|
|
|
หนังสือพิมพ์มติชน [ วันที่ 23/01/2555 ] |
|
|
|
|
ดูแลดวงตาคู่งาม |
|
|
|
|
รู้หรือไม่ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นกับดวงตาส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากไลฟ์สไตล์ของเราเองที่ขาดการทะนุถนอม (นอกเหนือจากค่าสายตาสั้นหรือยาวแต่กำเนิด) ใช้สายตาแบบไม่ดูแลจนผลร้าย ต่อประสิทธิภาพการมองเห็น การดูแตดวงตาตั้งแต่เนิ่นๆจะช่วยแก้ไขปัญหาดังกล่าวได้ อีกทั้งยังประหยัดเงินที่ต้องจ่ายค่ารักษาอีกด้วย
พญ. เกศรา โกสัลล์ประไพ จากโรงพยาบาลไทยจักษุพระราม 3 กล่าวว่า หนุ่มสาวปัจจุบันที่ใช้คอมพิวเตอร์นานเกินไป มักประสบปัญหาเกี่ยวกับสายตาอยู่เสมอ โดยเรียกอาการวมๆเหล่านี้ว่า Compuser Vision Syndrome (CVs) เช่น รู้สึกตาแห้ง หรือกล้ามเนื้อตาอ่อนล้า ซึ่งป้องกันอาการดังกล่าวได้ด้วยการใช้คอมพ์ต่อเนื่องอย่างมาก 45 นาทีเท่านั้น แล้วพักด้วยการหลับตา 1-2 นาที น้ำในดวงตาจะช่วยให้รู้สึกสดชื่น มีชีวิตชีวา แต่ถ้ารู้สึกว่าแห้งมากก็อาจหยอดน้ำตาเทียมร่วมด้วย
หากเพ่งสายตามากๆ อาจส่งผลให้สายตาสั้นขึ้น แต่ในรายที่อายุ 30 ปีขึ้นไป มักไม่ค่อยส่งผลต่อค่าสายตา อย่างไรก็ดี หากต้องใช้งานสมาร์ตโฟนหรือแท็บแล็ตก็ควรอยู่ในที่ที่มีแสงสว่างพอเพียง และขยายขนาดอักษรให้อ่านง่าย ไม่ต้องเพ่ง
บริหารดวงตาด้วยการกลอกลกตาให้อยู่ด้านบนสุด ล่างสุด ขวาสุด และซ้ายสุด ก็สามารถช่วยบริหารกล้ามเนื้อตาได้
นอกจากนี้ อีกหนึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นกับดวงตา คืออาการติดเชื้อและอักเสบจากคอนแทคเลนส์ ซึ่ง นพ.อภิวัฒน์ โพธิกำจร กล่าวว่า มีสาเหตุมาจากตัวคอนแทคเลนส์เอง น้ำยาที่ใช้และตลับใส่เลนส์รวมถึงไลฟ์สไตล์การใช้ ซึ่งพบว่า 2ใน 3 ของผู้ติดเชื้อมักนอนหลับขณะใส่ หรือใช้ร่วมกับผู้อื่น ทำให้เกิดการติดเชื้อได้
หากต้องการใช้จึงควรใช้ให้ถูกวิธี ดังนี้
1 ใช้ไม่เกินวันที่กำหนด ที่สำคัญควรเปลี่ยนน้ำยาทุกวัน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อ
2 ดูวันหมดอายุก่อนใส่ ตรวจสอบความเรียบร้อยของบรรจุภัณฑ์ เลือกผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน
3 ควรเช็กสุขภาพตา เพราะโรคบางอย่างทำให้ไม่ควรใช้คอนแทคเลนส์ อาทิ โรคต้อเนื้อ ต้อลม เพราะอาจสูญเสียการมองเห็นแบบถาวร
4 เปลี่ยนตลับเลนส์ทุก 3 เดือน ซึ่งทุกครั้งที่ซื้อน้ำยาขวดใหม่ มักจะมีตลับแถมมาด้วย
5 ไม่ใส่เวลานอน แม้เป็นชนิดนอนได้ก็ตาม และไม่ใส่ขณะว่ายน้ำ เพราะอาจทำให้ติดเชื้อได้เช่นกัน |
| | |
|
| |
|
pageview 1220044 |
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO) ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000 Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th | | |
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved
|
| |