Follow us      
  
  

สยามกีฬา [ วันที่ 11/02/2564 ]
ช็อก พบทารกแรกเกิด2วันติดโควิด

ศบค. แถลงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 10 ก.พ. 64 พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 157 ราย ยอดป่วยยืนยันสะสม 23,903 ราย รักษาหายอีก 548 ราย ข่าวเศร้าเสียชีวิตศพที่ 80 ขณะเดียวกันมีสถิติใหม่ พบผู้ติดเชื้อโควิต-19 อายุน้อยที่สุดเป็น เด็กหญิงอายุ 2 วัน อยู่ในพื้นที่สมุทรสาคร ส่วนสถานการณ์โควิด กทม. มีรายงานตัวเลขเพิ่ม รปภ. จุฬาฯ ติดเชื้ออีก รวมสะสม 14 รายแล้ว ด้าน พล.อ.ประวิตร กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งฟื้นฟู คุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบจากผลกระทบโควิด-19 ให้ได้รับเยียวยา ส่งเสริมอาชีพและมีงานทำ สร้างหลักประกันทางสังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ขณะที่ทีมผู้เชี่ยวชาญองค์การอนามัยโลก เผย อาจมีการมุ่งเน้น หาต้นตอเชื้อโควิด-19 ในภูมิภาคอาเซียน เพราะมีชายแดนติดกับจีน หลังสรุปผลการสืบสวน เชื้อโควิด-19 ไม่น่าหลุดออกมาจากห้องแล็บในอู่ฮั่น ด้านยอดผู้ป่วยทั่วโลกยังพุ่งไม่หยุด ล่าสุดอยู่ที่ 107.4 ล้านรายแล้ว
          ติดเชื้อรายใหม่ 157 ราย
          เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 10 ก.พ. 2564 นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์ บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย ระบุ พบการติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 157 ราย ดังนี้
          ติดเชื้อในประเทศ 144 ราย ติดเชื้อ จากต่างประเทศ 13 ราย รักษาหายเพิ่มขึ้น 548 ราย กลับบ้านแล้ว 18,914 ราย อยู่ระหว่างรักษา ตัว 4,909 ราย แบ่งเป็นใน รพ. 2,593 ราย และรพ.สนาม 2,316 ราย มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 1 ศพ ยอดผู้เสียชีวิตสะสม 80 ศพ ยอดผู้ป่วยยืนยัน สะสม 23,903 ราย นับเป็นรายที่ 23,747-23,903 ประเทศไทยเป็นอันดับที่ 114 ของโลก
          สถิติใหม่เด็ก 2 วันติดโควิด
          นายแพทย์ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน ยังแถลงรายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อประจํำวันอีกว่า วันนี้มีข่าวเศร้า มีผู้เสียชีวิตศพที่ 80 รักษาหายเพิ่มขึ้นอีก 548 ราย ส่วนผู้ติดเชื้อรายใหม่มี 157 ราย มีดังนี้
          ผู้ป่วยรายใหม่ จากระบบเฝ้าระวังและ ระบบบริการ 38 ราย กทม. 8 ราย, สมุทรสงคราม 1 ราย, มหาสารคาม 1 ราย, สมุทรสาคร 28 รายซึ่งมีผู้ติดเชื้ออายุน้อยที่สุด คือ เด็กหญิงอายุเพียง 2 วัน
          ส่วนการค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในชุมชน 106 ราย แบ่งเป็น สมุทรสงคราม 2 ราย และ สมุทรสาคร 104 ราย และผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ 13 ราย ประกอบด้วย อินเดีย 1 ราย, พิลิปปินส์ 1 ราย, ญี่ปุ่น 1 ราย, สหรัฐอเมริกา 2 ราย, ดูเวต 1 ราย, อาร์เจนตินา 1 ราย, มาเลเซีย 4 ราย และอินโดนีเซีย 5 ราย
          สำหรับผู้เสียชีวิตรายที่ 80 เป็นหญิงไทยอายุ 65 ปี เป็นมะเร็งที่กล่องเสียง ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย มีไขมันในเลือดสูง ก่อนหน้าพบว่ามีสมาชิกในบ้านป่วยโควิด โดยในบ้านติดเชื้อแล้ว 5 จาก 8 คน โดยผู้ป่วยได้เดินทางไปล้างไต วันที่ 29 ม.ค. มี อาการหนาวสั่นก่อนทำการฟอกไต สงสัยว่า มีการติดเชื้อจากบริเวณที่เจาะคอ และมีประวัติสัมผัสผู้ป่วยก่อนหน้า วันที่ 1 ม.ค. ผลพบว่าติดเชื้อ จึงย้ายผู้ป่วย มากทม. มีอาการเหนื่อย หอบ ติดเชื้อรุนแรงขึ้น เลือดออกที่เยื่อบุต่าง ๆ หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน และ พบเชื้อราที่หัวใจ พยายามปรับยาอย่างต่อเนื่อง แต่ไม่เป็นผล และเสียชีวิตในเวลาถัดมา
          จุฬาฯ เจอรปภ.ป่วยเพิ่ม
          จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกประกาศมาตรการของคณะกรรมการโควิด - 19 ฉบับที่ 5/2564 หลังพบผู้ติดเชื้อโควิดเพิ่ม1 ราย สะสม รวม 14 ราย โดยระบุว่าตามที่คณะกรรมการโควิด- 19 จุฬาฯ ประกาศพบผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ซึ่งพักอาศัยในหอพักบุคลากรและ ดำเนินการส่งเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลจุฬาฯ แล้วนั้น
          คณะกรรมการโควิด จุฬาฯ ได้มีมาตรการระดมตรวจคัดกรองโรคเชิงรุกกับกลุ่มผู้สัมผัสใกล้ชิดกับบุคลากรกลุ่มดังกล่าวเพิ่มเติมในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564 อีก 389 คน รวมเป็นผู้ได้ ตรวจคัดกรองโรคแล้ว 619 คน ผลจากการตรวจ คัดกรองเชิงรุกดังกล่าวพบว่า มีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพิ่มเติมอีก 1 คน รวมเป็น 14 คน
          ทั้งนี้ นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 (ศบค.) ได้เปิดเผยถึงกรณีผู้ติดเชื้อใน กทม. 8 ราย เกิดขึ้นในแฟลตที่พักของจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัยคือ พนักงานรักษาความปลอดภัย 4 ราย พนักงานบริษัท 2 ราย และไม่ ระบุ 2 ราย มีความเชื่อม โยงหลายส่วนทั้งแฟลตที่พัก ใกล้ตลาดที่มีแรงงานพม่าอยู่ ด้วย อาจเชื่อมโยงกับแรงงานด้วยหรือไม่ ก็ ต้องมีการสอบสวนต่อ ส่วนมหาสารคามเชื่อมโยงกับคลัสเตอร์เดิม
          นพ.ทวีศิลป์ ยังกล่าวอีกว่า การตรวจเชิงรุกในสมุทรสาครทำไปแล้วแสนกว่าราย ตรวจพบ 7 พันกว่าราย คิดเป็นประมาณ 17 เปอร์เซ็นต์ ทั้งนี้ โรงงานที่มีการติดเชื้อสูงมี 9 โรงงาน โดย 4 โรงมี คนงานจำนวนหลักหมื่นรายและติดเชื้อสูงสุด อัตราติดอยู่ที่ 26-27 เปอร์เซ็นต์ ได้ทำการตรวจและใช้ ระบบ Bubble and Seal ซึ่งคนที่ยังไม่ติดการมีคน ติดมากขนาดนี้ก็อาจติดตามไปด้วยตามธรรมชาติ ถ้าเข้าไปตรวจก็จะเจอคนติดเรื่อย ๆ แน่นอน แต่ที่ไม่ได้ เข้าไปตรวจเพราะไม่ได้มีประโยชน์อะไรในการเปลี่ยนยุทธศาสตร์การดำเนินงาน เนื่องจากถูกกักไว้อยู่แล้ว ก็ต้องทอดเวลารอออกไปให้เกิดการติดเชื้อและจะทยอยตรวจหาภูมิคุ้มกัน ถ้ามีภูมิคุ้มกันจำนวนมากขึ้นเป็นไปตามที่คาดคิด ก็อาจผ่อนคลายที่จะวางแผนมาตรการเพื่อเปิดเมืองขึ้นมา
          *ภาพรวมสมุทรสาคร 3-4 วัน คัดกรองเชิงรุกพบน้อยลง การตรวจพบใน รพ.มีขึ้น ๆ ลง ๆ คือยังแอ็กทีฟอยู่ ส่วน กทม. ยังเบาใจได้บ้าง ยังวางใจไม่ได้ วันก่อนพุ่งขึ้นมาและขึ้น ๆ ลงๆ เช่นกัน สถานการณ์พอกันทั้งสองที่" นพ.ทวีศิลป์กล่าว
          แม่สอดหนักพบติดเชื้อ 22 คน
          หลังจากวันที่ 9 ก.พ. 64 ทีมสอบสวนโรคสาธารณสุขอำเภอแม่สอด จ.ตาก นำเจ้าหน้าที่ ทุกภาคส่วนลงพื้นที่ท่าเรือท่าที่ 13 คลัง 9 ไบค์ คลังจำหน่ายรถจักรยานมือสองจากประเทศญี่ปุ่นที่ ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เพื่อคัดกรองคนงานและผู้ประกอบการทั้งหมด
          โดยก่อนหน้านี้ มีการคัดกรองไปครั้งหนึ่งแล้วจำนวน 100 คน พบติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 8 คน ทำให้ต้องมีการปูพรมคัดกรองแบบยกท่าเรืออีก ครั้ง จำนวน 318 คน เป็นคนไทย 57 คน และชาวเมียนมา 261 คน
          ปรากฏผลห้องแล็บออกมาแล้ว พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 มากถึง 22 คน ทำให้ต้องมีการติดตามผู้ติดเชื้อทั้งหมด นำตัวเข้ารักษาที่โรงพยาบาลแม่สอด
          ขณะที่เมื่อวันที่ 10 ก.พ. 64 ทีมสอบสวน โรคลงพื้นที่มัสยิดอันซอร์ เขตเทศบาลนครแม่สอด เพื่อตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยงเป็นชาวเมียนมา อีกไม่ต่ำกว่า 300 คน
          มัธยมวัดเบญฯขยายปิดเรียน
          นายพงศ์ไท คีรีวงศ์วัฒนา ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร ลงนามในประกาศ โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร เรื่องการปิดสถานศึกษาด้วยเหตุพิเศษ (ฉบับที่ 5 ) โดยระบุว่า ตาม ที่โรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร ได้เปิดการเรียนการ สอนปกติ (on site) ตั้งแต่วันจันทร์ ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ไปแล้วนั้น
          แต่ด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ใน กทม.ยังพบผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่อง และพบว่ามีบุคลากร ทางการศึกษาของโรงเรียนมัธยมวัดเบญจมบพิตร อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยง จึงทำให้โรงเรียนต้องมีการเฝ้า ระวังอย่างเข้มงวดและตระหนักถึงความปลอดภัยของนักเรียน ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่ จะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดดังกล่าว อีกทั้ง เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงและลดโอกาสการแพร่ระบาดใหม่ของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19
          อาศัยอำนาจตามความในข้อ 9 วรรคหนึ่ง (4) ของระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยปีการ ศึกษาการเปิดและปิดสถานศึกษา พ.ศ. 2549 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2558 นั้น จึงประกาศ ปิดสถานศึกษาด้วยเหตุพิเศษ ตั้งแต่วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13.00 น. ถึงวันพฤหัสบดี ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2564 และเปิดการเรียนการสอน ปกติในวันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564
          "บิ๊กป้อม"สั่งช่วยแรงงานนอกระบบ
          เมื่อวันที่ 10 ก.พ. 2564 พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการ ประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบแห่งชาติ (คนช.) ครั้งที่ 1/2564 ที่ห้องประชุม ชั้น 5 กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน โดยมี นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน นางนฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน ให้การต้อนรับ รวมถึง นายสุทธิ สุโกศล ปลัดกระทรวงแรงงาน พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงกระทรวงแรงงาน และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม
          สำหรับการประชุม คนช. ในวันนี้เพื่อ ให้คณะกรรมการทุกคนรับทราบสถานการณ์ปัจจุบัน ของแรงงานนอกระบบ ผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ภายใต้แผนปฏิบัติการด้าน การบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2560-2564 ความคืบหน้าร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมและ พัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบ พ.ศ. ... ความคืบหน้าการดำเนินงานฟื้นฟูคุณภาพชีวิตแรงงานนอก ระบบที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (โควิด-19)
          นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้มีการพิจารณา (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2563-2565 (ร่าง) แผนปฏิบัติการ (Action Plan) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ภายใต้ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการบริหารจัดการ แรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2563-2565 และปรับปรุง คำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อประสานและขับ เคลื่อนนโยบายการบริหารจัดการแรงงานนอกระบบอีกด้วย
          ทั้งนี้ พล.อ.ประวิตร กำชับให้กระทรวงแรงงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งฟื้นฟูคุณภาพชีวิตแรงงานนอกระบบจากผลกระทบโควิด-19 ให้ ได้รับการเยียวยา ส่งเสริมอาชีพและการมีงานทำพัฒนาทักษะฝีมือ เสริมสร้างหลักประกันทางสังคมให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความเสมอภาคทางสังคม เพราะแรงงานนอกระบบ จำนวนกว่า 20.4 ล้านคน ถือเป็นกำลังแรงงานประชากรกลุ่มใหญ่ที่สุดของประเทศ เป็นผู้มีงานทำ ส่วนใหญ่มีรายได้น้อย ต้องทำงานหนัก รวมทั้งต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ เช่น ได้รับค่าตอบแทนจากการทำงานที่ต่ำ การมีงานทำที่ไม่ต่อเนื่อง ขาดหลักประกันทางสังคม ไม่มีความปลอดภัยอาชีวอนามัยในการทำงาน
          "สิ่งที่ท้าทายรัฐบาลอยู่ในวันนี้ คือ การ หาวิธีแก้ไขปัญหา และการบริหารจัดการกับกลุ่ม แรงงานนอกระบบที่มีจำนวนมาก ให้มีอาชีพ มีงานทำ มีทักษะฝีมือ มีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ตลอดจนให้มี หลักประกันทางสังคมและความมั่นคงในชีวิตที่ดีอย่างยั่งยืน เข้าถึงโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม อย่างไรก็ตาม ยังได้กำชับให้ทุกหน่วยงานเร่งรัดขับ เคลื่อนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการฯ ที่เห็นชอบร่วมกันต่อไป"
          WHO ระบุเชื้อไม่ได้มาจากอู่ฮั่น
          เมื่อ 10 ก.พ. 64 สำนักข่าวบีบีซี รายงานความคืบหน้ากรณีทีมผู้เชี่ยวชาญจากองค์การอนามัย โลก (WHO) นาโดย ดร.ปีเตอร์ เบน เอ็มบาเรค แถลงผลการลงพื้นที่เมืองอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย์ ของจีน เพื่อสืบหาต้นตอของเชื้อโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 หรือ โควิด-19 ที่ระบาดใหญ่ทั่วโลก ทำให้มีผู้ติดเชื้อ แล้วกว่า 106 ล้านราย และเสียชีวิตเกิน 2.3 ล้านศพ ดูเหมือนต้นกำเนิดของเชื้อโควิด-19 ไม่น่าจะมาจากห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ (ห้องแล็บ) ในเมือง อู่ฮั่น ตามที่มีคนบางกลุ่มสันนิษฐานกันนั้น
          ดร.ปีเตอร์ แดสแซก ผู้เชี่ยวชาญคนหนึ่ง ในทีมสืบสวนขององค์การอนามัยโลก ยังเปิดเผยกับ นักข่าวบีบีซีในเมืองอู่ฮั่นว่า ขณะนี้ การสืบหาต้นตอ ของเชื้อโควิด-19 อาจมุ่งเน้นมาที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน)
          พวกเราได้ทำงานหลายเรื่องมากในจีนและถ้าหากมีการวาดแผนที่กลับไปชี้ยังจุดเริ่มต้นที่ชายแดน ซึ่งพวกเรารู้ว่ามีการสังเกตการณ์ในเรื่องนี้ น้อยมากในอีกด้านหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด โดยจีนเป็นประเทศที่ใหญ่มาก และ ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ใหญ่มากเช่นกัน โดยห่วงโซ่อุปทานตั้งแต่การหาสินค้า วัตถุดิบ จนถูกส่งไปถึงตลาดอาหารทะเลหัวหนาน ในเมืองอู่ฮั่น มีความกว้างขวางมาก เพราะมาจากประเทศอื่น ๆ ด้วย และยังมาจากสถานที่อื่น ๆ ในจีนอีก ด้วยเหตุนี้ การติดตามค้นหาต้นตอของเชื้อโควิด-19 ที่แท้จริง ก็คือการสืบหากลับไปยังต้นตอของสินค้าเหล่านั้น" ดร.แดสแซก กล่าว
          ทั้งนี้ ทีมผู้เชี่ยวชาญขององค์การอนามัย โลก นำโดย ดร.เอ็มบาเรค ได้เริ่มสืบหาต้นตอของเชื้อในเมืองอู่ฮั่น เมื่อเดือนมกราคม 2564 ภายใต้การติดตามสังเกตการณ์จากเจ้าหน้าที่จีน หลังจากองค์การอนามัยโลกได้ใช้เวลาหลายเดือนในการเจรจา ขออนุญาตจากทางการจีน และได้เดินทางกลับในวันที่ 10 ก.พ.
          ดร.เอ็มบาเรค ได้แถลงข่าวสรุปการสืบสวนว่า เชื้อโควิด-19 ไม่น่าจะหลุดออกมาจาก ห้องแล็บในเมืองอู่ฮั่น และทีมผู้เชี่ยวชาญยังเชื่อว่าดูเหมือนต้นตอของเชื้อโควิด-19 นั้นมาจากสัตว์ ก่อนจะแพร่ระบาดผ่านสัตว์ตัวกลางและติดต่อมาสู่คน ซึ่งขณะนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดถึงวิธีการติดต่อจากสัตว์มาสู่ คนได้อย่างไร
          ดร.เอ็มบาเรค ยังกล่าวด้วยว่า ขณะนี้ยังไม่มีการชี้ชัดว่าเชื้อโควิด-19 มีการระบาดติดต่อใน เมืองอู่ฮั่น ก่อนจะมีการบันทึกว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคโควิด-19 รายแรกในเดือนธันวาคม 2562 โดย นายเหลียง หวันเหนียน ผู้เชี่ยวชาญในคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติของจีน ยังชี้ว่าเชื่อโควิด-19อาจมีการแพร่ระบาดในภูมิภาคอื่นๆ ก่อนจะถูกตรวจพบในเมืองอู่ ฮั่นก็เป็นได้
          ทั่วโลกป่วยรวม 107.4 ล้าน
          เว็บไซต์ worldometers รายงานสถาการณ์โควิด-19 ทั่วโลก ประจำวันที่ 10 ก.พ. 64 โดยระบุตัวเลขผู้ติดเชื้อทั่วโลก ณ เวลา 18.30 น.(เวลาไทย) อยู่ที่จ้านวน 107,481,521 คน เสียชีวิตแล้ว 2,353,063 คน และรักษาหายแล้ว 79,409,897 คน

 pageview  1210888    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved