โลกวันนี้ [ วันพุธ ที่ 07 เดือนตุลาคม 2553 ]
ฉายแสงเซลล์หา"มะเร็งปอด"


นักวิจัยมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์นร่วมกับมหาวิทยาลัยนิวยอร์กของสหรัฐพัฒนาเทคนิคใหม่ช่วยตรวจพบมะเร็งปอดระยะเริ่มแรก คาดจะเป็นประโยชน์ช่วยชีวิตผู้คนจำนวนมาก

ทีมนักวิจัยของมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์นร่วมกับมหาวิทยาลัยนิวยอร์กของสหรัฐ โดยการสนับสนุนของมูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ พัฒนาเทคนิคใหม่เพื่อตรวจหาร่องรอยของมะเร็งปอด ซึ่งเป็นการฉายแสงไปบนตัวอย่างเซลล์ที่นำมาจากภายในกระพุ้งแก้มของผู้ป่วย


เทคนิคใหม่ดังกล่าวเรียกว่า partial wave spectroscopic (PWS) microscopy ช่วยให้สามารถแยกแยะผู้ป่วยมะเร็งปอดออกจากกลุ่มที่ไม่ป่วยได้อย่างถูกต้อง แม้แต่แยกจากกลุ่มผู้มีประวัติสูบบุหรี่ แต่ไม่เป็นมะเร็ง หรือผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

ทั้งนี้ การพัฒนาเทคนิคใหม่เป็นการต่อยอดจากฐานความรู้ที่ว่า ผู้ป่วยมะเร็งปอดมักมีร่องรอยของโครมาติน ซึ่งเป็นส่วนของโปรตีน ผสมสารพันธุกรรมกระจายอยู่ในเซลล์แก้มทำให้พื้นผิวขรุขระ โดยนักวิจัยสามารถค้นหาเซลล์เหล่านั้นได้ด้วยหลักการกระเจิงของแสงที่สะท้อนกลับออกมาจากเซลล์เหล่านั้น แตกต่างจากเซลล์ปรกติที่มีพื้นผิวเซลล์เรียบกว่า การทดลองวิเคราะห์เซลล์ด้วยเทคนิคกระเจิงแสงหลายครั้งประสบความสำเร็จ

นักวิจัยเปิดเผยว่า เทคนิคเดียวกันนี้อาจใช้เป็นพื้นฐานสำหรับตรวจหามะเร็งชนิดอื่นๆได้อีก เพราะมีหลายครั้งช่วยให้พบมะเร็งลำไส้และมะเร็งตับอ่อนระยะแรก




 










 


หน้าแรก | เกี่ยวกับแผนงาน | เครือข่ายและกิจกรรม | ผลผลิตและรายงาน | ข้อมูลสถิติ | การจัดการความรู้ | หน่วยงาน | ติดต่อแผนงาน | เจ้าหน้าที่ดูแลระบบ
แนะนำแผนงาน | ข่าวกิจกรรม | เกาะติดกิจกรรมเด่น | หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | ผลผลิตและรายงาน| รายงานสุขภาพ| ก้าวใหม่กับ HISO | สถานการณ์สุขภาพประเทศไทย
การวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพ | สถานการณ์ข่าวสุขภาพ | เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สื่อข้อมูลสุขภาพ | แบบสำรวจสุขภาพ | webbord | คำถามที่พบบ่อย | สมุดเยี่ยมชม | บริการข้อมูล