HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์มติชน [ วันที่ 02/05/2555 ]
เลี่ยงน้ำร้อนปกป้องผิวหนังเด็ก

โรคผิวหนังแห้งผื่นแดงคันในเด็กเล็กไม่ควรมองข้าม เพราะอาจเป็นที่มาของโรคภูมิแพ้ผิวหนัง ควรดูแลรักษาโดยใช้ครีมที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติสามารถทาได้บ่อยครั้งสามารถใช้ได้ทั้งเด็กเล็กๆ และเด็กโต
          สำหรับโรคผิวหนังในเด็กนั้น นพ.วิทยา อัศววิเชียรจินดา ผู้เชี่ยวชาญกุมารเวชศาสตร์ โรคภูมิแพ้ และภูมิคุ้มกัน โรงพยาบาลพญาไท 3 เปิดเผยว่า โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง หรือที่เรียกว่า Atopic Dermatitis พบบ่อยในเด็กทารกหรือเด็กเล็กกว่า 20% ที่เป็นโรคนี้ อาการของโรคผิวหนังจะแห้งและเกิดอาการคันร่วมด้วย ยิ่งเกาจะยิ่งเป็นมากขึ้น ผื่นจะเป็นๆ หายๆ โดยอาการอาจแตกต่างกัน แต่มักจะเกิดผื่นตามข้อศอก ข้อพับบริเวณเข่า บริเวณมือ เท้า แขน ขา ลำตัว หนังศีรษะ หน้า หรือหลังใบหู กรณีเด็กทารกมักจะพบผื่นอักเสบบริเวณแก้ม ลำคอ ด้านนอกของแขนและขาทั้งสองข้าง
          สาเหตุของโรคยังไม่ทราบแน่ชัดแต่เชื่อว่ากรรมพันธ์มีส่วนเกี่ยวข้อง และ 2 ใน 3 ของผสมของสาร SLS/SLES จะได้ไม่ระคายเคือง หลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นการเห่อของผื่น
          นพ.วิทยาบอกด้วยว่า สัญญาณแห่งการติดเชื้อ-ผิวหนังจะรู้สึกร้อนแดงขึ้นและอ่อนนุ่มกว่าปกติ มีผื่นเล็กๆ ขึ้นบนผิวหนัง บางรายเป็นปี้น วงกว้าง อาจทำให้เกิดแผลติดเชื้อ ควรทาครีมแก้คันที่ไม่มีส่วนผสมของสเตรียรอยด์ให้ทั่ว ครีมบำรุงผิว ที่มีฤทธิ์แก้คันและช่วยให้ผิวไม่แห้งจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดผื่นคันและการติดเชื้อเพิ่มเติม โดยครีมที่ดีต้องผลิตจากสารธรรมชาติ มีสาร สติมูเทค-เอเอส ที่ได้จากพืช สารตัวนี้จะช่วยลดอาการผื่นคัน บวมแดงร้อนได้ดี และมีสารแซคคาไรด์ ไอโซเมอเรท ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหนัง เป็นสารที่มีความปลอดภัยสูง สามารถใช้กับเด็กเล็กๆ อายุตั้งแต่ 15 วันก็สามารถใช้ได้แล้ว โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีอาการผื่นระดับน้อยถึงปานกลางใช้ได้บ่อยเท่าที่ต้องการ เมื่อหายแล้วก็ควรทาไปเรื่อยๆ เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นใหม่
         

 


pageview  1210913    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved