HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์มติชน [ วันที่ 15/01/2564 ]
แพทย์เตือน อย่ากิน ถั่งเช่าสกัด ต่อเนื่อง อาจเสี่ยงภาวะไตวาย

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เตือนกินถั่งเช่าสกัดต่อเนื่องเสี่ยงภาวะไตวาย โดย รศ.ดร.ภญ.มยุรี ตั้งเกียรติกำจาย สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก เผยพบผู้ป่วยไตเรื้อรัง 3 ราย มีทั้งวัยกลางคนและสูงอายุ ที่ทานถั่งเช่า 1 เม็ดต่อวัน เป็นเวลาประมาณ 1 เดือน
          เพจ "นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค" ได้โพสต์ให้ความรู้ เผยบทความ "หัวข้อกินถั่งเช่าสกัดต่อเนื่อง เสี่ยงไตวาย" ต้องระบุคำเตือนในฉลาก โดยอ้างอิงข้อมูลจาก รศ.ดร.ภญ.มยุรี ตั้งเกียรติกำจาย สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิก คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ที่พบผู้ป่วยไตเรื้อรัง 3 ราย วัยกลางคนและสูงอายุ ใช้สารสกัดถั่งเช่า รับประทาน 1 เม็ดต่อวัน เป็นเวลาประมาณ 1 เดือน ค่าการทำงานของไตแย่ลง (eGFR ลดลง) เมื่อหยุดใช้ค่าการทำงานของไตดีขึ้น บางคนไม่ดีขึ้นกลายเป็นไตวายระยะสุดท้าย
          ในปี พ.ศ. 2562-2563 พบผู้ป่วยจำนวน 8 ราย เป็นผู้ป่วยสูงอายุมีโรคหัวใจ รับประทานสารสกัด ถั่งเช่าสีทอง วันละ 1 เม็ดประมาณ 1 เดือน ค่าการ ทำงานของไตแย่ลงเมื่อหยุดใช้ค่าการทำงานของไตดีขึ้น อีก 6 ราย มีอาการไตวายเฉียบพลัน 1 ราย, 2 รายเป็นโรคไตเรื้อรังระยะ 3-4 บางรายเมื่อหยุดใช้แล้วไตดีขึ้น บางรายต้องฟอกเลือด พบอีก 1 รายใช้กาแฟถั่งเช่า ร่วมกับยาแก้ปวดและสมุนไพรผสม สเตียรอยด์ ทำให้ค่าการทำงานของไตแย่ลง
          กรณีนี้อาจจะคล้ายกับการทานขี้เหล็กสกัด ทำให้มีอาการตัวเหลืองตาเหลือง ทั้งที่ใบขี้เหล็กช่วยอาการนอนไม่หลับ บำรุงตับ ช่วยไม่ให้ท้องผูก แต่เมื่อใบ ขี้เหล็กถูกทำเป็นยาชนิดเม็ด ก็เริ่มพบผู้ป่วยด้วยโรคตับอักเสบ ตัวเหลือง จนต้องยุติการขึ้นทะเบียนและการจำหน่ายยาสมุนไพรชนิดนี้ในท้ายที่สุด
          ส่วนเรื่องถั่งเช่า นอกจากปัญหาการทำงานของไต หลายคนเบื่อการโฆษณาการขายถังเช่า ที่โฆษณามากจนน่ารำคาญ ทำให้รู้สึกว่าทำไมถึงขายถั่งเช่าสกัดกันทั้งบ้านทั้งเมือง อ้างสรรพคุณรักษาโรคเรื้อรังสารพัด บำรุงร่างกาย เพิ่มพลังทางเพศ ทำให้คนที่มีปัญหาสุขภาพหรือโรคเรื้อรังอดใจไว้ไม่อยู่ อยากทดลอง แต่ผลลัพธ์กลับส่งผลต่อความรุนแรงของโรคหรือเกิดโรคบางประเภท เช่น ไตวายเรื้อรัง จึงอยากให้ กสทช. กำกับร่วมกับ อย. เข้มข้นเรื่องการโฆษณาผิดกฎหมาย เกินจริง โอ้อวด รวมทั้งให้ผู้ผลิตผู้จัดจำหน่ายทั้งหลายเร่งปรับปรุงฉลาก ให้มีคำเตือนที่ชัดเจนในการใช้ผลิตภัณฑ์นี้".


pageview  1210906    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved