เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สมรรถภาพร่างกาย | สุขภาวะทางจิต | สุขภาพกับความงาม | สื่อกับสุขภาพ | สมุนไพรเพื่อสุขภาพ | ธรรมะกับสุขภาพ






เรื่อง ชีวิตก่อนความตาย - และการดูแลผู้ป่วยก่อนตาย
โดย พระราชสุทธิญาณมงคล






 


วิธีรักษาจิตนั้น ก็รักษาด้วยสติ ท่านเปรียบว่า สตินั้นเป็นเหมือนเชือกจะรักษาจิตไว้ให้อยู่กับที่ได้ ก็เอาเชือกผูกใจไว้ ใจนั้นมันดิ้นรน ชอบปรุงแต่ง คิดวุ่นวายฟุ้งซ่านไปกับอารมณ์ต่างๆ เหมือนกับลิง ลิงที่อยู่ไม่อยู่สุข กระโดดไปตามกิ่งไม้ จากต้นไม้นี้ไปต้นไม้โน้นเรื่อยไป พระพุทธเจ้าก็เลยสอนว่า ให้จับลิงคือจิตนี้เอาเชือกผูกไว้กับหลัก หลักคืออะไร หลักก็คือสิ่งที่ดีงาม ที่ไม่มีอะไรปรุงแต่งที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นต้น เมื่อใจไปผูกไว้กับสิ่งนั้นแล้ว จิตก็อยู่กับที่ก็ไม่ฟุ้งซ่านไม่เลื่อนลอยไม่สับสนวุ่นวาย ถ้าจิตไม่ปรุงแต่งแล้ว ก็จะหมดปัญหาไป วิธีรักษาใจที่จะไม่ให้ปรุงแต่งก็คือ อยู่กับอารมณ์ที่ดีงามอยู่กับใจยึดถือ อย่างที่อาตมาได้กล่าวมา แม้แต่เอาคำสอนของพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับเรื่องการเจ็บไข้ได้ป่วยมาภาวนาว่า

ถึงกายของเราจะป่วย แต่ใจไม่เจ็บไข้ด้วย ป่วยแต่กายใจไม่ป่วย ภาวนาแค่นี้ จิตก็ไม่ฟุ้งซ่านไม่มีการปรุงแต่ง เมื่อไม่มีการปรุงแต่ง จิตก็ไม่ติดขัดไม่ถูกบีบ จิตไม่ถูกบีบคั้นก็ไม่มีความทุกข์ จะมีความปลอดโปร่งผ่องใสไม่ถูกครอบงำด้วยทุกขเวทนาที่เกิดขึ้น

นอกจากว่า จะผูกไว้กับสิ่งที่ดีงามหรือคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างที่กล่าวมาแล้ว ก็คือการที่ว่าให้จิตนั้นไม่มีกังวลกับสิ่งต่างๆ ไม่ปล่อยใจให้ล่องลอยไปกับความคิดนึกทั้งหลาย หรือความห่วงกังวลในภายนอก รักษาใจให้อยู่ภายใน ถ้าไม่รักษาใจไว้กับคำสอนของพระพุทธเจ้า หรือคำภาวนาอย่างที่ว่าเมื่อสักครู่ ก็อาจจะเอาคำภาวนาอื่นๆ มาว่า เช่น เอาคำว่า พุทโธ มา คำว่า พุทโธ นี้ เป็นคำดีงามเป็นพระนามหรือชื่อของพระพุทธเจ้า เมื่อเอามาเป็นอารมณ์สำหรับให้จิตใจยึดเหนี่ยวแล้ว จิตใจก็จะได้ไม่ฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป แล้วจิตใจนี้ก็จะเป็นจิตใจที่ดีงามผ่องใส เพราะว่าพระนามของพระพุทธเจ้านั้น เป็นพระนามของผู้บริสุทธิ์ เป็นพระนามที่แสดงถึงปัญญา ความรู้ ความเข้าใจ ความตื่น และความเบิกบาน คำว่า พุทโธ นั้น แปลว่า รู้ ตื่น เบิกบาน พระพุทธเจ้านั้นทรงรู้ความจริงของสิ่งทั้งหลาย รู้สังขาร รู้โลก และชีวิตนี้ ตามความเป็นจริง มีปัญญาที่แก้ทุกข์ให้กับคนทั้งหลาย

เมื่อรู้แล้วพระองค์ก็ตื่น ตื่นจากความหลับ ความลุ่มหลงมัวเมา ก็มีแต่ความเบิกบาน เมื่อเบิกบานก็มีความสุขจิตใจปลอดโปร่งในความสุข จึงเป็นแบบอย่างให้แก่เราทั้งหลาย ว่าเราทั้งหลายจะต้องมีความรู้ เข้าใจสังขารตามความเป็นจริง จะต้องมีความตื่น ไม่หลงไหลในสิ่งต่างๆ ไม่ยึดติดถือมั่นในสิ่งทั้งหลาย แล้วก็มีความเบิกบานใจปลอดโปร่งใจ เอาอันนี้ไว้เป็นคติเตือนใจ แล้วต่อจากนั้น ก็ภาวนาคำว่า พุทโธ ว่า พุทโธ แล้วก็ว่าโธ ถ้ากำหนดลมหายใจได้ก็สามารถทำให้จิตอยู่กับลมหายใจ ทำสมาธิ จิตก็ไม่ฟุ้งซ่าน จิตก็อยู่เป็นหลัก เมื่อจิตอยู่เป็นหลักมีความสงบมั่นคงไม่ฟุ้งซ่านปรุงแต่งจิตก็อยู่เป็นหลัก

เมื่อจิตอยู่เป็นหลักมีความสงบมั่นคง แน่วแน่ ก็ไม่เป็นที่เศร้าหมองแต่จะมีความเบิกบาน จะมีความผ่องใส ก็มีความสุขแล้วอย่างนี้ ก็จะถือได้ว่า เป็นการปฏิบัติตามหลักที่ว่าจิตใจไม่ป่วย นี้ก็เป็นวิธีการต่างๆ ในการที่จะรักษาจิตใจ

ที่ได้กล่าวมานี้ก็เป็นตัวอย่างเรื่องหนึ่งในการที่จะรักษาจิตด้วยสติ โดยเอาสติเป็นเชือกผูกจิตไว้กับอารมณ์ เช่น คำว่า พุทโธ เป็นต้น จิตใจจะได้มีหลักไม่ฟุ้งซ่านเลื่อนลอย มีความสงบเบิกบานผ่องใส ดังที่กล่าวมาถึงกายจะป่วยแต่ใจไม่ป่วย











ขอขอบคุณที่มา : http://www.jarun.org/v6/th/lrule12p0904.html
                          ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต





 













 












หน้าแรก | เกี่ยวกับแผนงาน | เครือข่ายและกิจกรรม | ผลผลิตและรายงาน | ข้อมูลสถิติ | การจัดการความรู้ | หน่วยงาน | ติดต่อแผนงาน | เจ้าหน้าที่ดูแลระบบ
แนะนำแผนงาน | ข่าวกิจกรรม | เกาะติดกิจกรรมเด่น | หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | ผลผลิตและรายงาน| รายงานสุขภาพ| ก้าวใหม่กับ HISO | สถานการณ์สุขภาพประเทศไทย
การวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพ | สถานการณ์ข่าวสุขภาพ | เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สื่อข้อมูลสุขภาพ | แบบสำรวจสุขภาพ | webbord | คำถามที่พบบ่อย | สมุดเยี่ยมชม | บริการข้อมูล