โครงการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย ครั้งที่ 4
ร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 20 จังหวัดและกทม.
วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤษภาคม 2551 เวลา 13.00 - 16.30 น.  

ณ ห้องประชุมชัยนาทนเรนทร อาคาร 1 ชั้น 2
ตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี
ผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 80 คน





โครงการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 4 ในปี 2551 เป็นโครงการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยในระดับประเทศที่ดำเนินการโดย สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย(สสท.) สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)และเครือข่ายทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคซึ่งได้แก่ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ,คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ,คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ,วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุขจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 20 จังหวัด และกรุงเทพมหานคร โดยได้รับความสนับสนุนจากกระทรวงสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ข้อมูลจากการสำรวจจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนและกำหนดนโยบายสาธารณสุขของประเทศ

ที่ผ่านมาได้มีการสำรวจสุขภาพของประชาชนมาแล้วทั้งสิ้น 3 ครั้ง โดยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2534 ครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2539 และ ครั้งที่ 3 ในปี พ.ศ.2547 ซึ่งทำให้ทราบแนวโน้มปัญหาทางสุขภาพของประชาชนได้ระดับหนึ่ง ดังนั้นเพื่อที่จะทราบแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงสภาวะสุขภาพของประชาชนทั้งในภาพรวมและแยกตามพื้นที่เฉพาะเป็นระยะอย่างต่อเนื่องจึงมีการเตรียมการสำรวจสภาวะสุขภาพครั้งที่ 4ขึ้น โดยจะเริ่มสำรวจในช่วงปลายมิถุนายน 2551

ในการประชุมครั้งนี้ นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานในการเปิดประชุมและตอบข้อซักถามต่างๆ ซึ่งมีผู้ที่เข้าร่วมประชุมคือเครือข่ายภูมิภาคและส่วนกลาง ตัวแทนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และสื่อมวลชน

กลุ่มเป้าหมายในการดำเนินการสำรวจครั้งนี้ได้รับความร่วมมือและการช่วยเหลือจากสำนักงานสถิติแห่งชาติซึ่งเป็นผู้มีความชำนาญในเรื่องนี้ เลือกได้กลุ่มตัวอย่างทั้งชายและหญิงอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป จนถึงผู้สูงอายุ จำนวน 32,000 คน ในพื้นที่ 4 ภาค ภาคละ 5 จังหวัดและเขตกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะใช้เป็นตัวแทนประชากรทั่วประเทศ ในแต่ละภาคมีจังหวัดที่ถูกสุ่มเลือกได้แก่

โดยในการสำรวจจะประกอบด้วย การสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถาม , การตรวจร่างกาย ,การตรวจเฉพาะอย่าง เช่น สมรรถภาพปอด ในเฉพาะกลุ่มตัวอย่าง , การเก็บตัวอย่างเลือดและปัสสาวะที่แตกต่างในแต่ละกลุ่มอายุ เป็นต้น ซึ่งทางมหาวิทยาลัยภาคร่วมกับพื้นที่ที่จะลงไปสำรวจได้จัดเตรียมและอบรมพนักงานที่จะลงไปสำรวจครั้งนี้ ในการดำเนินงานภาคสนามของกลุ่มผู้สำรวจจะเริ่มตั้งแต่การมีบัญชีรายชื่อผู้ที่ได้รับการสุ่มและเข้าไปให้ทาง อาสาสมัครสาธารณสุข เจ้าหน้าที่สถานีอนามัย เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลชุมชน ช่วยหาบุคคลเป้าหมายในพื้นที่ตามบัญชี รวมทั้งชี้แจงการปฏิบัติตัวก่อนมารับการตรวจและนัดหมายให้มาตรวจตามวันนัดตามสถานที่นัดซึ่งจะเป็นสถานที่ในชุมชนที่ผู้ถูกสัมภาษณ์จะสามารถเดินทางมาได้สะดวก หลังจากที่ได้รับการสัมภาษณ์และได้รับการตรวจเรียบร้อยแล้ว ทางผู้ถูกสำรวจจะได้รับทราบผลการตรวจของตนเอง และได้รับกระเป๋าผ้าที่บรรจุชุดยาสามัญประจำบ้าน ในกรณีที่พบความผิดปกติก็จะได้รับคำแนะนำรวมทั้งการส่งต่อเพื่อให้ได้รับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป




ภาพประกอบการประชุม


ภาพ 1


ภาพ 2


ภาพ 3


ภาพ 4




เขียนโดย สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ












 












หน้าแรก | เกี่ยวกับแผนงาน | เครือข่ายและกิจกรรม | ผลผลิตและรายงาน | ข้อมูลสถิติ | การจัดการความรู้ | หน่วยงาน | ติดต่อแผนงาน | เจ้าหน้าที่ดูแลระบบ
แนะนำแผนงาน | ข่าวกิจกรรม | เกาะติดกิจกรรมเด่น | หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | ผลผลิตและรายงาน| รายงานสุขภาพ| ก้าวใหม่กับ HISO | สถานการณ์สุขภาพประเทศไทย
การวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพ | สถานการณ์ข่าวสุขภาพ | เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สื่อข้อมูลสุขภาพ | แบบสำรวจสุขภาพ | webbord | คำถามที่พบบ่อย | สมุดเยี่ยมชม | บริการข้อมูล