสียงดังมาก เพราะพวกเขาเคยชินกับการได้ยินอะไรเสียงดังๆ ตลอดเวลา การห้ามวัยรุ่นไม่ให้ใส่หูฟังเพลง หรือหูฟังโทรศัพท์มือถือเป็นเรื่องที่ทำไม่ได้ แต่ควรแนะนำให้มีการฟังอย่างพอดี คือไม่ฟังเสียงดังมากเกินไป ไม่ฟังนานเกินไป ระดับที่เหมาะสมคือปรับความดังไปที่ระดับกลาง นอกจากนี้ระยะเวลาในการฟังก็ไม่ควรต่อเนื่องเกิน 2 ชั่วโมง" ศ.พญ.สุจิตรา กล่าวแนะนำ











ขอขอบคุณที่มา : http://hilight.kapook.com/view/19428
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 













 












หน้าแรก | เกี่ยวกับแผนงาน | เครือข่ายและกิจกรรม | ผลผลิตและรายงาน | ข้อมูลสถิติ | การจัดการความรู้ | หน่วยงาน | ติดต่อแผนงาน | เจ้าหน้าที่ดูแลระบบ
แนะนำแผนงาน | ข่าวกิจกรรม | เกาะติดกิจกรรมเด่น | หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | ผลผลิตและรายงาน| รายงานสุขภาพ| ก้าวใหม่กับ HISO | สถานการณ์สุขภาพประเทศไทย
การวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพ | สถานการณ์ข่าวสุขภาพ | เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สื่อข้อมูลสุขภาพ | แบบสำรวจสุขภาพ | webbord | คำถามที่พบบ่อย | สมุดเยี่ยมชม | บริการข้อมูล