สถานการณ์ไข้หวัดนก




 
ใครมีส่วนร่วม กับการแก้ไขปัญหาไข้หวัดนก

ผู้ที่มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดเหตุการณ์การระบาดของไข้หวัดนกในประเทศไทยคือ
• กระทรวงแรงงาน * รายละเอียด *
• กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมปศุสัตว์) * รายละเอียด *
• กระทรวงสาธารณสุข (กรมควบคุมโรค) มีหน้าที่ในการดำเนินงานเพื่อป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก
      * รายละเอียด *
• กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม * รายละเอียด *
• สำนักงานคณะกรรมการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ * รายละเอียด *
• กระทรวงมหาดไทย
• กระทรวงศึกษาธิการ
• กระทรวงการต่างประเทศ
• กรมประชาสัมพันธ์
• สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
• สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
• สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข * รายละเอียด *
• สถาบันทางการเงิน * รายละเอียด *



สถานการณ์ปัจจุบัน


สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกในต่างประเทศ สถานการณ์ไข้หวัดนกในสัตว์ปีกตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 25 เมษายน 2550 มีรายงานการพบโรคไข้หวัดนกชนิด H5N1 ใน 20 ประเทศ ดังนี้

                1. ทวีปเอเชีย ได้แก่ ประเทศจีน คูเวต เวียดนาม พม่า ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ลาว อัฟกานีสถาน ปากีสถาน ฮ่องกง บังคลาเทศ ซาอุดิอาระเบีย และกัมพูชา
                2. ทวีปยุโรป ได้แก่ ประเทศฮังการี อังกฤษ รัสเซีย ตุรกี และสโลเวเนีย
                3. ทวีปแอฟริกา ได้แก่ ประเทศไนจีเรีย และแอลจีเรีย

สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกในประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 25 เมษายน พ.ศ. 2550 พบโรคไข้หวัดนกในสัตว์ปีกชนิด H5N1 จำนวน 4 จุด ดังนี้

                1. จังหวัดพิษณุโลก ยืนยันการพบเชื้อโรคไข้หวัดนก เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2550 ในพื้นที่ หมู่ที่ 5 ตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก จากตัวอย่างซากเป็ดไข่พันธุ์กากีแคมเบล อายุ 5 เดือน โดยเกษตรกรเลี้ยง 2,100 ตัวป่วยตายรวมทั้งสิ้น 168 ตัว ซึ่งได้ทำลายสัตว์ปีกในบริเวณจำนวน 1,932 ตัว ตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม 2550

                2. จังหวัดหนองคาย ยืนยันการพบเชื้อโรคไข้หวัดนก เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2550 ในพื้นที่ หมู่ที่ 8 ตำบลพานพร้าว อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย จากตัวอย่างซากไก่ไข่ โดยเกษตรกรเลี้ยง 2,000 ตัว ป่วยตายรวมทั้งสิ้น 236 ตัว ซึ่งได้ทำลายสัตว์ปีกในบริเวณจำนวน 1,860 ตัว ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2550

                3. จังหวัดอ่างทอง ยืนยันการพบเชื้อโรคไข้หวัดนก เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2550 ในพื้นที่ หมู่ที่ 3 ตำบลมงคลธรรมนิมิต อำเภอสามโก้ จังหวัดอ่างทอง จากตัวอย่างซากไก่ โดยเกษตรกรเลี้ยง 16 ตัว ป่วยตายรวมทั้งสิ้น 6 ตัว ทำลายสัตว์ปีกในบริเวณ จำนวน 10 ตัว ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2550

                4. จังหวัดมุกดาหาร ยืนยันการพบเชื้อโรคไข้หวัดนก เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2550 ในพื้นที่ หมู่ที่ 9 ตำบลบางทรายใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร จากตัวอย่างซากไก่พื้นเมือง โดยเลี้ยงสัตว์ปีกทั้งสิ้น 199 ตัว ป่วยตายรวมทั้งสิ้น 26 ตัว ซึ่งได้ทำลายสัตว์ปีกในบริเวณจำนวน 173 ตัว ตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2550 (ข้อมูลจากกรมปศุสัตว์)

สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในคนทั่วโลก ตั้งแต่ พ.ศ. 2546 จนถึง วันที่ 19 เมษายน 2550 มีผู้ป่วยยืนยันโรคไข้หวัดนกรวม 291 ราย เสียชีวิต 172 ราย ใน 12 ประเทศ เฉพาะในปี พ.ศ. 2550 นี้มีผู้ป่วย 28 ราย เสียชีวิต 14 ราย ดังรูป



กราฟแสดงจำนวนการป่วยตายโรคไข้หวัดนกในคน พ.ศ. 2546 – 19 เม.ย.2550




                 สถานการณ์โรคไข้หวัดนกในคนของประเทศไทย พ.ศ.2550 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2550 – 17 เมษายน 2550 สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ได้รับรายงานผู้อยู่ในข่ายเฝ้าระวังโรค สะสม 1,261 ราย จาก 65 จังหวัด พบผู้ป่วยติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ต่างๆ ดังนี้ Influenza A(H1) จำนวน 6 ราย Influenza A(H3) จำนวน 568 ราย Influenza A(H5N1) จำนวน 1ราย และInfluenza B จำนวน 31 ราย

                ผู้ป่วยยืนยันที่พบในไทยในปี 2550 เป็นเด็กหญิงลาว เข้ามารับการรักษาในประเทศไทยที่จังหวัดหนองคาย จากการสอบสวนพบว่า ในละแวกที่อยู่อาศัยของผู้ป่วยมีสัตว์ปีกป่วยตายผิดปกติ และจากการสอบถามภายหลังทราบว่าเด็กได้สัมผัสโดยตรงกับสัตว์ปีกป่วยตาย (ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข)

                ดังจะเห็นว่าสถานการณ์ไข้หวัดนกในปัจจุบันทวีเอเชียยังมีการระบาดอย่างต่อเนื่อง และยังไม่หมดไป ประเทศไทยยังมีความเสี่ยงต่อการระบาด หากไม่ดำเนินกิจกรรมการเฝ้าระวังและควบคุมโรคอย่างเข้มแข็งอย่างต่อเนื่องทั้งในสัตว์และคน



พร้อมแค่ไหน ถ้าเกิดการระบาดใหญ่ ?

                 คงไม่สามารถให้คำตอบอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดได้ แต่คำตอบในขณะนี้คือ ประเทศไทยได้เตรียมการอย่างดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ และเชื่อว่าคงจะมีการปรับแผนไปตามการพัฒนาของโรคหรือเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป ณ วันนี้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในจำนวนไม่กี่ประเทศที่มีแผนระดับชาติเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่แต่เนิ่นๆ(ปัจจุบัน ไม่ถึง 50 ประเทศทั่วโลกมีแผนเตรียมความพร้อมในเรื่องนี้) แผนนี้เรียกว่า “แผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ปัญหาการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ ซึ่งประกอบด้วยมาตรการและแผนการดำเนินการ 5 ด้านดังที่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขได้ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งมีการซ้อมแผนฯสำหรับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ กระทรวงสาธารณสุขครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2550 ที่ผ่านมา ส่วนกรมปศุสัตว์ก็ได้มีการซ้อมแผนปฏิบัติการเฝ้าระวังในสัตว์เช่นกัน



อยู่อย่างไร กับไข้หวัดนก

                นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า วันนี้โลกมนุษย์ได้มาถึงรอยต่อระหว่างไข้หวัดนกกับการระบาดใหญ่ของไข้หวัดใหญ่ในคน ถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอีกระดับหนึ่งเชื้อโรคนี้อาจแพร่สู่คนได้โดยตรง และเมื่อวันนั้นมาถึง การระบาดใหญ่ของโรคก็คงจะเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก นั่นหมายถึงชีวิตมนุษย์นับล้านอาจจะต้องสูญเสียไปภายในเวลาอันสั้น เหมือนอย่างที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วถึง 6-7 ครั้ง ในรอบสองศตวรรษที่ผ่านมาแต่ไม่ว่าวันนั้นจะมาถึงหรือไม่ และจะมาถึงเมื่อไร การระบาดของโรคไข้หวัดนกก็ยังดำเนินต่อไป แม้จะสามารถควบคุมได้ในพื้นที่หนึ่ง ก็ยังโผล่ขึ้นได้ในพื้นที่อื่นหรือกลับมาใหม่ได้อีกในพื้นที่เดิม สิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือต้องปรับตัว และปรับวิถีชีวิตเริ่มตั้งแต่ระดับบุคคลไปจนถึงระดับสังคม ปัญหาท้าทายในวันนี้คือ เราจะเรียนรู้ที่จะอยู่กับโรคระบาดนี้อย่างไรจึงจะสูญเสียน้อยที่สุด นี่เป็นเรื่องใหญ่ที่ไม่เพียงแต่ต้องการ ความชัดเจนในนโยบายเท่านั้น แต่ยังต้องการความร่วมมือ และปฏิบัติการที่โปร่งใส และฉับไวของทุกภาคส่วน ทั้งในระดับชาติและระดับโลกด้วย




เรียบเรียงโดย :  ตวงทิพย์ ธีระวิทย์ สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ
แหล่งที่มา :  - กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข “ ไข้หวัดใหญ่สัตว์ปีกหรือโรคไข้หวัดนก “ เอกสารออนไลน์ [http://www-ddc.moph.go.th/Bird_flu_brif_12072004.html]
 - กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข” ทันสถานการณ์โรคไข้หวัดนก” เอกสารออนไลน์ [http://thaigcd.ddc.moph.go.th/AI_situation_060216.html]
 - กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข “ การเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในคน “ ลงวันที่ 27 มีนาคม 2550.เอกสารออนไลน์ [http://epid.moph.go.th/invest/ai/aimain.php]
 - กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์” มาตรการร่วมแก้ไขปัญหาโรคระบาดไข้หวัดนกภายใต้ โครงการความร่วมมือทางการเงินเพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจรากหญ้า “ ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2547 เอกสารออนไลน์ [http://www.dld.go.th/home/bird_flu/bank.rtf]
 - กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์“รายงานการประชุมคณะกรรมการอำนวยการป้องกัน ควบคุม แก้ไขสถานการณ์โรคไข้หวัดนกและการเตรียมพร้อมสำหรับการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่ ครั้งที่ ๒/๒๕๕๐ ” ลงวันที่ 9 พฤษภาคม 2550 เอกสารออนไลน์ [http://www.dld.go.th/home/bird_flu/16-10-49KAN/006/9-5-50.doc]
 - กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์“ สรุปผลการดำเนินงานวันที่ 1 เมษายน 2550 – 1 มิถุนายน 2550” ลงวันที่ 1 มิย.2550 เอกสารออนไลน์ [http://www.dld.go.th/home/bird_flu/menu_detail.html]
 - กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์“ สรุปผลการดำเนินงานวันที่ 1 เมษายน 2550 – 1 มิถุนายน 2550” ลงวันที่ 1 มิย.2550 เอกสารออนไลน์ [http://www.dld.go.th/home/bird_flu/menu_detail.html]
 - กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ “ โรคไข้หวัดนกคลี่คลายอย่างไร” เอกสารออนไลน์ [http://www.dld.go.th/home/bird_flu/cleclai.ppt#281,46,แผนการป้องกันโรคระบาดสัตว์ปีกระยะยาว]
 - กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์“ มาตรการช่วยเหลือของกระทรวงแรงงาน” เอกสารออนไลน์ [http://www.dld.go.th/home/bird_flu/labor.rtf]
 - กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์“ รายละเอียดจุดพบโรคไข้หวัดนกชนิด H5N1 ปี 2550 ” เอกสารออนไลน์ [http://www.dld.go.th/home/bird_flu/16-10-49KAN/file/nt5/1-5-501.xls ]
 - กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์“ มาตรการควบคุมและกำจัดโรคไข้หวัดนก ”ค้นคว้าวันที่ 29 พ.ค.2550 เอกสารออนไลน์ [http://www.dld.go.th/home/bird_flu/chick3.html ]
 - ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา[และคณะ]. 2548.“ ทางสองแพร่งของนโยบายไข้หวัดนกจะเลือกสุขภาพคน หรือธุรกิจสัตว์ปีก” บทความทางวิชาการประกอบรายงานสุขภาพคนไทย 2548.สถาบันวิจัยประชากร และสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
 - ชื่นฤทัย กาญจนะจิตรา[และคณะ]. 2549.” อยู่อย่างไรกับไข้หวัดนก ปรับเปลี่ยนเพื่ออยู่รอด ” บทความทางวิชาการประกอบรายงานสุขภาพคนไทย 2549. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
 - สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข “ สถานการณ์การระบาดของไข้หวัดนกใน สัตว์” รายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์.ปีที่ 35 ฉบับที่ 2S ,เมษายน – มิถุนายน 2547.กลุ่มพัฒนาระบบและมาตรฐานงานระบาดวิทยา.สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
 - สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข “ สถานการณ์การระบาดของไข้หวัดนกใน ประเทศไทย” รายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์.ปีที่ 35 ฉบับที่ 2S,เมษายน – มิถุนายน 2547.กลุ่มพัฒนาระบบและมาตรฐานงานระบาดวิทยา.สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
 - สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข “ สถานการณ์การระบาดของไข้หวัดนกใน คนทั่วโลก” รายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์.ปีที่ 35 ฉบับที่ 2S,เมษายน – มิถุนายน 2547.กลุ่มพัฒนาระบบและมาตรฐานงานระบาดวิทยา.สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
 - สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข“ แนวทางการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนก” รายงานเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาประจำสัปดาห์.ปีที่ 35 ฉบับที่ 2S,เมษายน – มิถุนายน 2547.กลุ่มพัฒนาระบบและมาตรฐานงานระบาดวิทยา.สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
 - สำนักโรคไข้หวัดใหญ่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข”การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนกและเตรียมความพร้อมรับต่อการระบาดใหญ่ของโรคไข้หวัดใหญ่” ปีที่ 1 ฉบับที่1 มกราคม 2550
เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง :  http://www.dld.go.th/ict/ ศูนย์สารสนเทศ กรมปศุสัตว์
 http://thaigcd.ddc.moph.go.th/AI_situation_060216.html สำนักโรคไข้หวัดใหญ่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข




 ย้อนกลับ




 












หน้าแรก | เกี่ยวกับแผนงาน | เครือข่ายและกิจกรรม | ผลผลิตและรายงาน | ข้อมูลสถิติ | การจัดการความรู้ | หน่วยงาน | ติดต่อแผนงาน | เจ้าหน้าที่ดูแลระบบ
แนะนำแผนงาน | ข่าวกิจกรรม | เกาะติดกิจกรรมเด่น | หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | ผลผลิตและรายงาน| รายงานสุขภาพ| ก้าวใหม่กับ HISO | สถานการณ์สุขภาพประเทศไทย
การวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพ | สถานการณ์ข่าวสุขภาพ | เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สื่อข้อมูลสุขภาพ | แบบสำรวจสุขภาพ | webbord | คำถามที่พบบ่อย | สมุดเยี่ยมชม | บริการข้อมูล