Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์แนวหน้า [ วันที่ 29/11/2562 ]
โฟลิกแอซิด วิตามินวิเศษ กับสิทธิที่ผู้หญิงไทยควรได้รับ ลดปัญหาความพิการแต่กำเนิด

 "ความพิการแต่กำเนิด" เป็น สภาวะที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน โดย ส่วนหนึ่งมักเกิดจากพันธุกรรม ซึ่งเป็น พันธุกรรมของบรรพบุรุษที่อาจจะไม่ใช่พ่อแม่โดยตรงเสมอไป ปัจจุบัน "ปัญหาความพิการแต่กำเนิด" ทวีความ รุนแรงมากขึ้นและส่งผลกระทบ ในวงกว้าง ในแต่ละปีมีเด็กพิการรุนแรง แต่แรกเกิด ถึงร้อยละ 4 อาทิ โรคหัวใจพิการ ผนังกั้นหัวใจรั่ว ปากแหว่ง เพดานโหว่ ผนังหน้าท้องไม่ปิด มือเท้าพิการ และอวัยวะภายในพิการ ซึ่ง แน่นอนว่าส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของ เด็กและครอบครัว ดังนั้น "โฟลิกแอซิด" นับว่าเป็นวิตามินวิเศษ ที่ช่วยป้องกันทารกพิการแรกเกิดได้ถึง 50%
          จากสถิติพบว่า จำนวนเด็กไทยที่มีความพิการแต่กำเนิดมีมากถึงปีละ 30,000 ราย จากจำนวนเด็กแรกเกิดปีละ 800,000 ราย และมีค่าใช้จ่ายทางสุขภาพจากการรักษา 5 โรคพิการแต่กำเนิดสูงถึงปีละ 1 พันล้านบาท ทำให้การป้องกันไม่ให้เกิดความพิการแต่กำเนิดในเด็กจึงเป็นเรื่องที่สังคมไทยต้องตระหนักรู้ และให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้หญิงซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในฐานะ "แม่ผู้ให้กำเนิด"
          เมื่อเร็วๆ นี้ กระทรวงสาธารณสุข สมาคมเพื่อเด็กพิการแต่กำเนิด (ประเทศไทย) และ ชมรมเวชพันธุศาสตร์กุมารแห่งประเทศไทย ได้จัดการประชุมวิชาการประจำปี 2562 ครั้งที่ 10 "National Forum on Birth Defects and Disabilities" ณ ห้องคริสตัล บอลรูม โรงแรมตวันนา เพื่อกระตุ้นบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง อาทิ กุมารแพทย์, สูติแพทย์, แพทย์สาขาทารกแรกเกิด, แพทย์สาขาเวชพันธุศาสตร์, พยาบาล และบุคลากรกระทรวงสาธารณสุข ให้มีความสนใจและตระหนักถึงบทบาทที่เกี่ยวกับการป้องกันดูแลรักษาทารกที่มีความพิการแต่กำเนิด รวมทั้งเพื่อเป็นการขับเคลื่อนไปสู่นโยบายการป้องกันดูแลรักษาความพิการแต่กำเนิดระดับชาติต่อไป
          นางฉัตรสุดา จันทร์ดียิ่ง กรรมการ สิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้ร่วมอภิปราย ในหัวข้อ "การป้องกันความพิการแต่กำเนิด" เน้นย้ำถึงการได้รับวิตามินโฟลิก ซึ่งเป็นสิทธิที่ผู้หญิงไทยควรได้รับ เพื่อลดปัญหาความพิการแต่กำเนิด โดยกล่าวว่า โรคพิการแต่กำเนิดของทารก ที่พบมากที่สุด คือ โรคหลอดประสาท ไม่ปิด หรือสมองไม่สมบูรณ์, โรคปากแหว่ง เพดานโหว่, โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด, แขนขาพิการ ซึ่งเกิดจากความผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ใน 3 เดือนแรก ซึ่ง ทารกจะแสดงอาการตั้งแต่อยู่ในครรภ์, ภาวะไม่มีรูทวารหนัก และกลุ่มอาการดาวน์ หรือ "ดาวน์ซินโดรม"
          ทั้งนี้ สาเหตุของความพิการแต่ กำเนิดมีหลายประการ เช่น ความผิดปกติ ของโครโมโซมส่วนใหญ่จะเกิดความ ผิดพลาดขึ้นตอนที่มีการปฏิสนธิ หรือการแบ่งตัวของอสุจิ การขาดสารอาหาร บางตัวโดยเฉพาะ การไม่ได้รับวิตามิน โฟลิก หรือการรับยาบางตัวระหว่างตั้งครรภ์ และสุดท้ายคือการปฏิบัติตนอย่างไม่ถูกต้องของมารดาก็จะทำให้การเจริญเติบโตของเด็กผิดปกติ
          "ถึงแม้ว่าความพิการแต่กำเนิด อาจทำให้เด็กมีภาวะตั้งแต่พิการและรุนแรงสุดถึงขั้นเสียชีวิต แต่เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นหรือมีโอกาสเกิดขึ้นน้อยลงได้ คือการดูแลตนเองอย่างถูกต้องด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และให้สารอาหารที่ครบถ้วนเหมาะสมแก่ทารกในครรภ์ รวมถึงการให้วัคซีนแก่มารดาที่กำลังตั้งครรภ์และการลดภาวะปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ เช่น งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และควรรับประทานอาหารที่มีโฟเลต เช่น ไข่แดง ตับ ฯลฯ ที่สำคัญการรับประทานวิตามินโฟลิกวันละ 1 เม็ด ก่อนตั้งครรภ์ 3 เดือน ไปจนถึงหลังตั้งครรภ์ 3 เดือนตามที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ ก็จะสามารถป้องกันโรคพิการแต่กำเนิดของทารกได้ อีกทั้ง ช่วยลดการคลอดก่อนกำหนดและทารก ที่คลอดออกมามีน้ำหนักน้อยด้วย โดย วิตามินโฟลิกจะไม่มีผลเสียและไม่ตกค้าง ในร่างกาย เพราะเป็นวิตามินละลายในน้ำได้ และในแต่ละวันร่างกายจะขับออกทางปัสสาวะ และหาซื้อได้ง่ายตามร้านขายยาทั่วไปในราคาเม็ดละไม่ถึง 1 บาท หรือสามารถติดต่อขอรับได้ที่หน่วยงานของกระทรวงสาธารณสุขใกล้บ้าน หรือเมื่อพบแพทย์ในโรงพยาบาล"

          นางฉัตรสุดา กล่าวต่อไปว่า การลดความพิการแต่กำเนิดในเด็กจะประสบผลสำเร็จในเชิงรูปธรรมได้นั้น สังคมไทยควรตระหนักถึงความสำคัญของปัญหานี้ร่วมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งทุกหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นรัฐหรือเอกชน สถาบันวิจัยและสถาบันการศึกษาต่างๆ รวมถึงภาคประชาสังคมควรส่งต่อความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องให้แก่ผู้หญิงไทยในการเข้าถึง ก็จะช่วยให้ปัญหาความพิการแต่กำเนิดของเด็กไทยลดน้อยลงได้อย่างยั่งยืน
          "ลูกไม่พิการแต่กำเนิด จึงเป็นสิทธิของหญิงไทยที่ควรได้รับการรับรองและคุ้มครองให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม เพราะความพิการฯ นั้นไม่เพียงแต่จะทำให้เด็กทารกได้รับความทุกข์ทรมานทั้งทางร่างกายและจิตใจพ่อแม่ หรือคนในครอบครัวย่อม ประสบกับความทุกข์ใจอีกด้วย ยิ่งไปกว่านั้น ยังส่งผลกระทบต่อชุมชน สังคม และประเทศชาติที่จะขาดแคลนทรัพยากรบุคคล รวมถึงรัฐต้องแบกรับภาระทางค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาความพิการแต่กำเนิดให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมต่อไปได้อย่างสะดวก ดังนั้น การแก้ปัญหาดังกล่าวภายหลังจึงไม่ใช่วิธีการที่ถูกต้อง และ การป้องกันปัญหาอย่างชาญฉลาด จะต้อง ส่งเสริมให้สตรีตระหนักรู้และเข้าถึงสิทธิ ในการมีลูกไม่พิการแต่กำเนิดต่างหากจึงจะเป็นหนทางในการจัดการ และรับมือกับปัญหาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน"
          ดังนั้น เมื่อนำปัญหาความพิการแต่กำเนิดมาวิเคราะห์ผ่านมุมมองและหลักการสิทธิมนุษยชน นางฉัตรสุดา จันทร์ดียิ่ง กล่าวอีกว่า "ลูกไม่พิการแต่กำเนิด" เป็นสิทธิของหญิงไทยที่ควรได้รับการรับรองและคุ้มครองให้ ผู้หญิงไทยทุกคนสามารถเข้าถึงสิทธิ ดังกล่าว เนื่องจากการมีลูกไม่พิการแต่กำเนิดมีความเกี่ยวข้องกับหลักการสิทธิมนุษยชนในหลายประเด็นสำคัญ ทั้งที่บัญญัติไว้ในพันธกรณี และอนุสัญญาระหว่างประเทศฉบับต่างๆ โดยเฉพาะ "อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ" (Convention on the Elimination of All Forms of Discrimination Against Women : CEDAW) ซึ่งประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคี โดยอนุสัญญาฉบับนี้ ครอบคลุมประเด็นเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของผู้หญิง โดยในข้อ 11(ฉ) ได้บัญญัติว่า สิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองสุขภาพและความ ปลอดภัยในสภาพการทำงานต่างๆ รวมทั้ง การให้ความคุ้มครองในการทำหน้าที่ด้านการมีบุตรสืบพันธุ์

          และในข้อ 12.2 ได้บัญญัติว่า รัฐภาคีจะประกันให้สตรีได้รับบริการ ที่เหมาะสมเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ การ คลอดบุตรและระยะหลังคลอดบุตร โดยการให้บริการแบบให้เปล่าเมื่อจำเป็น รวมทั้งการให้โภชนาการที่เพียงพอ ระหว่างตั้งครรภ์และระยะการให้นม อีกทั้งกติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม (International Convernt on Economic, Social and Cultural Rights : ICESCR) ซึ่งประเทศไทยในฐานะรัฐภาคี แห่งกติการะหว่างประเทศฉบับนี้ มีหน้าที่ ที่จะต้องเคารพ ปกป้องและส่งเสริมให้ บุคคลสามารถเข้าถึงสิทธิดังกล่าวด้วย

 pageview  1210959    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved