Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์ข่าวสด [ วันที่ 26/10/2563 ]
ชี้ทุกวัยป่วยโรคกระดูกพรุนได้ หมอแนะออกกำลังกาย-ลดพฤติกรรมเสี่ยง

 นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคกระดูกหักจากกระดูกพรุนเกิดได้ทุกช่วงวัย เด็กมักกระดูกหักจากเล่นซน ผู้ใหญ่มักเกิดจากอุบัติเหตุ ผู้สูงวัยมักเกิดกระดูกหักจากกระดูกพรุน มวลกระดูกที่เปราะบางแม้เพียงลื่นหกล้มก็หักได้ง่าย อาการกระดูกหักมักเห็นชัดเจนจะบวมปวด ไม่สามารถลงน้ำหนักหรือเคลื่อนไหวบริเวณที่หัก โดยเฉพาะกระดูกสะโพกหักได้ในผู้สูงอายุ สาเหตุหลักของกระดูกหัก นอกจากอุบัติเหตุจากการจราจรแล้ว ยังมีอุบัติเหตุจากการทำงาน การเล่นกีฬา อีกกลุ่มหนึ่งซึ่งพบมากขึ้นเรื่อยๆ คือ กระดูกหักในผู้สูงอายุซึ่งคุณภาพของกระดูกลดน้อยลงหากมีอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อยส่งผลให้เกิดกระดูกหักไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เช่น กระดูกสะโพก กระดูกสันหลัง อาการกระดูกหักมักเห็นชัดเจนจะบวมปวด ไม่สามารถลงน้ำหนักหรือเคลื่อนไหวได้บริเวณที่หัก ดังนั้น ควรตรวจวัดความหนาแน่นของมวลกระดูกทุกปี เพื่อป้องกันกระดูกทรุดตัว เสริมความแข็งแรงด้วยการออกกำลังกาย ทานอาหารที่มีส่วนประกอบของแคลเซียม ได้แก่ นม ถั่ว ปลา หรือสัตว์น้ำขนาดเล็ก และผักสีเขียวเข้ม เป็นต้น
          นพ.ศักรินทร์ วงศ์เลิศศิริ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักจะพิจารณาตามความเหมาะสมของผู้ป่วยและตำแหน่งการหักของกระดูกสะโพก โดยจะมี 2 วิธีคือ วิธีแรกการผ่าตัดใส่ข้อสะโพกข้อเทียม วิธีที่สองการผ่าตัดเพื่อยึดตรึงกระดูกไว้ภายใน โดยการผ่าตัดใส่โลหะพิเศษยึดกระดูกไว้ให้เข้าที่และเกิดการติดของกระดูกตามธรรมชาติ สำหรับแนวทางการ ดูแลผู้ป่วยสูงอายุกระดูกสะโพกหักไม่ได้จบแค่การผ่าตัด ยังต้องมีการประเมินและรักษาภาวะกระดูกพรุนอย่างต่อเนื่อง เป็นหัวใจสำคัญอีกส่วนหนึ่ง หรือเป็นการป้องกันภาวะ หลอดเลือดดำอุดตัน และยังรวมถึงการดูแลภาวะการมองเห็น ประสาทตา และการดูแลหลังการผ่าตัดด้วยการกายภาพ บำบัดเฉพาะสำหรับผู้สูงวัยด้วย แนวทางการป้องกัน ออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการ เกิดภาวะกระดูกพรุน

 pageview  1210911    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved