Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก [ วันที่ 27/03/2555 ]
คอลัมน์ ดูแลสุขภาพ: มะเร็งต่อมไธรอยด์

พญ.อยุทรินี สิงหโกวินท์
          โรงพยาบาลพญาไท 2

          มะเร็งต่อไธรอยด์มีประวัติธรรมชาติที่แตกต่างกันมีตึ้งแต่ชนิดที่รั้ยแรงที่สุดจนถึงร้ายแรงน้อยมาก โดยทั่วไปมะเร็งของต่อมไธรอยด์เป็นมะเร็งที่รวมกันแล้วไม่ร้ายแรง คือ โตช้า อาการเกิดช้าและอัตราการตายก็ต่ำ
          อุบัติการณ์
          พบมะเร็งต่อมไธรอยต์ได้ประมาณ10% ของก้อนที่ต่อไธรอยด์ พบได้ตั้งแต่อายุ 10 ปีขึ้นไป จนถึงอายุ 70-80 ปี ส่วนใหญ่พบในช่วงอายุ 40-60 ปี พบได้ทั้งเพศหญิงและเพศชาย หากพบในเพศชาย หรือพบในอายุน้อยมากหรือแก่มาก จะมีความรุนแรงของโรคมากกว่า
          อาการและอาการแสดง
          มะเร็งต่อมไธรอยด์ ในระยะแรกมักไม่มีอาการจะพบเพียงก้อนที่ต่อมไธรอยด์ซึ่งอยู่ทางด้านหน้าของลำคอ เคลื่อนขึ้นลงตามการกลืนเท่านั้น บางรายจะมีก้อนอยู่นานหลายปี ก่อนที่จะโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ในระยะลุกลามอาจพบก้อนบริเวณด้านหข้างลำคอ ด้วยซึ่งเกิดจากมะเร็วแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง นอกจานี้อาจพบมะเร็งแพร่กระจากไปที่กระดูทำให้กรูดหักหรือมีก้อนขึ้นตามกระดูกในที่ต่างๆ เช่น กะโหลกศีรษะ ไหปลาร้า กระดูซี่โครง กระดูเชิงกราน เป็นต้น อาจพบมีอาการเสียงแหบ หรือกลืนลำบาก
          แพทย์สามารถให้การวินิจฉัยเบื้องต้นว่าเป็นมะเร็วต่อไธรอยด์หรือไม่จากการตรวจร่างกาย และใช้เข็มฉีดยาขนาดเล็กเจาะดูดเอาเนื้อเยี่อของก้อนที่ต่อมไธรอยด์ไปตรวจชันสูตร
          ปัจจัยเสี่ยง
          สิ่งที่จะช่วยให้การวินิจฉัยโรคมะเร็งต่อมไธรอยด์นั้น ยังไม่มีอาการทางคลินิกที่เฉพาะเจาะจง แต่เชื่อว่ามีปัจจัยหลายๆ อย่างจะทำให้คิดถึงมะเร็ง ตั้งแต่ประวัติการตรวจร่างกายและการตรวจพิเศษบางอย่างดังนี้
          1.อายุ จากการายงานต่างๆ ทางการแพทย์มีความเห็นว่า อุบัติการณ์ของมะเร็งจะพบมากในส่องช่วงอายุ คือ ต่ำกว่า 20 ปี และสุงกว่า 60 ปี ในเพศหญิงจะพบมากขึ้นถ้าอายุมาก แต่เพศชายไม่สัมพันธ์กับอายุ
          2. เพศ โดยปกติพบในเพศหญิงมากกว่าชาย ในอัตราส่วน 2.45 : 1 ถ้าเป็นโรคอื่นๆ ของต่อมไธรอยด์จะพบในเพศหญิงต่อเพศชายในอัตรส่วถึง 20 : 1 ดังนั้นในเพศชาย ถ้าพบก้อนของต่อมไธรอยด์จะมีโอกาสเป็นมะเร็งค่อนข้าสุง โดยไม่มีความสัมพันธ์กับอายุแต่อย่างใด
          3.ขนาด เชื่อว่ามีความสำคัญ ก้อนโตมีโอกาสที่จะเป็นมะเร็งมากกว่าก้อนเล็ก แต่ส่งที่สำคัญที่สุดก็คือ การที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วภายในเวลาสั้นๆ
          4. ประวัติในครอบครัว มะเร็งชนิดนี้มักมีประวัติเป็น Medullary ในครอบครัว
          5. ลักษณะของก้อน มักจะมีลักษณะแข็ง ขอบไม่เรียบ ผิวขรุขระ ติดแน่นกับอวัยวะใกล้เคียงและผิวหนัง
          6. อาการแสดงอื่นๆ เช่น เจ็บปวด ต่อน้ำเหลืองที่คอโต เสียงแหบ กรดทางเดินหายใจ กลืนลำบาก
          7. ประวัติการได้รับรังสี มีรายงานทางการแพทย์หลายรายงาน และเป็นที่ยอมรับกันว่า ผู้ที่เคยได้รับรังสีบริเวณศีรษะและคอจะทำให้มีอุบัติการณ์ของมะเร็งของต่อมไธรอยด์
          การรักษา
          มะเร็งต่อไธรอยด์ จัดเป็นมะเร็งที่ได้ผลดีในการรักษา หากเป็นมะเร็งในระยะแรกสามารถใช้การผ่าตัดรักษาและตามด้วยการกินยาเพื่อควบคุมการเติบโตของมะเร็งตลอดชีวิตหากมะเร็งในระยะลุกลามมักจะต้องใช้การผ่าตัด ร่วมกับการกินสารกัมมันตรังสี ไอโอดีน 131 และตามด้วยการกินยาเพื่อควบคุมการเติบโตของมะเร็งตลอดชีวิต
          ผลการรักษาและการพยากรณ์โรค
          มะเร็งต่อมไธรอยด์จัดเป็นมะเร็งที่มีการพยากรณ์โรคีมากที่สุดอันดับหนึ่งในมะเร็งทั้งหลาย ในผู้ป่วยที่เป็นไม่มากและได้รับการรักษาที่ถูกต้อง สามารถมีชีวิตอยู่โดยปราศจากโรคอีก 10-20 ปี สูงถึง 80-90%

 pageview  1210898    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved