หนังสือพิมพ์บ้านเมือง [ วันจันทร์ ที่ 18 เดือนตุลาคม 2553 ]
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคหัวใจขาดเลือด


1.หลอดเลือดแดงที่นำโลหิตไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจทั้งหมดมีกี่เส้น? มี 2 เส้น ขวา (RCA) และซ้าย (LCA) แต่ละเส้นแยกแขนงใหญ่ๆ เส้นละ 2 แขนงเท่ากับขวา 2 แขนง (RPD, RPL) และซ้าย 2 แขนง (LAD, LCX) แต่ละแขนงยังแยกแขนงย่อยๆ ต่อไปอีกหลายแขนงย่อยๆ คล้ายรากต้นไม้ซึ่งมีรากแก้ว และรากฝอย

2.ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดแดงเลี้ยงหัวใจ ที่พบบ่อยในหลายโรค เช่น เบาหวาน และพบมากขึ้นเรื่อยๆ ในคนไทย โดยมีหลอดเลือดแข็งและตีบแคบ บางครั้งตีบตัน จะมีวิธีเพิ่มเลือดไปหัวใจอย่างไร?


การผ่าตัดหรือการทำบอลลูนและใส่ขดลวด มักทำกันที่เส้นหัวใจหลักหรือแขนงหลัก หากเกิดที่หลอดเลือดขนาดเล็กหรือฝอย ก็จะทำวิธีนี้ไม่ได้หรืออาจไม่ได้ผลดี

3.หลอดเลือดตีบคืออะไร? คือการตีบแคบของช่องโพรงในหลอดเลือดแดงเกิดจากตะกรันหรือพลักท์ (plaque) ที่ผนังหลอดเลือดหนาตัวเลยทำให้โพรงหลอดเลือดเล็กลง

4.อาการกับความรุนแรงการตีบสัมพันธ์กันอย่างไร?

ผู้ป่วยที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบมักไม่มีอาการ แต่เมื่อตีบตันเกินกว่าร้อยละ 70 จะเริ่มเกิดอาการเจ็บหน้าอกบีบๆ ขณะออกแรง พักผ่อนสักครู่ก็จะหายเอง แต่ถ้าตีบมากขึ้นอาจจะเจ็บหน้าอกแม้อยู่เฉยๆ แต่มีหัวใจเต้นเร็วหรือความดันเลือดสูงหรือความดันเลือดแกว่งได้

ข้อมูลจาก รศ.นพ.ดำรัส ตรีสุโกศล อายุรแพทย์โรคหัวใจ ประจำภาควิชาอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลศิริราช และที่ปรึกษาศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลพญาไท 2

น.พ.สุรพงศ์ อำพันวงษ์




 










 


หน้าแรก | เกี่ยวกับแผนงาน | เครือข่ายและกิจกรรม | ผลผลิตและรายงาน | ข้อมูลสถิติ | การจัดการความรู้ | หน่วยงาน | ติดต่อแผนงาน | เจ้าหน้าที่ดูแลระบบ
แนะนำแผนงาน | ข่าวกิจกรรม | เกาะติดกิจกรรมเด่น | หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | ผลผลิตและรายงาน| รายงานสุขภาพ| ก้าวใหม่กับ HISO | สถานการณ์สุขภาพประเทศไทย
การวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพ | สถานการณ์ข่าวสุขภาพ | เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สื่อข้อมูลสุขภาพ | แบบสำรวจสุขภาพ | webbord | คำถามที่พบบ่อย | สมุดเยี่ยมชม | บริการข้อมูล