Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ [ วันที่ 28/11/2562 ]
เตือนพ่อ-แม่อย่าชะล่าใจ

 เฝ้าระวังตัวร้ายแฝงตัวลมหนาว
          รอยต่อช่วงเปลี่ยนฤดูฝนเข้าสู่ฤดูหนาวเป็นช่วงที่คุณพ่อคุณแม่ต้องเฝ้าระวังสุขภาพของลูกน้อย เพราะเป็นสภาพอากาศที่เอื้อให้เกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่าย พญ.อุรารมย์ พันธะผล กุมารแพทย์ทารกแรกเกิดและปริกำเนิด ศูนย์สุขภาพเด็ก รพ.พญาไท 2 กล่าวว่า ช่วงปลายฝนต้นหนาวแบบนี้ อุณหภูมิเริ่มลดต่ำลงอาจทำให้ร่างกายของเด็กปรับตัวไม่ทัน จึงเจ็บป่วยได้ง่าย ยิ่งในเขตเมืองที่มีฝุ่นมาก ต้องระวังฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 เป็นพิเศษ ฝุ่นจิ๋วเป็นอันตรายกับเด็กเล็กมากกว่าผู้ใหญ่ เนื่องจากระบบทางเดินหายใจยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ เมื่อฝุ่นเข้าไปทำให้เยื่อบุต่าง ๆ ในทางเดินหายใจอักเสบระคายเคือง เกิดอาการไอ แสบจมูก แสบตา และเป็นไข้ ที่น่ากังวลมากคือ หาก PM 2.5 เข้าถึงสมองเด็กที่กำลังพัฒนา ฝุ่นขนาดเล็กนี้จะไปทำลายเฝ้าระวังตัวร้ายแฝงตัวลมหนาวเซลล์สมอง ส่งผลต่อพัฒนาการทางสติปัญญา และความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กได้
          เพื่อให้ลูกน้อยปลอดภัยจาก PM 2.5 คุณพ่อคุณแม่ควรติดตามสถานการณ์ฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 อยู่เรื่อย ๆ สามารถตรวจสอบได้ผ่านทางเว็บไซต์กรมอนามัย www.anamai.moph.go.th, แอพพลิเคชั่น Air4thai ของกรมควบคุมมลพิษ หรือแอพพลิเคชั่น AirVisual หากพบว่ามีปริมาณสูงเกินค่ามาตรฐาน ไม่ควรให้เด็กไปเล่นกลางแจ้ง ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด และควรเปิดเครื่องฟอกอากาศ หากจำเป็นต้องออกนอกบ้าน ควรให้เด็กใส่หมั่นสังเกตอาการของเด็ก หากมีอาการไอจามผิดปกติ น้ำมูกไหล แน่นหน้าอก หายใจหมั่นสังเกตอาการของเด็ก หากมีอาการไอจามผิดปกติ น้ำมูกไหล แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หรือหายใจเร็ว ให้รีบไปพบแพทย์
          พญ.อุรารมย์ กล่าวต่อว่า นอกจากปัญหาฝุ่นละออง ไวรัสก็เป็นอีกหนึ่งตัวร้ายในช่วงหน้าหนาว เพราะเชื้อไวรัสสามารถแพร่กระจาย และมีชีวิตอยู่ในอากาศเย็นยาวนานกว่าช่วงอากาศร้อน ลูกน้อยจึงเสี่ยงได้รับเชื้อไวรัสมากกว่าฤดูอื่น ซึ่งโรคที่พบบ่อยในเด็ก ได้แก่ โรคไข้หวัดใหญ่ เป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจเกิดจากเชื้อไวรัสอินฟลูเอนซา ซึ่งมีหลายสายพันธุ์และจะเกิดการกลายพันธุ์อยู่เรื่อย ๆ จึงมักได้ยินการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่กันทุกปี
          นอกจากนี้ช่วงหน้าหนาวมักพบการระบาดของโรคท้องร่วงในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ที่มีสาเหตุจากโรต้าไวรัส ซึ่งก่อให้เกิดโรคท้องร่วงรุนแรง เด็กที่ได้รับเชื้อเริ่มมีไข้ และอาการหวัดนำมา อาเจียนใน 2-3 วันแรกก่อนถ่ายเหลวเป็นน้ำ แม้ปัจจุบันยังไม่มียาต้านโรต้าไวรัสโดยเฉพาะ แต่ผู้ป่วยสามารถหายได้เองใน 3-7 วัน เพียงดูแลรักษาตามอาการ ให้กินอาหารอ่อน ดื่มน้ำเกลือแร่เพื่อทดแทนน้ำและเกลือแร่ที่สูญเสียไป แต่กรณีที่มีอาการรุนแรงเกิดภาวะขาดน้ำ และเกลือแร่ บางรายอาจเกิดภาวะช็อก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเด็กเล็ก หรือเด็กที่มีโรคประจำตัว ควรรีบพบแพทย์
          "เด็ก ๆ มักได้รับเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคเหล่านี้จากสารคัดหลั่งตามสถานที่ที่มีเด็กรวมกันอยู่เยอะ หากลูกป่วย ควรพิจารณาให้หยุดเรียนเพื่อไม่ให้นำเชื้อไปติดเด็กคนอื่น ๆ บางครั้งเชื้ออาจติดอยู่กับของเล่น คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นล้างมือให้เด็กก่อนกินอาหารทุกครั้ง เตรียมอาหารปรุงสุก รวมทั้งคอยดูแลความสะอาดของใช้และของเล่น อีกหนึ่งวิธีป้องกันคือ ให้ลูกได้รับวัคซีนป้องกันโรคท้องร่วงจากไวรัสโรต้า และไข้หวัดใหญ่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรคไข้หวัดใหญ่ที่เชื้อไวรัสจะมีการกลายพันธุ์ใหม่ทุกปี เพื่อเป็นการช่วยป้องกันลูกน้อยอีกทางหนึ่ง" พญ.อุรารมย์ กล่าว.

 pageview  1210959    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved