Follow us      
  
  

กรุงเทพธุรกิจ [ วันที่ 06/10/2563 ]
รู้ทัน กัญชา ต้อง ปรึกษา ก่อนใช้แก้โรค

 เมื่อกระแสการใช้กัญชาเพื่อ รักษาโรคกำลังมาแรงในสังคมไทย  แต่หลายคนยังไม่รู้ถึงวิธีการใช้อย่าง เหมาะสมและมีความเข้าใจว่า กัญชาเป็น ยาครอบจักรวาล  "การสื่อสาร"จึงเป็นทางออกที่จะช่วยสร้างความเข้าใจของประชาชนที่ต้องการนำกัญชามารักษาโรค สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ กรมสุขภาพจิต และภาคีเครือข่าย จึงจัดเสวนา "การให้คำปรึกษาที่คลินิกกัญชา" หาแนวทางในการสื่อสารเพื่อทำความเข้าใจ ผ่านกลไกการให้ คำแนะนำของผู้ให้บริการ ณ อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
          ภาวิณี อ่อนมุข  แพทย์แผนไทยชำนาญการ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ ผสมผสาน เปิดเผยว่า มีผู้ใช้บริการปรึกษา ด้านกัญชาเฉลี่ยวันละ 200 คน เป็น วัยทำงานมาใช้บริการมากที่สุด ส่วนใหญ่ มีอาการนอนไม่หลับกว่าครึ่ง อย่างไรก็ตาม การใช้กัญชามียาที่ไม่ควรใช้ร่วมกับ กัญชาเลยคือกลุ่มยารักษาโรคหัวใจ หรือผู้ที่มีความดันโลหิตไม่สามารถ ควบคุมได้ หรือผู้ที่มีภาวะค่าตับหรือ ค่าไตที่สูง นอกจากนี้ทางการแพทย์ ยังรับรองแค่การบริโภค ไม่ได้ใช้หยด ไม่ใช้ทา หรือหยอดใด ๆ ทั้งสิ้น
          "นอกเหนือจากการกิน เราไม่รับรอง ที่สำคัญ ก่อนใช้ให้สืบค้นว่าวัตถุดิบ ที่ใช้มาจากไหน เพราะเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียง เป็นสิ่งที่เรากังวลที่สุด  เนื่องจากต้นกัญชาเป็นพืชที่ดูดซับ ทุกอย่าง ถ้าปลูกในพื้นที่มีสารเคมี ค่อนข้างเยอะ เช่น โลหะตกค้างในดิน ดังนั้นถ้าอยากใช้กัญชาเพื่อเป็นยา แนะนำต้องมีแพทย์หรือผู้ให้บริการ ด้านสาธารณสุขดูแลให้คำแนะนำ"
          กัญชาช่วยลดความอ้วน?
          อีกหนึ่งกระแสกัญชาในกลุ่มวัยรุ่น คือมีความเชื่อว่ากัญชาสามารถช่วยลดความอ้วนได้ ในเรื่องนี้ ภาวิณีชี้แจงว่า "กัญชามีฤทธิให้เจริญอาหาร จึงไม่ช่วยลดความอ้วน ตรงกันข้าม ผู้ใช้มีโอกาส จะเพิ่มความอ้วน มีวัยรุ่นที่มาขอรับ กัญชาเพราะอยากลองใช้และมักมีการกล่าวอ้างอาการเท็จ แต่ทางคลินิก มีกระบวนการคัดกรองอยู่แล้ว ดังนั้นโอกาสที่จะเข้าถึงเป็นเรื่องยาก"
          ภาวิณี ยอมรับว่า เรื่องกัญชา งานที่หนักกว่า การรักษา คือการสื่อสารให้ผู้รับบริการ เข้าใจ ถึงการใช้ที่เหมาะสม
          "เราต้องใช้เวลาให้คำปรึกษาเฉลี่ยถึงคนละ 10-15 นาทีเพื่ออธิบายเรื่องเหล่านี้ จริง ๆ แล้ว ผู้ป่วยหลายคนไม่จำเป็นต้องพึ่งพากัญชา เพราะมียาตัวอื่นก็สามารถใช้รักษาอาการได้ เช่น อาการนอนไม่หลับ มียาเทพจิตที่เป็นยาในบัญชียาแห่งชาติ แต่บางรายก็อยากใช้กัญชา เราก็พยายามให้คำแนะนำว่ากัญชาไม่ได้รักษาโรคให้หายขาด ต้องมีการรักษารูปแบบอื่นหรือใช้ยาอื่นร่วมด้วย"
          ด้าน สิริกุล จุลคีรี นักจิตวิทยาชำนาญการพิเศษ สำนักวิชาการสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า แม้จากการวิจัย บางโรคชัดเจนว่ากัญชา สามารถบรรเทาอาการเจ็บป่วยได้ แต่ก็ยังมีอีกหลายโรค ที่ยังไม่มีข้อสรุป ไม่มีผลวิจัยรองรับ ทำให้เกิดความเป็นห่วง หากผู้บริโภคจะหามาใช้เอง
          "ดังนั้น การเดินมาที่ โรงพยาบาล พบแพทย์ แล้วขอคำแนะนำ จึงน่าจะดีกว่า เพราะเราไม่แน่ใจว่าผลิตภัณฑ์ ที่ท่านหามา มีกระบวนการผลิตอย่างไร เราได้ข้อเท็จจริง จากการวิจัยว่ามีบางรายได้ไปหาซื้อผลิตภัณฑ์กัญชา ทางการแพทย์ใช้เองเยอะมาก บางคนญาติซื้อให้ หรือได้ข่าว โฆษณา แล้วต้องมาโรงพยาบาลด้วยความดันสูง หรือมีอาการหัวใจเต้นเร็ว
          ปัจจุบันการใช้กัญชา ทางการแพทย์ยังอยู่ภายใต้การวิจัย ดังนั้น การใช้ยังควรอยู่ ภายใต้การดูแลของแพทย์
          หรือผู้ให้บริการด้านสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด ปีที่แล้ว สสส. ให้ทุนสนับสนุนการวิจัยในเรื่องนี้ ซึ่งวัตถุประสงค์คือ อยากให้คนที่ป่วยเข้าถึงยาจริง ได้รับยาแล้ว ดีขึ้น แต่ต้องไม่ติด ซึ่งหากบางคนถ้าใช้กัญชาไปยาวนานแล้วไม่หาย หรือหายแต่ต้องพึ่งกัญชาตลอด ก็ไม่ควรใช้"
          กัญชากับสุขภาพจิต
          วิศิษย์ศักดิ์ ทวีวัฒนปรีชา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ หัวหน้าศูนย์ให้คำปรึกษาการใช้สารสกัดกัญชาทางการแพทย์ โรงพยาบาลศรีธัญญา กล่าวว่า ปกติมี ผู้ที่มาขอบริการรักษาเฉลี่ย 500-600 คน ต่อปี เป็นยอดผู้ป่วยจิตเวชที่ต้องการใช้กัญชาประมาณ 100 กว่าราย แต่เมื่อกระแสกัญชากำลังบูมขึ้น ทำให้ยอดผู้ที่มาขอใช้
          บริการพุ่งขึ้น ซึ่งบางคนที่มามีทั้งผู้ที่เคยใช้น้ำมันกัญชามาแล้ว และบางคนกำลังตัดสินใจใช้  "เราจึงเปิดให้บริการรับการปรึกษา 3 ช่องทาง 1.สามารถเดินเข้ามาขอ คำปรึกษาได้เลยที่คลินิก 2.ทางโทรศัพท์ และ 3.ผ่านแอพพลิเคชันไลน์ สิ่งที่กังวลคือการหามาใช้เอง ซึ่งน้ำมันกัญชาเปอร์เซ็นต์เข้มข้นไม่เหมือนกัน ใช้แล้วอาการข้างเคียง ส่วนถ้าใช้แล้วถึงขนาด ติดแล้วจะเริ่มมีอาการระบบประสาทหลอน เช่น หูแว่ว เป็นต้น"
          "ชมเป็น ถามเป็นและแนะนำเป็น"
          ในด้านการพัฒนาหลักสูตรการ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการใช้กัญชา เพื่อการรักษาโรคแก่ผู้ให้บริการสาธารณสุข ดร.โสฬวรรณ อินทสิทธิ์ นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ให้ข้อมูลว่า มีการพัฒนาหลักสูตรที่ผู้ให้บริการรู้จักและ เคยใช้ในการให้บริการทางการแพทย์ อยู่แล้วมาประยุกต์ใช้ในการให้คำปรึกษา เรื่องการใช้ผลิตภัณฑ์กัญชา ซึ่งมี 2-3 รูปแบบหลัก ๆ เบื้องต้นคือหลักสูตรการให้คำแนะนำแบบสั้น ที่เรียกว่า BA (Brief Advice) ซึ่งมีทักษะหลักอยู่ 3 ทักษะ นั่นคือ ชมเป็น ถามเป็น และแนะนำเป็น
          "เรามองว่าคนที่เดินเข้ามาที่คลินิกกัญชา ใจเขามีความต้องการใช้ แต่จะตรงโรคหรือไม่ผู้ให้บริการย่อมทราบอยู่แล้ว ผู้ให้บริการมีหน้าที่คอยตั้งคำถาม ฟังความต้องการของเขา สิ่งไหนเป็น สิ่งที่เขาทำดีอยู่แล้วอยากให้ทำเพิ่ม ก็ควรชมไป แต่สิ่งไหนที่ไม่ถูกต้อง ก็ต้องคุย ตั้งคำถามกลับไปเพื่อให้เขาเกิดความเอะใจว่า โรคที่เขาเป็นจำเป็นต้องใช้กัญชาแน่หรือไม่ แต่หากผู้รับบริการยืนยันที่จะใช้จริง ผู้ให้บริการก็ต้องแนะนำเพิ่มเติมต่อว่าโอกาส ที่จะติดหากใช้ไปนาน ๆ หรือมีอันตรายหรือไม่ อย่างไรต่อร่างกายและภาวะ จิตประสาท เราต้องให้คำแนะนำถูกต้อง เป็นประโยชน์"
          ดร.โสฬวรรณ กล่าวด้วยว่าวิธีนี้ ไม่จำเป็นต้องเป็นบุคลากรสาธารณสุข ก็นำไปใช้ได้ อาทิ แกนนำในชุมชน สามารถพูดคุยให้คำแนะนำได้ดี เพราะเป็นคนที่ใกล้ชิดผู้ใช้ที่สุด

 pageview  1210912    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved