สร้างเสริมสุขภาพใจผู้สูงวัยเป็นสุข







 

สถานการณ์ผู้สูงอายุในประเทศไทย

ในยุคปัจจุบันเทคโนโลยีต่างๆ ได้ถูกพัฒนาขึ้นอย่างไม่ยุดยั้งตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่มีการค้นพบสิ่งแปลกใหม่อย่างไม่หยุดนิ่ง โดยเฉพาะสาขาการแพทย์และสาธารณสุข ส่งผลให้ให้ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น ซึ่งจากรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2550 โดยมูลนิธิสถาบันวิจัยและการพัฒนาผู้สูงอายุไทย พบว่าจำนวนประชากรผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2503 มีจำนวนประชากรสูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) 1.5 ล้านคนหรือคิดเป็นร้อยละ 5.4 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็น 6.7 ล้านคนในปี 2548 และจะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าในปี 2568 เป็น 14 ล้านคน หรือคิดเป็น 10.3 และ 20 ของประชากรทั้งหมดตามลำดับ สถานการณ์นี้ทำให้ประเทศไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งหมายความว่าประเทศไทยมีผู้สูงอายุมากกว่าร้อยละ 10 ของ
ประชากรทั้งหมด (Shryock, 2004) หรือประชากรมีอายุมัธยฐานมากกว่า 30 ปี (ตารางที่ 1)

ตารางที่ 1 จำนวนประชากรรวม จำนวนประชากรสูงอายุ สัดส่วนของประชากรสูงอายุ และอายุมัธยฐานของ
ประชากร พ.ศ. 2503 -2568

พ.ศ. จำนวนประชากรรวม จำนวนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ร้อยละของประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป อายุมัธยฐาน
2503 26,257,916 1,506,000 5.4 18.4
2513 34,397,371 1,680,900 4.9 17.8
2523 44,824,540 2,912,000 6.3 19.9
2533 54,509,500 4,014,000 7.4 25.1
2543 62,236,000 5,867,000 9.4 30.1
2548 64,765,000 6,693,000 10.3 32.6
2550 65,711,000 7,038,000 10.7 33.0
2553 67,042,000 7,522,800 11.8 34.7
2563 70,821,000 11,888,000 16.8 38.2
2568 72,286,000 14,452,000 20.0 39.8
ที่มา : โครงการวิจัยการสำรวจและศึกษาภาวะสุขภาพองผู้สูงอายุ 4 ภาคของไทย สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ หน้า 94-96

ที่มา : ข้อมูลปี พ.ศ.2503-2533 สำมะโนประชากรของประเทศไทย พ.ศ.2503-2543. สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
         ข้อมูลปี พ.ศ.2543-2568 การคาดประมาณประชากรของประเทศไทย 2543-2568.
         สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ


อ้างอิงจาก : รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2550 มูลนิธิสถาบันวิจัยและการพัฒนาผู้สูงอายุไทย หน้า 3

ภาวะจิตใจ

ปัญหาจิตใจที่พบบ่อยในผู้สูงอายุได้แก่อาการซึมเศร้า ความวิตกกังวล และความรู้สึกสิ้นหวัง ซึ่งจากรายงานผลการวิจัยการสำรวจและศึกษาภาวะสุขภาพองผู้สูงอายุ 4 ภาคของไทย ปี 2548-2549 โดยสถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ พบว่า

- ภาวะสุขภาพจิตในผู้สูงอายุที่เป็นปัญหามากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ผู้สูงอายุมีภาวะอารมณ์ซึมเศร้ามากที่สุด (ร้อยละ 87) อ่อนเพลีย (ร้อยละ 22.6) และนอนตื่นขึ้นมาไม่สดชื่น(ร้อยละ 20.6) ตามลำดับ (ตารางที่ 2)

ตารางที่ 2 ร้อยละของภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุ
ภาวะสุขภาพจิต ร้อยละ
    1. อารมณ์ซึมเศร้า 87.0
    2. อ่อนเพลีย 22.6
    3. นอนตื่นขึ้นมาไม่สดชื่น 20.6
    4. น้ำหนักมีการเปลี่ยนแปลงมากกว่า 2 กิโลกรัม 14.0
    5. ขาดความสนใจในสิ่งที่เคยชอบ 9.5
    6. ไม่มีสมาธิในการทำงาน 9.1
    7. อาการกระวนกระวายใจ 8.6
    8. รู้สึกตนเองไม่มีคุณค่า 7.3
    9. คิดอยากตาย 2.6
ที่มา : โครงการวิจัยการสำรวจและศึกษาภาวะสุขภาพองผู้สูงอายุ 4 ภาคของไทย สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ หน้า 94-96



- เมื่อเปรียบเทียบในเขตที่อยู่อาศัย พบว่า ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่นอกชุมชนเมืองมีปัญหาภาวะสุขภาพจิตสูงกว่าผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมือง (ตารางที่ 3)

ตารางที่ 3 ร้อยละของภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุจำแนกตามเขตที่อยู่อาศัย

ภาวะสุขภาพจิต ในชุมชนเมือง นอกชุมชนเมือง
    1. อารมณ์ซึมเศร้า 2.2 13.6
    2. อ่อนเพลีย 19.0 25.1
    3. นอนตื่นขึ้นมาไม่สดชื่น 18.7 21.9
    4. น้ำหนักมีการเปลี่ยนแปลงมากกว่า 2 กิโลกรัม 13.0 14.8
    5. ขาดความสนใจในสิ่งที่เคยชอบ 8.1 10.4
    6. ไม่มีสมาธิในการทำงาน 6.7 10.9
    7. อาการกระวนกระวายใจ 7.2 9.7
    8. รู้สึกตนเองไม่มีคุณค่า 6.6 7.8
    9. คิดอยากตาย 2.5 2.6
ที่มา : โครงการวิจัยการสำรวจและศึกษาภาวะสุขภาพองผู้สูงอายุ 4 ภาคของไทย สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ หน้า 94-96



- เมื่อเปรียบเทียบปัญหาสุขภาพจิตในภาคต่างๆ พบว่า ภาคใต้ ผู้สูงอายุมีภาวะอารมณ์ซึมเศร้าสูงสุด (ร้อยละ 15.5) ผู้สูงอายุภาคเหนือมีภาวะรู้สึกตนเองไม่มีคุณค่ามากที่สุด (ร้อยละ 10.9) (ตารางที่ 4)

- ในขณะที่ผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครมีปัญหาภาวะสุขภาพจิต โดยเฉพาะภาวะคิดฆ่าตัวตายสูงถึงร้อยละ 5.2 รองลงมาคือ ผู้สูงอายุภาคเหนือ (ร้อยละ 4.1) ผู้สูงอายุในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีภาวะคิดฆ่าตัวตาย ต่ำที่สุด ร้อยละ 1.4 (ตารางที่ 4)

ตารางที่ 4 ร้อยละของภาวะสุขภาพจิตของผู้สูงอายุจำแนกตามภาค

ภาวะสุขภาพจิต กรุงเทพ กลาง ตะวันออกเฉียงเหนือ เหนือ ใต้
 1. อารมณ์ซึมเศร้า 14.0 12.6 10.3 3.8 15.5
 2. อ่อนเพลีย 40.4 18.1 19.7 26.6 24.8
 3. นอนตื่นขึ้นมาไม่สดชื่น 39.6 17.2 18.3 23.4 21.1
 4. น้ำหนักมีการเปลี่ยนแปลงมากกว่า
 2 กิโลกรัม
17.2 10.4 13.7 14.7 17.6
 5. ขาดความสนใจในสิ่งที่เคยชอบ 12.0 8.0 8.1 11.4 10.9
 6. ไม่มีสมาธิในการทำงาน 23.2 7.7 8.5 8.9 8.6
 7. อาการกระวนกระวายใจ 23.2 7.7 8.5 8.9 8.6
 8. รู้สึกตนเองไม่มีคุณค่า 10.6 6.8 7.2 11.2 10.2
 9. คิดอยากตาย 5.2 3.2 1.4 4.1 1.5
ที่มา : โครงการวิจัยการสำรวจและศึกษาภาวะสุขภาพองผู้สูงอายุ 4 ภาคของไทย สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ หน้า 94-96


สอดคล้องกับผลการสำรวจประชากรไทยผู้สูงอายุในประเทศไทย พ.ศ.2550โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติซึ่งพบว่า ความรู้สึกที่เกิดกับผู้สูงอายุเป็นประจำสูงสุดคือ รู้สึกเบื่ออาหารหรือความอยากอาหารลดลง (ร้อยละ 4.0) รองลงมาคือคิดมาก วิตกกังวลใจ (ร้อยละ 3.4) และหงุดหงิดรำคาญใจ (ร้อยละ2.9) ตามลำดับ ความรู้สึกต่างๆดังกล่าวจะเพิ่มมากขึ้นตามวัยที่สูงขึ้น ผู้สูงอายุหญิงมีสัดส่วนของความรู้สึกต่างๆ ที่กล่าวมาสูงกว่าผู้สูงอายุชาย เพราะเพศหญิงมีความอ่อนไหวทางอารมณ์มากกว่าเพศชาย (รูปที่ 1)

รูปที่ 1 ร้อยละของอาการ / ความรู้สึกของผู้สูงอายุในระหว่าง 1 เดือนก่อนวันสัมภาษณ์ พ.ศ. 2550



อ้างอิงจาก : รายงานการสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2550 สำนักงานสถิติแห่งชาติ หน้า 48


เติมกำลังใจ ผู้สูงวัยเป็นสุข

         วิธีการที่ผู้สูงอายุจะสร้างความสุขให้ตนเอง
         "ความสุขคืออะไร?" และ "ความสุขที่แท้จริงของตนเองคืออะไร?" เป็นคำถามที่ผู้สูงอายุต้องตอบให้ได้เสียก่อน และเมื่อตอบคำถามของตนเองได้แล้วว่า ความสุขที่แท้จริงในชีวิตของตนเองคืออะไร ก็เริ่มสร้างความสุขให้กับตนเอง โดยมีวิธีดังนี้ดังต่อไปนี้

1. ปรับตัวและเปิดใจยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั้งกับตนเอง ครอบครัว สังคม
2. ดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิต

     - หมั่นตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่จะได้รีบรักษาหากพบว่าเริ่มมีอาการเจ็บป่วย รวมทั้งช่วย
       ป้องกันภาวะเสี่ยงต่างๆ ด้วย
     - ออกกำลังกายสม่ำเสมอ อาจจะสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆ ละประมาณ 20-30 นาที
     - รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางทางโภชนาการครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เพียงพอและดื่มน้ำให้เหมาะสมกับ
       ความต้องการของร่างกาย
     - ดูแลระบบขับถ่ายของตนเองให้เป็นปกติ
     - นอนหลับให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง
     - ทำจิตใจให้เบิกบานอยู่เสมอ

3. การใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ด้วยการทำกิจกรรมต่างๆ ที่ชื่นชอบ
4. ดำรงชีวิตอยู่บนอยู่บนทางสายกลางพอเพียง เรียบง่าย ไม่ทำอะไรเกินตัวหรือเกินฐานะที่ตนเองมี และหมั่นหาความสุขจากสิ่งใกล้ตัว
5. สร้างเสียงหัวเราะ เพราะจะทำให้สารเอ็นโดรฟินซึ่งเป็นสารแห่งความสุขหลั่งออกมา และจะช่วยทำให้มีชีวิตที่ยืนยาว


วิธีการสร้างความสุขให้แก่ผู้สูงอายุ

บุคคลใกล้ชิด (บุตร หลาย ญาติพี่น้อง) และผู้ดูแลผู้สูงอายุเป็นบุคคลที่มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อผู้สูงอายุที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขในบั้นปลาย ซึ่งวิธีการสร้างความสุขมีดังต่อไปนี้

1. เอาใจใส่ดูแลผู้สูงอายุด้วยความรัก ต้องถามตนเองว่า "รักเขาหรือเปล่า" เพราะเมื่อเรารักใคร เราก็จะทำสิ่งต่างๆ ให้กับคนที่เรารักเป็นอย่างดี

2. สร้างอารมณ์ขันให้ผู้สูงอายุ เพราะจะช่วยลดความซึมเศร้าและความเหงา ก่อเกิดความรู้สึกที่ดีต่อกัน มีความรักความอบอุ่นเกิดขึ้นภายในครอบครัว


"ให้ความรัก พิทักษ์อนามัย ผู้สูงวัยอายุยืน"
"Add life to Years"
คำขวัญวันผู้สูงอายุแห่งชาติ 2552



เรียบเรียงโดย :  ชัญญาภรณ์ น้ำค้าง สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ
แหล่งที่มา :  - สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ. รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2550
   มูลนิธิสถาบันวิจัยและการพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส). หน้าที่ 2- 3 อ้างใน
   http://www.oppo.opp.go.th/info/satanakarn50.pdf

 - สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์. โครงการวิจัยการสำรวจและศึกษา
   ภาวะสุขภาพองผู้สูงอายุ 4 ภาคของไทย. หน้าที่ 92- 100 อ้างใน
    http://static.agingthai.org/files/content/4regions.pdf

 - สำนักงานสถิติแห่งชาติ. รายงานการสำรวจประชากรไทยผู้สูงอายุในประเทศ ไทย
   พ.ศ.2550. หน้าที่ 48 อ้างใน
    http://www.oppo.opp.go.th/info/report_surveyOlder50.pdf

 - www.stou.ac.th. การสร้างความสุขในผู้สูงอายุ. อ้างใน
   http://www.stou.ac.th/stoukc/elder/main1_9.html

 




 












หน้าแรก | เกี่ยวกับแผนงาน | เครือข่ายและกิจกรรม | ผลผลิตและรายงาน | ข้อมูลสถิติ | การจัดการความรู้ | หน่วยงาน | ติดต่อแผนงาน | เจ้าหน้าที่ดูแลระบบ
แนะนำแผนงาน | ข่าวกิจกรรม | เกาะติดกิจกรรมเด่น | หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | ผลผลิตและรายงาน| รายงานสุขภาพ| ก้าวใหม่กับ HISO | สถานการณ์สุขภาพประเทศไทย
การวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพ | สถานการณ์ข่าวสุขภาพ | เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สื่อข้อมูลสุขภาพ | แบบสำรวจสุขภาพ | webbord | คำถามที่พบบ่อย | สมุดเยี่ยมชม | บริการข้อมูล