Follow us      
  
  

กรุงเทพธุรกิจ [ วันที่ 09/12/2563 ]
G614 ในเมียนมาแพร่ขยายเร็ว ลอบข้ามแดนไม่กักตัว ไทยเสี่ยง

กรุงเทพธุรกิจ   การที่มีคนไทยกลับจากประเทศเมียนมาเข้ามาประเทศไทย  โดยไม่ยอมเข้าระบบและปกปิดข้อมูลตนเองจะเป็นอันตราย ไม่ใช่เฉพาะตัวเองแต่อันตรายถึงผู้อื่น ทั้งคนในครบครัว สังคม บุคคลากรทางการแพทย์ที่ให้การดูแล สถานการณ์ไทย วันนี้ทำให้เห็นว่าจุดอ่อนแม้แต่จุดเดียว อาจส่งผลมหาศาลต่อประเทศและส่งผลกระทบ เชิงลบให้กับสังคม
          จากการถอดบทเรียนการระบาดของ เมียนมาที่พบการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วจากครั้งแรกที่เจอผู้ป่วยโควิดในเมียนมา 23 มี.ค. มาถึง 6 ธ.ค.2563 จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้น กว่า 200 เท่า และแพร่กระจายไปพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศอย่างรวดเร็ว เป็นเพราะการตามสอบสวนโรคประชาชนที่เดินทางจากพื้นที่ระบาดทำได้น้อยกว่า 50%
          อีกทั้งสายพันธุ์ที่แพร่ในเมียนมาเป็นคนละสายพันธุ์กับอู่ฮั่นที่ระบาดในช่วงแรก D614 แต่เมียนมาเป็นสายพันธุ์ G614 ตัวเดียวกับที่พบแพร่ระบาดในประเทศแถบตะวันตก และทั่วโลกอยู่ในขณะนี้ ซึ่งความต่างคือ สายพันธุ์ที่แพร่ในเมียนมา ตัวเชื้อสามารถเพิ่มจำนวนได้เร็วกว่า 20% ทำให้แพร่ได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดิม
          "ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา" คณบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลม.มหิดลกล่าวในการแถลงสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 วานนี้ (8 ธ.ค.) ว่า สถานการณ์ไทยวันนี้ทำให้เห็นว่าจุดอ่อนแม้แต่จุดเดียว อาจส่งผลมหาศาลต่อประเทศและส่งผลกระทบ เชิงลบให้กับสังคม จึงขอความร่วมมือคนไทยยกการ์ดขึ้นสูง ใช้วัคซีนที่เรามีคือการปฏิบัติตามคำแนะนำ สวมหน้ากาก ล้างมือ เว้นระยะห่าง อย่างเคร่งครัด ให้ความร่วมมือลงทะเบียนเข้า-ออกเมื่อใช้สถานที่ ช่วยกันแนะคนรู้จักให้ปฏิบัติอย่างถูกต้อง เพื่อให้เรามีภูมิป้องกันโควิดได้ทันทีโดยไม่ต้องรอวัคซีนที่ยังต้องใช้เวลาอีกนานไม่ต่ำกว่าครึ่งปีกว่าจะได้ใช้
          เนื่องจากมี 3 ปัจจัยที่น่าห่วงขณะนี้คือ อากาศเย็นที่ทำให้คนอยู่ในอาคารซึ่งเป็นพื้นที่ปิดและไม่สวมหน้ากากมากขึ้น ชายแดนที่มี การแพร่ระบาดรุนแรงมากขึ้น ทั้งเมียนมา มาเลเซีย โดยเฉพาะคนที่ลักลอบเข้ามาเป็นปัจจัยเสริมให้เกิดการระบาดได้ และการชุมนุมต่างๆ แต่อยากให้เข้าใจและย้ำเตือน เพราะไม่มีใครชนะหากเกิดการระบาดขึ้น จึงอยากขอให้หลีกเลี่ยง ในส่วนของโรงพยาบาลขณะนี้ทุกแห่งได้เตรียมการรับมือแล้ว แต่ก็หวังจะไม่เกิด การระบาดรุนแรง
          ขณะเดียวกันมีการแผยแพร่เอกสารสถานการณ์การแพร่ระบาด COVID-19 ของโลกระบบภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ และข้อมูลล่าสุดของการผลิตวัคซีนป้องกันไวรัส COVID-19 ประเทศไทยจะดำเนินการอย่างไร? โดย คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล โดยระบุ ภาพรวมสถานการณ์โลกของวิกฤติ COVID-19 ล่าสุด ณ วันที่ 5 ธ.ค. 2563 มีผู้ป่วยเพิ่ม 626,385 ราย รวมยอดผู้ป่วยทั้งหมด 66,840,203 ราย เสียชีวิต 10,186 ราย รวมยอดเสียชีวิต 1,533,831 ราย ขณะที่สถานการณ์ของประเทศเมียนมา มีผู้ป่วย เพิ่ม 1,527  ราย รวมผู้ป่วยทั้งหมด 98,047 ราย  เสียชีวิต 22  รายรวมยอดเสียชีวิตทั้งหมด  2,081 ราย ในส่วนประเทศไทยมีผู้ป่วยเพิ่ม 19 ราย ยอดรวมผู้ป่วย4,072 เสียชีวิต 60 ราย
          เอกสารระบุการถอดบทเรียนจาก ประเทศเมียนมา (พม่า)ตั้งแต่พบผู้ป่วยติดเชื้อ โควิด-19 ครั้งแรก 23 มี.ค.-16 ส.ค. 2563 ยอดรวมผู้ป่วยติดเชื้อ โควิด-19 จำนวน 375 คน วันที่ 16 ส.ค. 2563 พบผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่เมืองสิตตะเว รัฐยะไข่ วันที่ 17 ส.ค. 2563 ยอดรวมผู้ป่วยติดเชื้อ โควิด 19 จำนวน 409 คน วันที่ 10-20 ส.ค. 2563 มีคนเดินทางจากเมือง สิตตะเวและรัฐยะไข่เข้านครย่างกุ้งประมาณ 5,000 คน โดยล่าสุด วันที่ 6 ธ.ค. 2563  ยอดรวม  ผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 จำนวน99,155 คน
          สำหรับวันที่ 10-20 ส.ค.2563  มีคนเดินทางจากเมืองสิตตะเวและรัฐยะไข่เข้านครย่างกุ้งประมาณ 5,000 คน ติดตามสืบสวนได้น้อยกว่า 50% ประมาณร้อยละ 60 ของการติดเชื้อโควิดในเมียนมาเป็นสายพันธุ์ G614 (สายพันธุ์นี้มีสัดส่วนมากที่สุดของการระบาดในรอบนี้) ซึ่งมีหลักฐานว่าแพร่ระบาดได้เร็วกว่าสายพันธ์ดั้งเดิมที่แพร่ระบาด ในรอบแรก (D614) นั่นคือการควบคุมควรต้องดำเนินการให้เร็วกว่าการควบคุมการแพร่ระบาดในรอบแรกปัจจัยที่ทำให้การแพร่ระบาดออกไปมากคือการไม่สามารถสืบสวนตามหาผู้เสี่ยงติดเชื้อ และเสี่ยงแพร่เชื้อการปกปิดไม่ให้ความจริง ทำให้ครอบครัว เพื่อนฝูงและสังคมเสี่ยงและอาจถึงแก่ชีวิต
          ทั้งนี้ความจริงทีควรรู้เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันต่อเชื้อโควิด 19 คือ ประมาณร้อยละ 95 ของผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 มีภูมิคุ้มกันเกิดขึ้น และอาจสูงพอที่จะยับยั้งเชื้อ ได้ประมาณ 8 วันหลังการติดเชื้อขึ้นกับความรุนแรง ของโรค(รุนแรงน้อย ระดับภูมิคุ้มกันน้อย) ระดับภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้น จะขึ้นเร็วใน 3 สัปดาห์แรกหลังการติดเชื้อแล้วค่อยๆ ลดลง โดยจะคงอยู่ได้นาน 40 วันจนถึง 7 เดือนจากการที่ภูมิคุ้มกันไม่ได้อยู่นาน การติดเชื้อซ้ำจึงเกิดขึ้นได้
          สำหรับแนวทางร่วมกันจัดการกับ การแพร่ระบาด ผู้ที่เสี่ยงกับการได้รับเชื้อ จากการเข้าร่วมหรือสัมผัสกับผู้ที่เข้าร่วม ในกิจกรรมที่ท่าขี้เหล็ก ขอให้เข้ารับ การตรวจหาเชื้อโควิด 19 (เพื่อความปลอดภัยของตน ครอบครัว เพื่อนฝูง และสังคม) ก่อนรู้ผลตรวจ ขอให้ป้องกันการแพร่เชื้อ ด้วยการใส่หน้ากาก (ทั้งนอกอาคารและในอาคารรวมทั้งในบ้าน) รักษาระยะห่างกับบุคคลอื่น ทำความสะอาดมือบ่อยๆ บันทึกสถานที่ทีไป (ใช้ application ไทยชนะ ทั้ง check-in และ check-out) หากผลตรวจพบมีการติดเชื้อ ให้เข้าสู่กระบวนการที่หน่วยงานราชการกำหนดไว้
          ผู้ประกอบการ ขอให้ดำเนินการตามข้อกำหนดการป้องกันการแพร่ระบาดที่มีประกาศอย่างเคร่งครัด เพราะมีโอกาสที่จะมีผู้ติดเชื้อ เข้ารับบริการโดยที่ไม่มีอาการชัดเจน (ตรวจวัดอุณหภูมิกาย รักษาระยะห่างระหว่างบุคคล จัดให้มีแอลกอฮอล์เจล พนักงานใส่หน้ากาก จัดให้มี QR Code เพือ check-in, check-out) ผู้เข้ารับ บริการ ขอให้ดำเนินการตามข้อกำหนดการป้องกันการแพร่ระบาดที่มีประกาศอย่างเคร่งครัด เพราะมีโอกาสที่จะมีผู้ติดเชื้อที่มีอยู่ใกล้โดยไม่มีอาการชัดเจน (ตรวจวัดอุณหภูมิกาย รักษาระยะห่างระหว่างบุคคล จัดให้มีแอลกอฮอล์เจล ใส่หน้ากากและถอดเมื่อมีความจา เป็ น check-in, check-out)
          ประชาชนทั่วไป ขอให้ดำเนินการตามข้อแนะนำที่มีประกาศจากหน่วยงานราชการ/ศบค. อย่างเคร่งครัด (การใส่หน้ากาก- ขณะนี้ในสหรัฐมีการแนะนำให้ใส่หน้ากากขณะอยู่ในอาคารด้วย ยกเว้นที่บ้านที่ไม่มีสมาชิกมีอาการผิดปกติ-การรักษาระยะห่างระหว่างบุคคล รวมทั้ง หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่มีคนอยู่ร่วมกันมากๆ เป็นเวลานาน การใช้ แอลกอฮอล์เจลหรือล้างมือบ่อยๆ การระบุสถานที่ที่ไปมาผ่าน application ไทยชนะ หรือให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับผู้เกี่ยวข้อง) นอกจากนี้การแนะนำเพื่อน ผู้ร่วมงานหรือคนรู้จักให้ช่วยกันดำเนินการดังกล่าว
          ซึ่งแนวทางร่วมกันจัดการกับการ แพร่ระบาด คนไทยทุกคนมีส่วนสำคัญในการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 จุดอ่อนแม้แต่จุดเดียว อาจส่งผลมหาศาลต่อประเทศและส่งผลกระทบเชิงลบให้กับ สังคม ดังเช่นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่รัฐยะไข่ วัคซีนที่ผลิตยังต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง และผลยังไม่สามารถรับรองได้อย่างเต็มที่ ขอให้ใช้วัคซีนที่ประเทศไทยมี ซึ่งแสดงผล มาให้เห็นตลอดค่อนปีที่ผ่านมาคือการรู้รัก สามัคคี
          เชื้อโควิดในเมียนมาเป็นสายพันธุ์ G614 ตัวเชื้อสามารถเพิ่มจำนวนได้เร็วกว่า 20%ทำให้แพร่ได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดิม

 pageview  1210905    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved