Follow us      
  
  

สยามกีฬา [ วันที่ 25/06/2563 ]
ไทยยังรักษาสถิติไร้ป่วย 30 วันติดจ่อคลายเฟส 5 เริ่มตั้งแต่ 1 ก.ค.

ศบค.รายงานตัวเลขผู้ป่วยติดเชื้อใน ไทย มี 1 ราย เป็นผู้ป่วยที่อยู่ในสถานกักกันที่รัฐจัด ให้ ทําให้เป็นวันที่ 30 ที่ไร้ผู้ป่วยในประเทศ ด้าน สมช. จ่อคลายล็อก ผับ บาร์ สถานบันเทิง ร้านเกม อินเทอร์เน็ต คาราโอเกะ อาบอบนวด และโรงน้ําชา 1 ก.ค. นี้ คาดได้ข้อสรุปทางการ ที่ประชุม ศบค. จันทร์ที่ 29 มิ.ย. นี้
          ป่วย 1 รายในสถานกักกัน
          ที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. ทําเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศค. เปิดเผยสถานการณ์ผู้ป่วยโควิด-19 ประจําวัน ว่า มีผู้ป่วยรายใหม่ 1 ราย ในสถานกักกันที่รัฐจัดให้ รวมผู้ป่วยสะสม 3,157 ราย ในจํานวนนี้อยู่ในกลุ่มที่ เดินทางกลับจากต่างประเทศ 220 ราย ยังรักษาอยู่ 73 ราย รักษาหาย 3,026 ราย
          ไร้ป่วยในประเทศ 30 วัน
          สําหรับผู้ป่วยใหม่ 1 รายเดินทางมาจาก ฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 17 มิ.ย. และเข้าพักในสถานที่ กักกันของรัฐ โดยตรวจหาเชื้อวันที่ 22 มิ.ย. และพบ เชื้อแต่ไม่มีอาการ โดยผู้ที่เดินทางมาจากฟิลิปปินส์ รวมทั้งหมด 961 ราย และติดเชื้อไปแล้ว 2 ราย ทั้งนี้ สถานการณ์โลกยังมีผู้ป่วยเพิ่มนับแสนราย ถือว่าเป็นวิกฤตของโลกอยู่ ซึ่งประเทศที่ต้องจับตา คือ สหรัฐอเมริกา บราซิล รัสเซีย อินเดีย ซึ่งแม้ว่า ไทยจะสะอาดตัวเลขผู้ป่วยดี แต่ทั่วโลกยังอยู่ในภาวะ วิกฤต ทั้งนี้ไทยไม่มีผู้ป่วยในประเทศต่อเนื่องเป็นวัน ที่ 30 แล้ว
          ทราเวลบับเบิลเริ่ม ส.ค.
          นพ.ทวีศิลป์ยังกล่าวถึงมาตรการผ่อน คลายผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ ว่า การผ่อน คลายการเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรของชาวต่าง ชาติในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 กลุ่มที่ดําเนินการได้ทันทีคือ 1. กลุ่ม เป้าหมายที่ตอบรับมาตรการสถานกักกันโรคของ รัฐ (State Quarantine) ได้แก่ ผู้ที่ใบอนุญาตการทํางานในประเทศ และได้ลงทะเบียนไว้แล้ว คือ นัก ธุรกิจ นักลงทุน ประมาณ 700 คน แรงงานฝีมือ/ ผู้เชี่ยวชาญ ประมาณ 15,400 คน คนต่างด้าว กรณีครอบครัวของคนไทยและหรือมีถิ่นที่อยู่ในไทย ประมาณ 2,000 คน ครู/อาจารย์/บุคลากรการศึกษา และนักเรียน ประมาณ 2,000 คน และ Medical and Wellness Tourism ประมาณ 30,000 คน ทั้งหมดนี้เริ่มดําเนินการ 1 ก.ค.
          2. ส่วนกลุ่มเป้าหมายที่ต้องใช้มาตรการ ควบคุมไว้สังเกต ได้แก่ นักธุรกิจ นักลงทุนที่เข้ามา ในระยะเวลาสั้น ๆ หรือแขกของรัฐบาล หน่วยงาน ราชการ ทั้งนี้ต้องมีการตรวจปลอดโควิด-19 ทั้ง จากประเทศต้นทางและเมื่อถึงไทย และต้องมีทีม ติดตามทางการแพทย์ และนักท่องเที่ยวและผู้เดินทาง ตามโครงการทราเวล บับเบิล ซึ่งรายละเอียดแต่ละ ประเทศต้องหารือกันอีกครั้ง
          โฆษก ศบค. กล่าวว่า สําหรับโครงการ เทราเวล บับเบิล แบ่งเป็น 2 แบบ คือ 1. มาตรการ Villa Quarantine เริ่ม 1 ส.ค. 63 เมื่อเดินทาง มาเที่ยวก็ให้เข้าพักในที่เดียวกันทั้งหมด เพื่อสะดวก ในการติดตาม 2. แบบผ่อนคลายมาตรการ State Quarantine จะเริ่มดําเนินการเมื่อพร้อมและสังคม เชื่อมั่นในมาตรการโควิด-19
          จ่อคลายผับ-บาร์ 1 ก.ค.
          ที่สํานักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ พล.อ.สมศักดิ์ รุ่งสิตา เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่ง ชาติ ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการเฉพาะ กิจพิจารณาการผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการใน การป้องกันและยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะ กรรมการเฉพาะกิจฯ ว่าการผ่อนคลายเฟส 5 จะ ประกอบไปด้วย สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ ร้านเกม ร้านอินเทอร์เน็ต และสถานบริการอาบอบ นวดและโรงน้ําชา จะเปิดบริการได้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. นี้
          จากการพูดคุยกับผู้ประกอบการที่ผ่าน มา ได้วางมาตรการในการเฝ้าระวังและป้องกันอย่างเป็นขั้นตอน และจะนําข้อหารือทั้งหมดเข้าที่ประชุม ศบค. ในวันจันทร์ที่ 29 มิ.ย. นี้ โดยหากที่ประชุม เห็นชอบตามข้อเสนอก็สามารถเปิดบริการได้ในวัน ที่ 1 ก.ค. ดังนั้นจะเหลือกิจการที่ไม่สามารถเปิดให้ บริการได้ คือ สนามกีฬาที่มีคนเข้าชมการแข่งขัน
          สมช.นัดถกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน
          พล.อ.สมศักดิ์ ยังเผยอีกว่า ที่ประชุมยัง ได้หารือเรื่องทราเวล บับเบิล หรือการจับคู่ประเทศ เชื่อมต่อการเดินทางระหว่างประเทศ ที่สามารถ จัดการโรคโควิด-19 ได้ดีเท่า ๆ กัน เบื้องต้นหาก พร้อมดําเนินการจะไม่เร็วกว่าเดือนส.ค. เพราะต้อง พิจารณาปัจจัยการแพร่ระบาดโควิดจากสถานการณ์ ทั่วโลก รวมถึงความพร้อมของความสัมพันธ์ระหว่าง ประเทศ และคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ประเทศต้นทาง
          ทั้งนี้ในวันที่ 25 มิ.ย. สภาความมั่นคง แห่งชาติ หรือ สมช. จะหารือถึงพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก่อน จะนําเสนอศบค. พิจารณาว่าจะขยายการประกาศใช้ หรือไม่ หลังจะครบกําหนดวันที่ 30 มิ.ย. และเสนอ คณะรัฐมนตรีให้พิจารณาในวันอังคารที่ 30 มิ.ย.
          แนะใช้แสงยวในอาคาร
          ซินหัว รายงานผลการวิจัยของสถาบัน เทคโนโลยีอิสราเอลเหนือ ว่าทีมวิจัยนานาชาติแนะนํา ให้ใช้แสงอัลตราไวโอเลต หรือ "ยูวี" ภายในอาคาร เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ ใหม่ซึ่งก่อโรคโควิด-19
          สําหรับข้อเสนอแนะดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่ง ของบทความการศึกษาที่เผยแพร่ในวารสารเอซีเอส นาโน เขียนโดยนักวิจัยจากสถาบันซึ่งสังกัดมหาวิทยา ลัยเซาธ์แฮมป์ตัน ที่สหราชอาณาจักร และสถาบันอีก 3 แห่งในสเปน
          สถาบันเผยว่า การแก้ปัญหาด้วยวิธีดัง กล่าวตรงตามโจทย์การใช้งานแบบรวดเร็ว ปรับขนาด ได้และประหยัด เพื่อตอบสนองความจําเป็นในการฆ่า เชื้อในพื้นที่ทางาน อาทิ สํานักงาน โรงเรียน สถาน พยาบาล และพื้นที่บริการขนส่งสาธารณะ
          นอกจากนี้การศึกษายังชี้ว่า การแพร่ กระจายของไวรัสภายในอาคารมีอัตราที่สูงกว่ากลาง แจ้งมาก แต่วิธีแก้ปัญหาที่เป็นไปได้โดยใช้ตัวกรอง และสารเคมีอาจมีค่าใช้จ่ายสูงและเปลืองเวลา อีกทั้ง สารเคมีบางชนิดที่มีประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อไวรัส อาทิ โอโซน อาจเป็นอันตรายได้หากใช้ผิดวิธี
          หมอห่วงหยุดยาวระบาดอีก
          รศ.นพ.ธีระ วรรธนารัตน์ คณะ แพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ เตือนการระบาดระลอก 2 ความเป็นไปได้ว่าอาจจะ เกิดขึ้นในช่วงวันหยุดยาวนี้ โดยระบุว่า 1 กรกฎาคม เปิดเรียน และอาจเปิดผับ บาร์ คาราโอเกะ
          กลุ่มเป้าหมายที่ต้องระวังคือ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคนทํางานกลางคืน นักเที่ยววัยทํางาน และวัยรุ่น หากมีการติดเชื้อ ระยะฟักตัว (หมายถึง ระยะตั้งแต่ติดเชื้อจนมีอาการ) 2-14 วัน โดยเฉลี่ย 4.5 วัน คนติดเชื้อจะมีไวรัสสูงใน 7 วันแรก และ สามารถแพร่เชื้อได้ ตั้งแต่ช่วงก่อนมีอาการ (ซึ่งเป็น คําอธิบายว่าเหตุใดโรคโควิด-19. จึงแพร่ระบาดไป รุนแรงกว่า SARS ที่เป็นตระกูลเดียวกัน)
          นั่นแปลว่า ช่วงวันหยุด 4-7 ก.ค. นั้น คือช่วงที่น่าจะอันตราย หากคนที่ติดเชื้อโดยไม่รู้ตัว แล้วไปท่องเที่ยวโดยไม่ป้องกัน ดังนั้น อยากแนะนํา ให้ระมัดระวังกันทุกคน หลังกรกฎาคม ... ตั้งการ์ด กันสูงขึ้น ใส่หน้ากากเสมอ ... ล้างมือบ่อย ๆ ห่าง จากคนอื่น 1 เมตร... เลี่ยงที่อโคจร.หมั่นสังเกต อาการตนเองและครอบครัว ด้วยรักต่อทุกคน...
          ก.ค. ทางสองแพร่งประเทศ
          ดร.สาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า แม้จะไม่พบผู้ติด เชื้อโควิด-19 ภายในประเทศต่อเนื่องยาวนานเกิน 28 วันแล้ว แต่คนไทยจะต้องไม่ประมาท ห้ามการ์ด ตกอย่างเด็ดขาด โดยในส่วนของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ยังคงเดินหน้าทํางานแบบเชิงรุกใน 100,000 ราย ไม่ว่าจะเป็นการตรวจลึกไปยังกลุ่มแพทย์ที่รักษา ใกล้ชิดกับผู้ป่วย ตรวจหาเชื้อจากผู้ที่สัมผัสกับผู้ป่วย ทุกคน
          รมว.สธ. เผยว่า ณ วันที่ 24 มิ.ย. ยังไม่ พบว่ามีการติดเชื้อแต่อย่างใด โดยในวันที่ 1 ก.ค. นี้ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. เตรียมจะประกาศ คลายล็อกครั้งใหญ่ เช่น เปิดโรงเรียน, เปิดผับ-บาร์, เปิดวนอุทยาน สถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ซึ่งหลังจาก ทําการเปิดโรงเรียนในวันที่ 1 ก.ค. นี้ จะเป็นตัวชี้ วัดว่า ไวรัส "โควิด-19" จะกลับมาระบาดระลอกที่ 2 หรือไม่ เพราะจากข้อมูลที่มีอยู่ในวัยหนุ่ม วัยสาว การติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการยังคงมีอยู่
          ไทยอาจมีวัคซีนกลางปี 64
          ดร.สาธิตกล่าวต่อไปว่า สําหรับความคืบหน้าเรื่องการผลิตวัคซีนรักษาโรค "โควิด-19" นั้น ทาง สธ. กําลังเร่งดําเนินการอย่างสุดความสามารถ คาดว่าอย่างเร็วสุดประเทศไทย จะมีวัคซีนรักษาโรค "โควิด-19" ได้ช่วงกลางปีหน้า 2564 ซึ่งเวลานี้มี แนวโน้มที่ดีในการผลิตอยู่ในช่วงการทดลองกับลิง ส่วนการทดลองกับมนุษย์นั้นจะสามารถทดลองได้ ปลายปีนี้
          "ขณะเดียวกัน สธ. มอบหมายให้กรม อนามัย หน่วยงานในสังกัด สธ. ไปเจรจากับประเทศ จีนและอังกฤษ ที่พยายามจะผลิตวัคซีนโควิด-19 อยู่ ซึ่งขั้นตอนเวลานี้ต้องยอมรับว่า เขาคืบหน้ากว่าเราราว 6 เดือน ว่าหากผลิตสําเร็จและสามารถนํามาใช้ใน การรักษาได้จริง ประเทศไทยจะขอซื้อวัคซีนเป็นลอต แรก ๆ เพราะเราต้องการให้สถานการณ์ของโควิด-9 กลับสู่ภาวะปกติอย่างเร็วที่สุด โดยในส่วนของไทยก็ พยายามอย่างเต็มที่ โดยเรามีสถาบันวัคซีนแห่งชาติ ซึ่งกําลังเร่งดําเนินการอย่างที่สุด เพื่อที่ในที่สุดไทยจะ มีวัคซีนเป็นของตัวเองในอนาคตอันใกล้นี้" ดร.สาธิต กล่าวทิ้งท้าย
          เห็นชอบคุมโควิดต่างชาติ
          นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวภาย หลังการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ โดย ระบุว่าที่ผ่านมาได้ผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้ เศรษฐกิจสามารถเดินต่อไปได้ ในอนาคตการคลาย ล็อกจะเพิ่มขึ้นตามความเหมาะสม
          ล่าสุด ทางคณะกรรมการโรคติดต่อแห่ง ชาติได้ประชุมร่วมกัน และได้พิจารณาเห็นชอบใน ร่างฯ กฎหมายเกี่ยวกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน และ ควบคุมโควิด-19 จากผู้ที่เดินทางเข้ามาในราช อาณาจักร ภายใต้ พ.ร.บ.โรคติดต่อ ซึ่งต้องนําเสนอ ศบค. ในช่วงต้นสัปดาห์หน้า
          ทั้งนี้มีการกําหนดกรอบถึงกลุ่มที่สามารถ เดินเข้ามาในประเทศไทยได้ และมาตรการจัดการ ซึ่งบุคคลที่ได้รับสิทธิ์เข้ามาก่อน จะประกอบไปด้วย บุคคลที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ เช่น คณะ ทูต ผู้แทนองค์การระหว่างประเทศ เป็นต้น รวมไป ถึงกลุ่มคนไทยกลับบ้าน และกลุ่มนักธุรกิจ ซึ่งต้อง กําหนดมาตรการต่าง ๆ ให้ชัดเจน เกี่ยวกับข้อปฏิบัติ ก่อนเข้าประเทศ และข้อปฏิบัติเมื่อเข้าประเทศมาแล้ว
          สำหรับเรื่องทราเวล บับเบิล กําลังเจรจา กับหลายประเทศ การเดินทางต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขที่ ทั้ง 2 ฝ่ายยอมรับในรายละเอียด บนพื้นฐานหลักการ ซึ่งเป็นกรอบใหญ่ กรอบตรงนี้ ก็ต้องเสนอ สบค. พิจารณาก่อน แต่ขอย่าว่า เป็นการเจรจาระหว่าง 2 ชาติ และเซ็น MOU
          สําหรับกลุ่มที่จะเดินทางภายใต้มาตร การทราเวล บับเบิล คือคนที่มีความจําเป็นต้องเข้า ประเทศไทย และอยู่ไม่นาน ไม่สามารถกักตัว 14 วัน และยอมให้ใช้มาตรการอย่างอื่นแทน เช่น การตรวจสุขภาพก่อนขึ้นเครื่อง หลังลงเครื่อง ต้องกําหนด ระยะเวลาการอยู่ในประเทศให้ชัดเจน และต้องยอม ให้ติดตามตัว รวมทั้งต้องให้ข้อมูลเรื่องผู้มาติดต่อ อย่างครบถ้วน ทั้งนี้ถ้าใครจะเดินทางเข้ามา แต่ไม่ สามารถวางแผนได้ ก็ต้องกักตัว
          "ขอยกตัวอย่าง กรณีนักธุรกิจไทยกลับ จากต่างประเทศ อยู่ประเทศไทย 2-3 วัน ระหว่าง นั้นไปเซ็นสัญญาทางธุรกิจ และยอมรับเงื่อนไขของ ภาครัฐ พร้อมปฏิบัติตามทุกข้อ ก็ไม่ต้องกักตัว แต่ ถ้าคนไทยกลับบ้าน และอยู่เมืองไทยนาน กรณีนี้ต้อง กักตัว 14 วัน"
          "ขณะที่กลุ่มผู้มาใช้บริการทางสุขภาพ กลุ่มนี้ต้องตรวจสุบภาพก่อนขึ้นเครื่อง เมื่อลงเครื่อง แล้วเข้าโรงพยาบาลเลย ภาครัฐทราบแน่นอนว่าอยู่ ตรงไหน ติดต่อใครบ้าง ก็ไม่ต้องกักตัว ในส่วนเรื่อง ค่าใช้จ่าย ณ ปัจจุบัน เป็นคนไทยกลับบ้าน ภาครัฐ รับผิดชอบเรื่องค่าใช้จ่าย แต่ในอนาคตเมื่อมีชาวต่าง ชาติเข้ามา จะเป็นความรับผิดชอบของผู้ประสงค์เข้า ประเทศ" นายอนุทินกล่าว
          ติดเชื้อทั่วโลก 9.3 ล้าน
          สถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด19 ทั่วโลก ณ เวลา 18.00 น. เมื่อ 24 มิ.ย. 63 ตามการรายงานของเว็บไซต์ worldometers ระบุว่า มียอดผู้ติดเชื้อสะสมรวม 9,380,717 คน ผู้เสียชีวิต 480,396 คน และรักษาหายแล้ว 5,068,384 คน
          สหรัฐอเมริกา มียอดติดเชื้อสะสมรวม 2,424,493 คน เสียชีวิตแล้ว 123,476 คน ด้าน บราซิล เสียชีวิตแล้ว 1,151,479 คน เสียชีวิต 52,771 คน, รัสเซีย 606,881 คน เสียชีวิต 8,513 คน, อินเดีย 457,621 คน เสียชีวิต 14,500 คน สหราชอาณาจักร ติดเชื้อ 306,210 คน เสียชีวิต 42,927 คน และ สเปน ติดเชื้อ 293,832 คน เสีย ชีวิต 28,325 คน

 pageview  1210921    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved