|
โลกวันนี้ [ วันศุกร์ ที่ 21 เดือนมกราคม 2554 ] |
|
ไขปริศนาทารกต้านเชื้อHIV |
รศ.พญ.จินตนาถ อนันต์วรณิชย์รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ ศูนย์ประสานความร่วมมือระหว่างไทย ออสเตรเลียและเนเธอร์แลนด์ เพื่อการวิจัยทางคลินิกด้านโรคเอดส์ ภายใต้ศูนย์วิจัยโรคเอดส์สภากาชาดไทย กรุงเทพมหานคร (ฮีฟแนท)ในฐานะหัวหน้าโครงการ เปิดเผยความคืบหน้าในงานวิจัยโครงการปริมาณเม็ดเลือดชนิดต่างๆ และอิมมูโนโกลบูลินในเด็กไทย :ค่าปรกติเพื่อใช้ในการแปลผลการเปลี่ยนแปลงของภูมิคุ้มกันในโรคทางภูมิคุ้มกัน ที่ค้นพบชนิดเซลล์เม็ดเลือดขาวที่อยู่เบื้องหลังทำให้เด็กบางคนจัดการกับเชื้อเอชไอวีได้แตกต่างจากเด็กคนอื่นๆ
โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนวิจัยจากสถาบันโรคภูมิแพ้และโรคติดเชื้อแห่งชาติของสหรัฐ และฝ่ายวิชาการ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และเป็นโครงการแรกที่ศึกษาเด็กในเอเชีย โดยนักวิจัยติดตามเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวีมากกว่า 200 คน เป็นเวลา 3 ปี ในพื้นที่ 7 แห่งของไทยได้แก่ กรุงเทพฯ นนทบุรี ขอนแก่น เชียงรายเชียงใหม่ จันทบุรี ชลบุรี รวมถึงใน 2 พื้นที่ของกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา พบว่ามีเด็ก 50 คนที่ติดเชื้อมาเป็นเวลานานแต่ยังมีสุขภาพและภูมิคุ้มกันดีแม้ไม่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสใดๆ
หลังตรวจเซลล์เม็ดเลือดขาวของเด็กเหล่านี้พบว่ามีรูปแบบเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีลักษณะพิเศษเมื่อเทียบกับเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวีแต่มีอาการจากโรค โดยเด็กติดเชื้อแต่สุขภาพดีมีจำนวนเม็ดเลือดขาวที่สามารถต่อสู้กับเชื้อเอชไอวีมากกว่า คือมีเม็ดเลือดขาวชนิดที่ทำลายเซลล์ที่ติดเชื้อเอชไอวี (cytotoxic T) เม็ดเลือดขาวชนิดที่ช่วยให้ภูมิคุ้มกันทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น (helper T, naTve T, memory T)และมีจำนวนเม็ดเลือดขาวที่ถูกกระตุ้นมากกว่า (activated helper T, cytotoxic T)ซึ่งเป็นไปได้ว่าการตรวจเลือดอาจช่วยแยกแยะความแตกต่างระหว่างเด็ก และช่วยให้แพทย์ตัดสินใจในการรักษาที่เหมาะสมได้
| |
|
|