หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก [ วันอังคาร ที่ 23 เดือนพฤจิกายน 2553 ]
ดันเด็กท้องไม่พร้อม วาระแห่งชาติ


กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) ร่วมกับภาครัฐและเอกชนจัดทำร่างยุทธศาสตร์เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนตั้งครรภ์โดยไม่พร้อม เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ และประกาศเป็นวาระแห่งชาติในการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีในวันที่ 25 พฤศจิกายนนี้ นางพนิตา กำภู ณ อยุธยา ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันปัญหาการตั้งครรภ์โดยไม่พร้อมในกลุ่มเด็กและเยาวชนทวีความรุนแรงและต้องเร่งแก้ไขให้เป็นรูปธรรม โดยประเทศไทยมีแม่วัยเยาว์อายุ 15-19 ปี มากเกินมาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนด โดยมากเป็นอันดับหนึ่งของเอเชีย และอันดับสองของโลก

เฉพาะปี 2553 พบแม่อายุต่ำกว่า 15 ปี เพิ่มขึ้นกว่า 2,000 คน ทำให้รวมเป็นกว่า 3,000 คนแล้ว ในจำนวนนี้มีแม่ที่อายุต่ำสุด คือ 9 ปี สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการถูกกระทำ ร่างยุทธศาสตร์ดังกล่าวประกอบด้วย 5 ด้าน คือ การป้องกัน, การช่วยเหลือและบำบัดฟื้นฟู, การเสริมสร้างบทบาทและองค์ความรู้แก่ผู้นำทางความคิดของเด็กและเยาวชน, การผลักดันนโยบาย และการสำรวจข้อมูล การพัฒนา และการติดตามผล โดยสำรวจและจัดทำฐานข้อมูลทุกปีงบประมาณ

การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นหรือท้องในวัยทีน คือตั้งครรภ์เมื่ออายุ 19 ปี หรืออ่อนกว่านี้ พบร้อยละ 10-30 ของการตั้งครรภ์ทั้งหมด นับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของทุกประเทศทั่วโลกใน 10 ปีมานี้ ท้องในวัยทีนในประเทศไทยมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นจากร้อยละ 10 ในปี พ.ศ.2536 เป็นกว่าร้อยละ 20 ในปัจจุบัน นอกจากนั้นอายุของแม่วัยทีนนับวันยิ่งน้อยลง ต่ำสุดพบเพียง 12 ปี ขณะที่ในประเทศสหรัฐอเมริกา แนวโน้มท้องในวัยทีนมีจำนวนลดลงตามลำดับ

วัยรุ่นที่สมัครใจมีเพศสัมพันธ์ พบเหตุผลใหญ่ๆ 2 ประการ คือ 1.มีเพศสัมพันธ์โดยไม่คุมกำเนิด บ้างไม่รู้ว่ามีเพศสัมพันธ์แล้วท้อง บ้างเชื่อโดยไม่มีเหตุผลว่าตนเองไม่ท้อง บ้างคุมกำเนิดไม่เป็น บ้างไม่สนใจคุมกำเนิด บ้างไม่สามารถเข้าถึงการบริการคุมกำเนิด บ้างกลัวการคุมกำเนิด ฯลฯ 2.มีความเชื่อที่ผิดๆ ในการคุมกำเนิดทั้งในวัยรุ่นหญิงชาย เช่น ไม่สวมถุงยางอนามัยเพราะกลัวถูกว่าสำส่อน รับประทานยาคุมกำเนิด ฉีดยาคุมกำเนิด ทำให้เป็นฝ้า มดลูกแห้ง ฯลฯ

ทั้งนี้การตั้งครรภ์วัยทีนอาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนช่วงตั้งครรภ์ คลอด หลังคลอดสูงกว่าคนทั่วไป เช่น แท้ง ทารกพิการ น้ำหนักน้อย ขาดอาหาร ทารกตายในครรภ์ คลอดยาก ตกเลือดหลังคลอด ฯลฯ มารดาต้องหยุดเรียน มารดาเครียด ซึมเศร้า วิตกกังวล การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ นำไปสู่ปัญหาการทำแท้งเถื่อน ทารกถูกทอดทิ้ง ทารกไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่ ทารกเติบโตมาเป็นปัญหาของสังคม ฯลฯ ส่งผลให้ท้องวัยทีนสร้างบาดแผลอันเจ็บปวดแห่งความทรงจำไม่รู้ลืม แก่ทั้งตัววัยทีนและผู้ปกครอง




 










 


หน้าแรก | เกี่ยวกับแผนงาน | เครือข่ายและกิจกรรม | ผลผลิตและรายงาน | ข้อมูลสถิติ | การจัดการความรู้ | หน่วยงาน | ติดต่อแผนงาน | เจ้าหน้าที่ดูแลระบบ
แนะนำแผนงาน | ข่าวกิจกรรม | เกาะติดกิจกรรมเด่น | หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | ผลผลิตและรายงาน| รายงานสุขภาพ| ก้าวใหม่กับ HISO | สถานการณ์สุขภาพประเทศไทย
การวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพ | สถานการณ์ข่าวสุขภาพ | เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สื่อข้อมูลสุขภาพ | แบบสำรวจสุขภาพ | webbord | คำถามที่พบบ่อย | สมุดเยี่ยมชม | บริการข้อมูล