Follow us      
  
  

สยามกีฬา [ วันที่ 30/10/2563 ]
กักตัว10วันพอ สธ.อ้างมติกก.โรคติดต่อฯหนุน

  พบป่วยเพิ่มอีก 4 จากต่างแดน
          ศบค.เผยสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 29 ต.ค. 63 ในประเทศไทย พบผู้ป่วยติดเชื้อ โควิดรายใหม่ 4 ราย เดินทางมาจากญี่ปุ่น, คูเวต และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยยอดป่วยรวมสะสมอยู่ที่ 3,763 ราย ด้านคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เห็นชอบเตรียมเสนอ ศบค.ต่อไป ส่วนลดกักตัวเหลือ 10 วัน ผู้ทรงวุฒิเตรียมเสนอที่ประชุม ศบค. นัดหน้า ด้าน สธ.เผยผลดีเอ็นเอเชื้อโควิดหญิงชาวฝรั่งเศส เป็นคนละสายพันธุ์กับผู้ติดเชื้อใน ASQ เดียวกันอีก 2 คน ไม่ได้ติดเชื้อกันเอง คาดติดจากโรงแรมทางเลือกที่ใช้กักตัว
          ติดเชื้อ 4 รายจากต่างแดน
          เมื่อวันที่ 29 ต.ค. 63 ศูนย์บริหาร สถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) รายงานสถานการณ์ การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศ ประจำวันดังนี้ พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรายใหม่ 4 คน เดินทางมาจากต่างประเทศ ประกอบด้วย ญี่ปุ่น 1 ราย, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 1 ราย และคูเวต 2 ราย ทั้งหมดเข้าพักในสถานที่กักกันของรัฐ (State Quarantine)
          สำหรับผู้ติดเชื้อ 4 ราย มีรายละเอียด ดังนี้ ที่เดินทางมาจากญี่ปุ่น เป็นหญิงไทย อายุ 24 ปี เป็นนักศึกษา เข้าพักอยู่ใน State Quarantine ส่วนอีก 1 ราย ที่มาจากสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ เป็นหญิงไทย จาย 40 ปี เป็นพนักงานมาดสปา ผ่านการคัดกรอง ณ ด่านควบคุมโควิด-19
          ขณะที่อีก 2 ราย ที่มาจากคูเวต เป็นหญิงสัญชาติคูเวต อายุ 67 ปี เป็นแม่บ้าน เข้าพักอยู่ Alternative Hospital Quarantine กรุงเทพฯ  และอีก 1 รายเป็นชายสัญชาติคูเวต อายุ 19 ปี เป็นนักศึกษา เข้าพักใน Alternative Hospital Quarantine 9.นนทบุรี
          ส่วนจำนวนผู้ป่วยยืนยันสะสมล่าสุดอยู่ที่ 3,763 คน เป็นผู้ป่วยที่ติดเชื้อภายในประเทศ 2,451 คน และผู้ป่วยที่ตรวจพบในสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ 815 คน จำนวนผู้ป่วยรักษาหายแล้วอยู่ที่ 3,570 คน ยังมีผู้ป่วยรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 134 คน และ ยอดผู้เสียชีวิตสะสมอยู่เท่าเดิมที่ 59 คน
          คกก.โรคฯหนุนกักตัว 10 วัน
          นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ ภายหลังการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ครั้งที่ 8/2563 ว่าสถานการณ์โรคโควิด-19 ของ ไทยอยู่ในระดับตำและควบคุมได้ ผู้ติดเชื้อรายใหม่ ส่วนใหญ่เดินทางมาจากต่างประเทศ แม้จะมีผู้ติด เชื้อภายในประเทศบ้างก็อยู่ในสถานที่กักกันไว้ ซึ่งการควบคุมป้องกันโรคถือว่ามีประสิทธิภาพและมีทรัพยากรเพียงพอรับมือ
          ส่วนโจทย์สํำคัญวันนี้ คือการสร้างสมดุลระหว่างสุขภาพกับเศรษฐกิจบนพื้นฐานความปลอดภัยประชาชน ซึ่งเศรษฐกิจไทยยังต้องพึ่งพา ต่างชาติ การเปิดประเทศให้ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาเพื่อท่องเที่ยวหรือการค้าการลงทุน จะช่วยให้เศรษฐกิจกลับมาเดินหน้าอีกครั้ง การมีระบบการ กักกันโรคจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งที่ผ่านมายังเป็นเพียงประกาศสั้นๆ ของศูนย์บริหารสถานกาณณ์โควิด 19 (ศบค.) ยังไม่เป็นกฎหมายหรือนโยบาย
          นายอนุทิน กล่าวว่า คณะกรรมการจึงมีมติเห็นชอบนโยบายการกักกันโรคในประเทศ (National Quarantine Policy) เพื่อรองรับการเปิดประเทศและฟื้นฟูเศรษฐกิจความเป็นอยู่ของประชาชนในระยะยาว ประกอบด้วย 3 หลักการคือ 1.จัดให้มีระบบการกักกันโรค และสถานที่กักกัน ผู้สัมผัสโรคหรือพาหะ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อที่ ปลอดภัยได้มาตรฐาน เหมาะสมกับบริบทของการปฏิบัติงานและกลุ่มเป้าหมาย และเพียงพอทุกพื้นที่ 2.พัฒนากลไกการบริหารจัดการระบบ
          การกักกันโรคและสถานที่กักกันโรคให้เป็นเอกภาพทั้งในระดับชาติ และระดับจังหวัด ที่สามารถทำงานเชื่อมโยงกันได้ และ 3.เร่งพัฒนาระบบการบริหาร จัดการข้อมูลแบบบูรณาการ เพื่อสนับสนุนการทำงานร่วมกันของทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
          ทั้งนี้ ได้กำหนดระบบการจัดการในสถานที่กักกันโรค 10 ข้อ คือ 1.การจัดการสถานที่พัก พื้นที่ส่วนกลางและสถานที่เฉพาะ, 2.มีผู้รับผิดชอบ ทุกขั้นตอนครบตามจำนวนวันที่กำหนด, 3.การคัด กรองการเจ็บป่วย หรือสงสัยติดเชื้อโควิด, 4.การจัดการสิ่งแวดล้อม, 5. การบริการพื้นฐานเพื่อการ ตำรงชีวิต, 6.การรวบรวมจัดเก็บข้อมูล, 7.ระบบ รายงานเหตุการณ์, 8.การพัฒนาทักษะผู้ปฏิบัติงาน,9.การตรวจประเมินสถานที่กักกันโรค และ 10. มีวิธี การการตรวจสอบย้อนหลังเมื่อพบเหตุการณ์ผิดปกติ รวมทั้งมีการกำกับติดตาม และประเมินผลสัมฤทธิ์ ชองการดำเนินงาน ทั้งในระดับชาติและพื้นที่อย่าง สม่ำเสมอ โดยจะไปออกกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนในการ บริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัยสูงสุดแก่ประชาชนและประเทศ เมื่อเรียบร้อยจะเสนอ ศบค.ต่อไป
          นอกจากนี้ ในที่ประชุมคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ เห็นด้วยกับหลักการเรื่องการลดเวลา การกักตัวจาก 14 วันเหลือ 10 วัน แต่ 4 วันที่หาย ไป ขอให้มีมาตรการเพิ่มเติม เช่น การตรวจติดตามรายงานตัว ตรวจวัดไช้ ขอความร่วมมืออย่าไปไหนมาไหนที่มีผู้คนเยอะ ขอให้ปฏิบัติตัวแบบ New normal ใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาเป็นต้น จริงๆ เราจะเสนอ ศบค.เรื่องลดเวลากักตัว แต่มีประเด็นเรื่องสาวฝรั่งเศสที่เกาะสมุย เพื่อให้มั่นใจจึงถอนเรื่องออกไปก่อน
          แต่หลังจากตรวจสอบแล้วพบว่าไม่ได้เป็นเรื่องของมาตรการกักกันตัว เป็นเรื่องมาตรฐาน การรีแลกซ์มากน้อยแค่ไหน ซึ่งการติดเชื้อยังอยู่ในวง แคบและควบคุมได้ จึงจะเสนออีกครั้งในการประชุม ศบค.ครั้งหน้า
          นายอนุทิน กล่าวอีกว่า ยืนยันว่าการเกิดกรณีของชาวฝรั่งเศสไม่กระทบต่อนโยบาย Welliness Quarantine เพราะมาตรการที่ใช้อยู่ถือว่าเพียงพอ การกักตัวใน ASQ เจอเคสน้อยมาก คือ 0.6 เปอร์เซ็นต์ จะมาทำให้อีก 99.4 เปอร์เซ็นต์ ชะงักตามไม่ได้ ต้องไปหาวิธีบริหาร 0.6 เปอร์เซ็นต์ให้ได้ แล้วคนเข้ามาก็ไม่ได้เป็นล้านคนเหมือนสมัยเมื่อก่อน จำนวนคนน้อยก็ติดตามควบคุมได้
          แหม่มฝรั่งอาจติดเชื้อจากรร.
          จากกรณีเกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี พบ หญิงฝรั่งเศสอายุ 57 ปี ติดเชื้อโควิต-19 เบื้อง ต้นจากการสอบสวนโรค คาดว่าติดเชื้อภายในสถาน กักกันโรคแห่งรัฐทางเลือกใน จ.สมุทรปราการ โดยที่แห่งนี้มีชาวต่างชาติอีก 2 ราย เป็นคนเอเชียและยุโรป พักอยู่ชั้นเดียวกัน ตรวจหาเชื้อตามปกติและพบการ ติดเชื้อ จึงตรวจหาดีเอ็นเอเชื้อโควิด 19 ของทั้ง 3 รายว่าเป็นสายพันธุ์เดียวกันหรือไม่
          ล่าสุดเมื่อ 29 ต.ค.ที่ผ่านมานพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวว่า ผลการถือดรหัส สารพันธุกรรมเชื้อโควิดของหญิงชาวฝรั่งเศส และผู้ป่วยต่างชาติอีก 2 คนนั้น เบื้องต้นรหัสสารพันธุกรรม ของหญิงชาวฝรั่งเศส เป็นคนละสายพันธุ์กับอีก 2 คน
          ด้าน นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า ผลดังกล่าวทำให้ทราบว่าหญิงฝรั่งเศสไม่ได้ ติดเชื้อมาจากผู้ป่วยอีก 2 คนที่อยู่ใน ASQ ในช่วง เวลาเดียวกัน เนื่องจากเชื้อคนละสายพันธุ์ แต่จาก การสอบสวนโรคทำให้มีความเป็นไปได้ว่า ติดภายใน โรงแรมที่เป็นสถานกักกันทางเลือก (Alternative State Quarantine) หรือ ASQ เนื่องจากหญิงฝรั่งเศสมีอาการป่วยหลังเข้ามาในไทยได้ 17 วัน
          ทั้งนี้ตามปกติ หลังรับเชื้อจะแสดงอาการ  ประมาณ 7-10 วัน และการพบเชื้อในปริมาณมาก แสดงว่าเพิ่งได้รับเชื้อ จึงคาดว่าติดจากใน ASO ส่วน จะติดจากใครหรือต้นตอมาจากที่ไหนกำลังสอบสวน โรคต่อไป แต่ที่แน่ ๆ ต้องจัดการพื้นที่และสิ่งแวดล้อม ใน ASQ ให้ดี เพื่อป้องกันเชื้อปนเปื้อน จากนี้จะนำเชื้อดังกล่าวมาเปรียบเทียบกับเชื้อประเทศต้นทางคือ ฝรั่งเศส และพิจารณาหลายปัจจัย แต่ทั้งหมดไม่ต้อง กังวลว่าจะแพร่เชื้อ เพราะผู้ป่วยอยู่ในการดูแลที่รพ. รวมทั้งผู้สัมผัสใกล้ชิด
          ห้างโตคิวปิดตำนาน 35 ปี
          รายงานข่าวจากศูนย์การค้า เอ็มบีเคเซ็นเตอร์ เผยว่า ตามที่มีข่าวประกาศยุติการดำเนิน ธุรกิจของห้างสรรพสินค้าโตคิว สาขาศูนย์การค้าเอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ จากนโยบายของโตคิว กรุ๊ป ที่ถอน ตัวจากการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย เพราะประสบ ปัญหาผลประกอบการจากสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 นั้น
          ทางศูนย์การค้าเอ็มบีเค เซ็นเตอร์ ได้ รับทราบถึงปัญหาดงกล่าว และได้เตรียมแผน รองรับเพื่อพัฒนาปรับปรุงพื้นที่ของห้างสรรพสินค้า โตคิวไว้เรียบร้อยแล้ว ตามกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ ศูนย์การค้าในเครือเอ็มบีเค เพื่อตอบสนองความ ต้องการและความพึงพอใจสูงสุดของผู้มีส่วนได้เสีย ในทุกมิติ ทั้งลูกค้า คู่ค้า และผู้ถือหุ้น
          ทั้งนี้ จากรายงานของ Nikkei Asia ระบุ ว่า ห้างสรรพสินค้า Tokyu สัญชาติญี่ปุ่น เตรียมปิดสาขาในกรุงเทพฯ ในช่วงสิ้นเดือนมกราคม 2564 หลังจากเกิดปัญหาทางด้านการเงินครั้งใหญ่ และไม่มี นักท่องเที่ยว
          ยอดป่วยโลก 44 ล้านคน
          เว็บไซต์ worldometers รายงานสถาน การณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั่วโลก โดย ณ เวลา 18.30 น. (เวลาไทย) ของวันที่ 29 ต.ค. 63 พบผู้ป่วยยืนยันสะสม ติดเชื้อแล้วทั้งสิ้น 44,876,082 คน เสียชีวิตแล้ว 1,180,898 คน และ รักษาหายแล้ว 32,785,794 คน
          ส่วนสถานการณ์ในระดับประเทศสหรัฐอเมริกายังเป็นชาติที่มีผู้ป่วยติดเชื้อมากที่สุด ในโลก ที่จำนวน 9,121,800 คน ตามด้วยอินเดีย 8,041,051 คน, บราซิล 5,469,755 คน, รัสเซีย 1,581,693 คน, ฝรั่งเศส 1,235,132 คน, สเปน 1,194,681 คน, อาร์เจนตินา 1,130,533 คน และ โคลอมเบีย 1,041,935 คน

 pageview  1210911    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved