ทีวี มีคุณอนันต์หากเราใช้ได้ถูกต้องเหมาะสมและควบคุมได้ แต่จะก่อให้เกิดโทษมหันต์ได้เช่นกันหากเราใช้ไม่เป็น และปล่อยให้มีอิทธิพลเหนือวิถีชีวิตและการควบคุมของเรา
ทีวี มีอิทธิพลต่อเด็กตั้งแต่แรกเริ่มของชีวิต สามารถดึงความสนใจจากเด็กได้มากกว่าสิ่งอื่นๆ บ่อยครั้งที่พบว่าพ่อแม่ใช้ทีวีในการเลี้ยงดูลูก โดยเข้าใจผิดว่าทีวีสามารถพัฒนาการพูดของเด็กให้เร็วขึ้น เนื่องจากพ่อแม่สังเกตว่าเด็กจ้องมองภาพ พร้อมทั้งหยุดการเคลื่อนไหวทุกอย่างได้นานๆ
จากการศึกษาข้อมูลพบว่า
สิ่งที่เด็กสนใจมองจริงๆ คือ แสง สี เสียง โดยเฉพาะรายการโฆษณา ซึ่งมีการเปลี่ยนภาพเร็วมาก จะดึงดูดความสนใจได้มากที่สุด แต่เด็กจะไม่เข้าใจความหมายอะไรในทีวี นอกจากเป็นการตอบสนองต่อสิ่งเร้าที่มากระตุ้นเท่านั้น
ในขณะที่เด็กใช้เวลาอยู่กับทีวีนั้น พบอัตราการเปล่งเสียงหรือเลียนเสียงน้อยมาก เนื่องจากทีวีเป็นการสื่อสารเพียงด้านเดียว (One-way communication) ซึ่งตามปกติการเรียนรู้ทางภาษาที่ดีนั้น ควรเรียนทางภาษาที่ดีนั้นควรเรียนจากการสื่อสาร 2 ด้าน (Two-way communication) หรือในลักษณะที่มีการโต้ตอบและมีปฏิสัมพันธ์กัน
การปล่อยเด็กเล็กให้อยู่กับทีวีนานๆ เป็นเหตุให้เด็กต้องทนฟังเสียงที่ไม่อาจจะเข้าใจได้อยู่ข้างเดียว พบว่าเด็ก 1 ใน 5 ของกลุ่มนี้จะยังพูดไม่ได้เมื่อถึงวัยอันควรด้วย
ทีวีสามารถก่อให้เกิดผลกระทบต่อพัฒนาการด้านอื่น ๆ ดังนี้
สามารถเปลี่ยนแปลงให้เด็กหันไปนิยมวัตถุมากขึ้น ผู้ผลิตรายการโฆษณามักจะรู้ดีว่า เด็กถูกชักจูงง่าย หลายบริษัทใช้เด็กเป็นตัวดึงในการโฆษณาขายสินค้าของตน
ทำให้ความสัมพันธ์กับผู้ใหญ่ลดลง ขาดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน รายการทางโทรทัศน์จะมีอิทธิพลมากพอที่จะลบล้างความเชื่อทั้งหลายที่เคยได้รับมาจากพ่อแม่ วัยที่เป็นอันตรายอย่างมาก คือ ก่อนวัยเรียน เพราะวัยนี้ยังแยกแยะความจริงไม่ได้ และเป็นวัยเลียนแบบด้วย หากเด็กถูกครอบงำ และได้รับแต่สิ่งผิด ๆ
ในครอบครัวที่มีความเครียดสูง เช่น ปัญหาพี่น้องทะเลาะกันบ่อย ผู้ใหญ่มักคิดว่าทีวีจะช่วยหลีกเลี่ยงปัญหานั้นได้ แต่ความเป็นจริงกลับพบว่า หลังจากหยุดดูทีวี การทะเลาะก็จะเริ่มขึ้นแทนและมีความรุนแรงมากขึ้น
ทำให้ขาดโอกาสในการเล่น หรือทำให้การเล่นลดน้อยลง ซึ่งเป็นอันครายอย่างมาก ทั้งนี้เพราะ การเล่นเป็นสิ่งสำคัญต่อพัฒนาการด้านการเจริญเติบโต สามารถช่วยขยายจิตนาการความคิดริเริ่มให้กว้างไกลออกไป
เด็กที่ดูทีวีมากๆ จะแสดงลักษณะของการไม่อยู่นิ่งหรือเหนื่อยล้า ทำให้มีแนวโน้มที่จะเป็นเด็กสมาธิสั้น เนื่องจากได้รับการกระตุ้นจากสี แสง เสียง มากเกินไปมีผลรบกวนต่อขบวนการด้านความคิดของเด็ก ทำให้ไม่สามารถเก็บข้อมูลหรือนำไปใช้ได้
เด็กที่ดูทีวีมากๆ จะทำให้กลายเป็นเด็กที่มีลักษณะสมยอม ขาดความคิดริเริ่ม เด็กที่มีปัญหาพูดช้าและมีลักษณะคล้ายเด็กออกทิสติค มักพบว่าถูกเลี้ยงดูด้วยทีวีตั้งแต่วัยทารก
ทีวีเป็นตัวกระตุ้นแรงผลักดันภายในและอารมณ์ที่มีอยู่ให้ออกมารุนแรงได้ การดูทีวีรายการเกี่ยวกับความก้าวร้าวรุนแรง ทำให้เด็กพอใจหรือมีการเล่นที่ก้าวร้าวรุนแรงกว่าเดิม อีกทั้งยังเฉยเมยต่อความรุนแรงที่ประสบในชีวิตจริงได้
|
จากการศึกษาข้อมูลพบว่า
|
1. ทารกที่อายุไม่ถึง 1 ขวบ ไม่ควรให้ดูทีวีหรือ วีดีโอเลย |
2. เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ ไม่ควรดูทีวีเกิน 7 ชม.ต่อสัปดาห์ (วันละไม่เกิน 1 ชม.) |
3. เด็กอายุ 6 ขวบขึ้นไปควร |
- ช่วยกันวางโปรแกรมจัดตารางรายการที่เด็กชอบ
- ให้เด็กเขียนรายการที่ต้องการดูในแต่ละวัน
- ให้เวลา 1 ชม.ต่อวันในการดูทีวีในวันไปโรงเรียน
- ให้เวลา 2 ชม.ต่อวันในวันหยุด
- ถ้าเด็กดูรายการพิเศษติดกัน 2 ชม. ในวันไปโรงเรียน ต้องงดดูคืนถัดไป |
4. ไม่ควรอนุญาตให้มีทีวีในห้องนอนเด็ก |
|
|