Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์มติชน [ วันที่ 08/06/2563 ]
กินปลาส้ม สุก ลดเสี่ยงพยาธิใบไม้ตับ

  ตามที่ศูนย์วิจัยโรคปรสิต สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุรนารี ได้เผยผลสำรวจพยาธิในประชากรไทยทั้งประเทศของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ.2557 พบว่าประชากรไทยมีการติดเชื้อปรสิตในระบบทางเดินอาหาร ร้อยละ 18.1 และติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ ร้อยละ 8.7 ซึ่งผลการ สำรวจในปี พ.ศ.2559 พบการติดเชื้อพยาธิใบไม้ในปลาที่นำมา ทำผลิตภัณฑ์ปลาร้าและปลาส้ม จำนวน 7 ตัวอย่าง จาก 73 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 9.58 ซึ่งเก็บตัวอย่างจาก 73 ตลาด ใน 20 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น
          นพ.พูลลาภ ฉันทวิจิตรวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า อย.มีความห่วงใยผู้บริโภคเป็น อย่างยิ่ง เนื่องจากปลาร้าและปลาส้ม เป็นผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ที่ผ่านกระบวนการหมักดอง การบริโภคแบบปรุงไม่สุก จึงเป็นการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย โดยเฉพาะพยาธิใบไม้ ซึ่งปัจจัย ที่มีผลต่อจำนวนพยาธิใบไม้ระยะติดต่อในเนื้อปลา ได้แก่ ความเข้มข้นของเกลือและระยะเวลาในการหมัก
          โดยหากมีความเข้มข้นของเกลือสูง และใช้เวลาในการหมักนาน จะช่วยลดจำนวนพยาธิใบไม้ระยะติดต่อ นอกจากนี้การแช่แข็ง ที่ -20 องศาเซลเซียส นาน 24 ชั่วโมง หรือ 48 ชั่วโมง หรือให้ความร้อนด้วยไมโครเวฟ (400 หรือ 800 วัตต์) หรือต้มที่ 90 องศาเซลเซียส นาน 5 นาที สามารถทำลายพยาธิใบไม้ระยะติดต่อได้
          รองเลขาธิการ อย.กล่าวว่า การบริโภคปลาร้าและปลาส้ม ให้ปลอดภัย กรณีที่ไม่ได้บรรจุขวด ควรดูลักษณะทางกายภาพว่า มีสิ่งเจือปนและกลิ่นผิดแปลกจากที่เคยรับประทานหรือไม่ โดยเลือกซื้อจากสถานที่จำหน่ายที่น่าเชื่อถือและคุ้นเคย ควรนำไป ต้มใหม่ และกรองเศษออกใส่ภาชนะที่สะอาด กรณีบรรจุขวดควรสังเกตสภาพภายนอกของบรรจุภัณฑ์ ต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่มีรอยบุบหรือฉีกขาด มีการเก็บรักษาในสภาพที่เหมาะสม และมีรายละเอียดบนฉลากอาหารให้ครบถ้วน
          ที่สำคัญจะต้องมีการแสดงเลขสารบบอาหารในกรอบเครื่องหมาย อย. เพื่อแสดงว่าได้รับอนุญาตจาก อย.

 pageview  1210928    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved