HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์ข่าวสด [ วันที่ 24/06/2564 ]
จุ-ฬา-คอฟ-ไนน์-ทีน ChulaCov19 ไทยแลนด์ วัคซีน จากจุฬาฯ

 เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2564 ทางโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำวัคซีน ChulaCovl19 (จุ-ฬา-คอฟ-ไนน์-ทีน) มาทดสอบโดยฉีดวัคซีนให้ กับอาสาสมัครผู้ผ่านการคัดกรองที่มีสุขภาพดี ระยะที่ 1 และต่อเนื่องในระยะที่ 2 เพื่อดูการ ตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อวัคซีน ภายใต้การ ดูแลของทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล ทีมนัก วิจัย ที่อาคารภูมิสิริมังคลานุสรณ์ โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
          ศ.นพ.สุทธิพงศ์ วัชรสินธุ ผอ.โรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า จากการแพร่ระบาดของ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโควิด-19 ในประเทศไทย โรงพยาบาลจุฬาฯ ได้จัดเตรียม ความพร้อมของสถานที่ แพทย์ พยาบาลบุคลากร เทคโนโลยีต่างๆ ที่ทันสมัย มีมาตรฐาน นำมาใช้ในการตรวจคัดกรองและรักษาประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          นอกจากนี้มีศูนย์วิจัยวัคซีนฯ ซึ่งเป็นสถาบันการวิจัยทางการแพทย์ที่ได้รับความ ร่วมมือจากนักวิจัยทางการแพทย์ และนักวิทยาศาสตร์ทั้งในระดับประเทศและระดับ โลกมาร่วมกันพัฒนา วิจัย ต่อยอด คิดค้น ผลิตวัคซีน เพื่อใช้ในการป้องกันโรคต่างๆ ให้ กับประชาชน
          ล่าสุด การพัฒนาวัคซีน ChulaCov19 ใน วันที่ 14 มิ.ย. เป็นวันแรกที่ทดสอบในอาสา สมัครในระยะที่ 1 และต่อเนื่องไปในระยะที่ 2 ภายใต้การควบคุมดูแลจากหลายภาคส่วนรวมถึงมีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ของศูนย์วิจัยวัคซีนฯ มาดูแลอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่น และมั่นใจในความปลอดภัยสูงสุดของการทดสอบฉีดวัคซีน
          ต้องขอขอบคุณกระทรวงสาธารณสุข สถาบันวัคซีนแห่งชาติ ศูนย์วิจัยวัคซีนฯ และ อีกหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ เอกชน และ ภาคประชาชน รวมถึงนักวิจัยทางการแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ทั้งในระดับประเทศและ ระดับโลกที่ร่วมกันพัฒนาวิจัย ต่อยอดคิดค้น ผลตัวคซิน
          รวมถึงการพัฒนาวัคซีน ChulaCov19 จน ประสบความสำเร็จสามารถผลิตและพร้อม ฉีดให้กับอาสาสมัคร นับว่าเป็นเรื่องที่น่ายินายนดีอย่างยิ่ง ที่จะนำมาใช้และสร้างคุณประโยชน์ และชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยในระดับสากล อย่างแน่นอน
          ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม ผอ.บริหารโครงการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ศูนย์วิจัยวัคซีนฯ กล่าวว่า การพัฒนาวัคซีน ChulaCov19 ได้รับการสนับสนุนจากทางภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชน อาทิ สถาบันวัคซีนแห่งชาติ, สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.), ทุนศตวรรษที่สอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเงินบริจาคจากสมาคมศิษย์เก่าแพทย์จุฬาฯ กองทุนบริจาควิจัยวัคซีน สภากาชาดไทย
          วัคซีน ChulaCov19 เป็นการคิดค้นออกแบบและพัฒนาโดยคนไทย จากความร่วมมือสนับสนุนโดยแพทย์นักวิทยาศาสตร์ผู้คิดค้น เทคโนโลยีนี้ของโลกคือ ศาสตราจารย์ ดริว ไวสส์แมน - Prof. Drew Weissman มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนี่ย
          วัคซีน ChulaCov19 ผลิตโดยสร้างชิ้นส่วนขนาดจิ๋วจากสารพันธุกรรม ของเชื้อไวรัสโคโรนา (โดยไม่มีการใช้ตัวเชื้อแต่อย่างใด) ซึ่งเมื่อร่างกาย ได้รับชิ้นส่วนของสารพันธุกรรมขนาดจิ๋วนี้เข้าไป จะสร้างเป็นโปรตีนที่ เป็นส่วนปุ่มหนามของไวรัสขึ้น (spike protein) และกระตุ้นให้เกิดการ สร้างภูมิคุ้มกันไว้เตรียมต่อสู้กับไวรัสเมื่อไปสัมผัสเชื้อ
          เมื่อวัคซีนชนิด mRNA ทำหน้าที่ให้ร่างกายสร้างโปรตีนเรียบร้อยแล้ว ภายในไม่กี่วัน mRNA นี้จะถูกสลายไปโดยไม่มีการสะสมในร่างกายแต่อย่างใด
          ที่ผ่านมาทางศูนย์วิจัยวัคซีนๆ ประสบผลสำเร็จในการทดลองในลิงและหนู พบว่า สามารถช่วยยับยั้งไม่ให้เชื่อไวรัสเข้าสู่กระแสเลือดและสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ในระดับสูง จึงนำมาสู่การผลิต และทดสอบทางคลินิกระยะที่ 1 ให้กับอาสาสมัครในวันจันทร์ที่ 14 มิ.ย.เป็น วันแรก โดยแบ่งการทดสอบได้ดังนี้
          การทดสอบในระยะที่ 1 แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม โดยกลุ่มแรกเป็นอาสาสมัครผู้ที่มีอายุ 18-55 ปี ทดสอบ 36 คน กลุ่มที่สอง เป็นอาสาสมัครผู้ที่มีอายุ 65-75 ปี ทดสอบ 36 คน
          ในจำนวนสองกลุ่มข้างต้นจะแบ่งเป็นกลุ่มย่อยที่ฉีดวัคซีน 10 ไมโครกรัม, 25 ไมโครกรัมและ 50 ไมโครกรัม เพื่อดูว่าวัคซีน ChulaCov19 มีประสิทธิภาพสูงสุดที่ปริมาณเท่าไร
          เพราะปัจจุบันโมเดอร์นาใช้วัคซีนปริมาณ 100 ไมโครกรัม ส่วน ไฟเซอร์ใช้ 30 ไมโครกรัม ทางศูนย์ต้องศึกษาว่าคนไทยหรือเอเชีย เหมาะกับการฉีด 10 หรือ 25 หรือ 50 ไมโครกรัม จะได้รู้ขนาดที่ ปลอดภัยและกระตุ้นภูมิได้สูง หลังจากนั้นจึงเข้าสู่การทดสอบทาง คลินิกระยะที่ 2
          ส่วนการทดสอบใรยะที่ 2 จำนวน 150-300 คน คาดว่าเริ่มต้นฉีดได้ประมาณเดือนสิงหาคม 2554 เป็นต้นไป
          ศ.นพ.เกียรติกล่าวเพิ่มเติมว่า การทดสอบวัคซีนนั้นเราคำนึงถึงความปลอดภัยสูงสุดของอาสาสมัคร ต้องใช้ระยะเวลาและทยอยฉีดตามลำดับ โดยใช้หลักการเหมือนกัน ทั่วประเทศ ถึงจะทราบข้อมูลจากผลการศึกษาว่าสามารถ ป้องกันการเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตได้จริงหรือไม่
          หากองค์การอนามัยโลก (WHO) หรือสถาบันสุขภาพแห่งชาติสหรัฐ (NIH) สามารถกำหนดหลักเกณฑ์ได้ว่า "วัคซีนที่มีประสิทธิภาพต้องกระตุ้นภูมิเท่าไร" ก็จะช่วยลดขั้นตอนได้
          สมมติว่า เกณฑ์วัคซื่นโควิด-19 ที่ดีต้องสร้างภูมิคุ้มกัน มากกว่า 80 IU (International Unit) ถ้าหากวัคซีน ChulaCov 19 สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้สูงกว่าค่านี้แสดงว่ามี ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ก็สามารถยกเว้นการทำทดสอบ ทางคลินิกระยะที่สามได้ วัคซีนนี้อาจได้รับอนุมัติให้ผลิต เพื่อใช้ในคนจำนวนมากได้ภายในก่อนกลางปีหน้า
          สำหรับจุดเด่นของวัคซีน ChulaCov19 ได้แก่
          1.จากการทดสอบ ความทนต่ออุณหภูมิของวัคซีน พบ ว่าวัคซีน ChulaCov19 สามารถอยู่ในอุณหภูมิตู้เย็น (2-8 องศาเซลเซียส) ได้นานถึง 3 เดือน และเก็บในอุณหภูมิ ห้อง (25 องศาเซลเซียส) ได้นาน 2 สัปดาห์ ซึ่งทำให้การ จัดเก็บรักษาง่ายกว่าวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA ยี่ห้ออื่นเป็นอย่างมาก
          2.ผลการทดสอบในสัตว์ผ่านเกณฑ์ดีมาก จากการทดลองในหนูทดลองชนิดพิเศษที่ออกแบบให้สามารถเกิดโรคโควิด-19 ได้ พบว่า เมื่อหนูได้รับการฉีดวัคซีน ChulaCov19 ครบ 2 เข็ม ห่างกัน 3 สัปดาห์ แล้วให้หนูทดลองได้รับเชื้อโควิด-19 เข้าทางจมูก สามารถป้องกันหนูทดลองไม่ให้ป่วยเป็นโรคและยับยั้งไม่ให้เชื้อไวรัสเข้าสู่กระแสเลือด รวมทั้งสามารถลดจำนวนเชื่อในจมูกและในปอดลง ไปอย่างน้อย 10,000,000 เท่า
          เมื่อทดสอบความเป็นพิษก็พบว่าปลอดภัยดี ส่วนหนูที่ไม่ได้รับวัคซีนจะเกิดอาการป่วยโควิด-19 ภายใน 3-5 วันและทุกตัวมีเชื้อสูงในกระแสเลือด ในจมูก และปอด เป็นจำนวนมาก
          3.วัคซีนชนิด mRNA สามารถผลิตได้เร็ว ไม่ต้องรอเพาะเลี้ยงเชื้ออย่างวัคซีนบางชนิด แต่วัคซีนชนิด mRNA เพียงรู้สายพันธุ์ของเชื้อก็ไปออกแบบวัคซีนได้ สังเคราะห์ในหลอดทดลอง ไม่เกิน 4 สัปดาห์มีวัคซีนมาทดสอบในหนูได้ การที่ผลิตได้รวดเร็วนี้ ทำให้ไม่ต้องใช้โรงงานขนาดใหญ่ นอกจากนี้ เมื่อเกิดเชื้อกลายพันธุ์ก็สามารถสังเคราะห์วัคซีนได้เร็วเช่นกัน
          สุดท้ายนี้ ศูนย์วิจัยวัคซีนฯได้เตรียมความพร้อมพัฒนาทดลองวัคซีนรุ่นที่สองกับสัตว์ทดลองควบคู่กันไปกับรุ่นแรกข้างต้น เพื่อรองรับเชื้อดื้อยาหรือเชื้อกลายพันธุ์ที่ทั่วโลกกำลังวิตกกังวล อาทิ สายพันธุ์อังกฤษ สายพันธุ์อินเดียสายพันธุ์แอฟริกาใต้ สายพันธุ์บราซิล ฯลฯ
          ทั้งหมดนี้นับเป็นวัคซีนที่คิดค้นพัฒนาและผลิตโดยคนไทย จากความร่วมมือของทุกภาคส่วนเป็นอย่างดี ถ้าทุกอย่างเป็นตามแผนกาดว่าจะสามารถผลิตวัคซีน ที่ใช้ป้องกันเชื้อกลายพันธุ์ที่ดื้อวัคซีนได้เพื่อทดสอบในอาสาสมัครภายในไตรมาสสี่ของปีนี้


pageview  1210872    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved