เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






ตะไคร้…สมุนไพรมีอันตรายหากใช้ผิด




 

ในปัจจุบันคนไทยเริ่มให้ความสนใจกับพืชสมุนไพรมากขึ้น ทั้งที่ใช้เป็นยาบำรุงสุขภาพ และเป็นยา รักษาโรค ซึ่งเราถือว่าการนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์นั้น นับเป็น "ภูมิปัญญาชาวบ้าน" ที่สมควรแก่การ อนุรักษ์ อีกทั้งใน
ปัจจุบัน วิทยาศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่ ก็หันมาให้ความสนใจ กับพืชสมุนไพรด้วย ข้อดีประการหนึ่ง ของการนำพืชสมุนไพรมาใช้คือ ทำให้เราเริ่มตระหนักถึง ความสำคัญ ของพืชสมุนไพร ที่มีอยู่ในประเทศ หลายหน่วยงาน เริ่มทำการวิจัย และรวบรวมข้อมูล ของสมุนไพรไทย ตั้งแต่ลักษณะ ทางกายภาพ ของพืชสมุนไพร และสรรพคุณทางยา ซึ่งมีการรวบรวม และตีพิมพ์ เป็นหนังสือ เกี่ยวกับพืช สมุนไพรไทย ไว้มากมาย

แม้ว่าสมุนไพรจะมีประโยชน์มากมายมหาศาล แต่การใช้สมุนไพรก็มีข้อจำกัดอยู่บ้าง เช่นกัน เนื่องจากมีพืชสมุนไพรหลายอย่าง ที่หากมองจากภายนอกแล้ว จะมีความคล้ายคลึงกัน ค่อนข้างมาก และหากไม่พบเห็นพร้อม ๆ กันก็มักจะทำให้เกิด ความเข้าใจผิดได้ว่า เป็นพืชชนิดเดียวกัน แต่ถ้าได้นำมาเปรียบเทียบกันแล้ว จึงจะเห็นความแตกต่าง ซึ่งสรรพคุณของสมุนไพร ที่มีความคล้ายกันนี้เอง จะแตกต่างกัน และมีอันตราย หากบริโภคผิดประเภท ดังนั้น ในการนำสมุนไพร มาใช้ ควรที่จะ ทำการศึกษา เกี่ยวกับสมุนไพร ให้ละเอียด รวมทั้งควรศึกษา ถึงความแตกต่างของพืชด้วย

ตัวอย่างของพืชสมุนไพรที่น่าสนใจ เนื่องจากมีความคล้ายคลึงกันมาก คือ "ตะไคร้" และ "ตะไคร้หอม" ซึ่งหากมองผิวเผินแล้วบางคนไม่สามารถแยกออกได้ว่า ต้นไหน คือตะไคร้ และตะไคร้หอม หรือบางคน อาจจะรู้จักแต่ตะไคร้ แต่ไม่เคยรู้จักตะไคร้หอม ก็เลยคิดว่าเป็นพืชตัวเดียวกัน



ความแตกต่าง ตะไคร้ (Lemon Grass) ตะไคร้หอม (Citronella Grass)
ชื่ออื่น ๆ ตะไคร้บ้าน ตะไคร้แกง คาหอม จะไคร เชิดเกรย เหรอะเกรย และไคร ตะไคร้แดง ตะไคร้มะขูด จะไคร มะขูด
ชื่อสามัญ LemonGrass, Lapine Citronella grass
ชื่อวิทยาศาสตร์ Citronella citratus Citronella nardud
วงศ์ Gramineae Gramineae


ต้น

เป็นไม้ล้มลุกจะขึ้นเป็นกอใหญ่ สูงประมาณ 1 เมตร ลักษณะของลำต้น ตั้งตรง แข็ง เกลี้ยง และตามปล้อง (กาบของโคนต้น) มักมีไขปกคลุมอยู่ ความสูงวัดจากโคนถึงกาบใบ ประมาณ 30 เซนติเมตร
 

เป็นไม้ล้มลุก ลำต้นจะตั้งตรง แต่แตกออกมา เป็นกอ สูงประมาณ 2 เมตร ที่โคน จะเป็นกาบชั้น ๆ เหมือนตะไคร้บ้าน แต่ไม่มีไขปกคลุม เหมือนตะไคร้บ้าน ความสูงวัดจากโคนต้น ถึงกาบใบประมาณ 60-75 เซนติเมตร
 


ใบ

ใบเดี่ยว แตกออกเป็นกอ รูปขอบขนาน ปลายใบแหลม ยาว 30-60 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1-2 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนระคายมือเล็กน้อย ส่วนด้านล่างจะเรียบ ขอบใบเรียบ
 

มีใบยาวและกว้างกว่าตะไคร้บ้านยาวประมาณ 1 เมตร กว้าง 2-2.5 เซนติเมตร เส้นกลางใบแข็ง ขอบใบจะมีขนขึ้นเล็กน้อย เมื่อส่องดูในที่มีแสงสว่างจะเห็นว่าขอบใบไม่เรียบ และผิวใบจะสากมือทั้งสองด้าน
 


สรรพคุณ

ทั้งต้น ใช้เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะ และแก้อหิวาตกโรค และยังใช้ร่วมกับสมุนไพรอื่น รักษาโรคได้ เช่น บำรุงธาตุ เจริญอาหาร และขับเหงื่อ

ใบ ใบสด ๆ ช่วยลดความดัน โลหิตสูง แก้ไข้

ราก ใช้เป็นยาแก้ไขปวดท้องและท้องเสีย

ต้น ใช้เป็นยาขับลม แก้เบื่ออาหาร แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เป็นยาบำรุงธาตุไฟให้เจริญ และนอกจากนี้ยังใช้ดับกลิ่นคาวด้วย

น้ำมัน มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา และมีกลิ่นไล่สนุขและแมว
 

ทั้งต้น ใช้เป็นยาแก้ปากแตกระแหง แก้ริดสีดวงในปาก ขับลมในลำไส้ แก้แน่น ขับโลหิตระดู มีฤทธิ์ทำให้กล้ามเนื้อเรียบบีบตัว ผู้ที่มีครรภ์รับประทานเข้าไปอาจทำให้แท้งได้

ใบ ใช้เป็นยาคุมกำเนิด ชำระล้างลำไส้ ไม่ให้เกิดซาง

ราก แก้ลมจิตรวาด หัวใจ กระวนกระวาย ฟุ้งซ่าน

ต้น แก้ลมพานไส้ แก้ธาตุ แก้เลือดลมไม่ปกติ

น้ำมัน ใช้ทาป้องกันยุง มีฤทธิ์ไล่แมลงและใช้รักษาโรคเห็บสุนัข
 







ขอขอบคุณที่มา : สุรัตน์วดี จิวะจินดา
                          หน่วยสภาวะแวดล้อม
                          ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลองสถาบันวิจัยและพัฒนา
                          มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

      คัดลอกจาก : http://www.elib-online.com/doctors/citronella.html
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต













 












หน้าแรก | เกี่ยวกับแผนงาน | เครือข่ายและกิจกรรม | ผลผลิตและรายงาน | ข้อมูลสถิติ | การจัดการความรู้ | หน่วยงาน | ติดต่อแผนงาน | เจ้าหน้าที่ดูแลระบบ
แนะนำแผนงาน | ข่าวกิจกรรม | เกาะติดกิจกรรมเด่น | หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | ผลผลิตและรายงาน| รายงานสุขภาพ| ก้าวใหม่กับ HISO | สถานการณ์สุขภาพประเทศไทย
การวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพ | สถานการณ์ข่าวสุขภาพ | เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สื่อข้อมูลสุขภาพ | แบบสำรวจสุขภาพ | webbord | คำถามที่พบบ่อย | สมุดเยี่ยมชม | บริการข้อมูล