Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์มติชน [ วันที่ 14/08/2563 ]
แบคทีเรียกินเนื้อคน

 

          สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้ความรู้เกี่ยวกับ "โรคเนื้อเน่า" (Necrotizing fasciitis) หรือ แบคทีเรียกินเนื้อคน เนื่องจากพบมากในช่วงฤดูฝน และรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
          นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ให้ข้อมูลว่า โรคเนื้อเน่าเกิดจากการติดเชื้อซึ่งส่วนมากมักเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โดยอาจเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดใดชนิดหนึ่งเพียงชนิดเดียว (monomicrobial) หรืออาจเป็นจากการติดเชื้อแบคทีเรียหลายๆ ชนิดพร้อมกัน (polymicrobial) ก็ได้ ตัวอย่างของเชื้อที่พบได้ เช่น Group A Streptococcus (S. pyogenes), Anaerobic streptococci, Coagulase-negative Staphylococcus, Enterobacteriaceae, Vibrio subspecies ซึ่งเชื้อนี้จะเข้าสู่ผิวหนังผ่านทางบาดแผล หรือรอยแตกของผิวหนัง และเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะสามารถสร้างเอนไซม์มาย่อยสลายเนื้อเยื่อในร่างกายของผู้ที่ได้รับเชื้อเข้าไป ทำให้มีการกระจายของเชื้อไปได้อย่างรวดเร็วในชั้นใต้ผิวหนังภายในระยะสั้นๆ โรคนี้พบได้ในทุกเพศทุกวัย แต่คนที่มีโรคประจำตัวบางชนิดมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าคนอื่นๆ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ตับแข็ง โรคมะเร็ง ไตวาย รวมถึงคนที่มีภาวะกดภูมิจากการใช้สารสเตียรอยด์ คนที่ใช้สารเสพติดฉีดเข้าเส้น คนที่มีปัญหาของหลอดเลือดบริเวณขา คนอ้วน สูบบุหรี่ และคนที่ติดแอลกอฮอล์ เป็นต้น
          ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีประวัติไปดำนา ลุยโคลน และโดนหอย หรือเศษแก้วบาด เศษไม้ตำเท้า และไม่ได้ทำแผลหรือรักษา ทำให้เชื้อโรคเข้าไปในบาดแผล และเพิ่มจำนวนจนเกิดอาการรุนแรงได้
          พญ.มิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อแล้วในระยะเริ่มแรกจะเริ่มมีอาการบวม แดง ปวด กดเจ็บในตำแหน่งที่มีการติดเชื้อ ถ้าไม่ได้รับการรักษา ผิวหนังบริเวณดังกล่าวจะบวมแดง หรือเปลี่ยนเป็นสีม่วงคล้ำอย่างรวดเร็วภายใน 36 ชั่วโมง หลังการติดเชื้อ พบมีตุ่มน้ำพองที่ผิวหนัง มีการตายของชั้นใต้ผิวหนังและผิวหนังบริเวณดังกล่าว เมื่อเป็นมากขึ้นเชื้อจะทำลายเส้นประสาท ทำให้อาการปวดที่พบในตอนแรกหายไป กลายเป็นชาบริเวณผิวหนังส่วนที่ติดเชื้อตามมาแทน อาการอื่นๆ ที่พบร่วมด้วย เช่น ไข้ หนาวสั่น ปวดเมื่อยตามตัว คลื่นไส้ อาเจียน ถ้าเป็นมากอาจมีหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ กรณีไม่ได้รับการรักษา เชื้อจะแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด รวมถึงอาจทำให้ระบบต่างๆ ของร่างกายล้มเหลว ทำให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกตัวลดน้อยลง ช็อก และเสียชีวิต ดังนั้นต้องรีบรักษาอย่างรวดเร็ว
          ผู้ป่วยที่สงสัยโรคนี้ควรนอนรักษาในโรงพยาบาล โดยการรักษาหลักคือ การผ่าตัดให้ลึกจนถึงชั้นฟาสเชีย (ชั้นพังผืดที่ห่อหุ้มชั้นกล้ามเนื้อและอวัยวะภายในร่างกาย) และเอาเนื้อเยื่อบริเวณที่ตายออก ร่วมกับการให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือด ซึ่งมักต้องให้ร่วมกันหลายชนิดเพื่อให้ครอบคลุมเชื้อที่ก่อโรค ต้องให้สารอาหารอย่างเพียงพอในระหว่างการรักษา และต้องมีการติดตามอาการอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ถ้าเชื้อลุกลามมากอาจต้องมีการตัดอวัยวะที่ติดเชื้อทิ้ง เพื่อควบคุมไม่ให้การติดเชื้อลุกลามมากขึ้น
          การป้องกันคือ ระมัดระวังดูแลทำความสะอาดบาดแผลบริเวณผิวหนัง ไม่แกะเกาบริเวณผื่นหรือแผลที่มีอยู่เดิม รวมถึงควรหมั่นสังเกตตนเอง ถ้าพบว่ามีบาดแผล ที่มีอาการปวดบวมแดง หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ บริเวณแผล ควรรีบไปพบแพทย์

 

          สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้ความรู้เกี่ยวกับ "โรคเนื้อเน่า" (Necrotizing fasciitis) หรือ แบคทีเรียกินเนื้อคน เนื่องจากพบมากในช่วงฤดูฝน และรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
          นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ให้ข้อมูลว่า โรคเนื้อเน่าเกิดจากการติดเชื้อซึ่งส่วนมากมักเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย โดยอาจเป็นการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดใดชนิดหนึ่งเพียงชนิดเดียว (monomicrobial) หรืออาจเป็นจากการติดเชื้อแบคทีเรียหลายๆ ชนิดพร้อมกัน (polymicrobial) ก็ได้ ตัวอย่างของเชื้อที่พบได้ เช่น Group A Streptococcus (S. pyogenes), Anaerobic streptococci, Coagulase-negative Staphylococcus, Enterobacteriaceae, Vibrio subspecies ซึ่งเชื้อนี้จะเข้าสู่ผิวหนังผ่านทางบาดแผล หรือรอยแตกของผิวหนัง และเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะสามารถสร้างเอนไซม์มาย่อยสลายเนื้อเยื่อในร่างกายของผู้ที่ได้รับเชื้อเข้าไป ทำให้มีการกระจายของเชื้อไปได้อย่างรวดเร็วในชั้นใต้ผิวหนังภายในระยะสั้นๆ โรคนี้พบได้ในทุกเพศทุกวัย แต่คนที่มีโรคประจำตัวบางชนิดมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าคนอื่นๆ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหัวใจ ตับแข็ง โรคมะเร็ง ไตวาย รวมถึงคนที่มีภาวะกดภูมิจากการใช้สารสเตียรอยด์ คนที่ใช้สารเสพติดฉีดเข้าเส้น คนที่มีปัญหาของหลอดเลือดบริเวณขา คนอ้วน สูบบุหรี่ และคนที่ติดแอลกอฮอล์ เป็นต้น
          ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีประวัติไปดำนา ลุยโคลน และโดนหอย หรือเศษแก้วบาด เศษไม้ตำเท้า และไม่ได้ทำแผลหรือรักษา ทำให้เชื้อโรคเข้าไปในบาดแผล และเพิ่มจำนวนจนเกิดอาการรุนแรงได้
          พญ.มิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อแล้วในระยะเริ่มแรกจะเริ่มมีอาการบวม แดง ปวด กดเจ็บในตำแหน่งที่มีการติดเชื้อ ถ้าไม่ได้รับการรักษา ผิวหนังบริเวณดังกล่าวจะบวมแดง หรือเปลี่ยนเป็นสีม่วงคล้ำอย่างรวดเร็วภายใน 36 ชั่วโมง หลังการติดเชื้อ พบมีตุ่มน้ำพองที่ผิวหนัง มีการตายของชั้นใต้ผิวหนังและผิวหนังบริเวณดังกล่าว เมื่อเป็นมากขึ้นเชื้อจะทำลายเส้นประสาท ทำให้อาการปวดที่พบในตอนแรกหายไป กลายเป็นชาบริเวณผิวหนังส่วนที่ติดเชื้อตามมาแทน อาการอื่นๆ ที่พบร่วมด้วย เช่น ไข้ หนาวสั่น ปวดเมื่อยตามตัว คลื่นไส้ อาเจียน ถ้าเป็นมากอาจมีหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ กรณีไม่ได้รับการรักษา เชื้อจะแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด รวมถึงอาจทำให้ระบบต่างๆ ของร่างกายล้มเหลว ทำให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกตัวลดน้อยลง ช็อก และเสียชีวิต ดังนั้นต้องรีบรักษาอย่างรวดเร็ว
          ผู้ป่วยที่สงสัยโรคนี้ควรนอนรักษาในโรงพยาบาล โดยการรักษาหลักคือ การผ่าตัดให้ลึกจนถึงชั้นฟาสเชีย (ชั้นพังผืดที่ห่อหุ้มชั้นกล้ามเนื้อและอวัยวะภายในร่างกาย) และเอาเนื้อเยื่อบริเวณที่ตายออก ร่วมกับการให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือด ซึ่งมักต้องให้ร่วมกันหลายชนิดเพื่อให้ครอบคลุมเชื้อที่ก่อโรค ต้องให้สารอาหารอย่างเพียงพอในระหว่างการรักษา และต้องมีการติดตามอาการอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ถ้าเชื้อลุกลามมากอาจต้องมีการตัดอวัยวะที่ติดเชื้อทิ้ง เพื่อควบคุมไม่ให้การติดเชื้อลุกลามมากขึ้น
          การป้องกันคือ ระมัดระวังดูแลทำความสะอาดบาดแผลบริเวณผิวหนัง ไม่แกะเกาบริเวณผื่นหรือแผลที่มีอยู่เดิม รวมถึงควรหมั่นสังเกตตนเอง ถ้าพบว่ามีบาดแผล ที่มีอาการปวดบวมแดง หรือมีอาการผิดปกติอื่นๆ บริเวณแผล ควรรีบไปพบแพทย์

 

 pageview  1210917    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved