HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก [ วันที่ 25/09/2555 ]
ปราจีนอ่วมจม1.8เมตร "ปลอด" ลุยเขื่อนน้ำยมกทม.ผวาปรับท่อรับฝน

 "ปลอด" ย้ำ เม.ย.56 ลุยสร้างเขื่อนลุ่มน้ำยมปลุกสุโขทัยกล่อมกลุ่มต้าน ขณะที่ชาวสะเอียบนัดม็อบคัดค้าน น้ำป่าเขาใหญ่-สระแก้ว ทะลักปราจีนบุรีจม 1.8 เมตร
          หลังจากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.สุโขทัย เริ่มคลี่คลาย เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 23 กันยายน นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย(กบอ.)เดินทางลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำยมที่วัดกงไกรลาศ อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย โดยนายจักริน เปลี่ยนวงษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัยรายงานว่า มีพื้นที่ได้รับผลกระทบรวม 7 อำเภอ 32 ตำบล 183 หมู่บ้าน 9 ชุมชน 8,943 ครัวเรือน 21,150 คน พื้นที่การเกษตรเสียหายกว่า 1 แสนไร่ บ่อปลา 50 บ่อ ถนน 32 สาย และท่อระบายน้ำ 10 แห่ง
          "ปลอด" ย้ำสร้างเขื่อนน้ำยมปี 56
          นายปลอดประสพ กล่าวว่า รัฐบาลเป็นห่วงถึงสถานการณ์น้ำเหนือ จ.สุโขทัย ได้รับผลกระทบระดับประเทศ และผู้ว่าฯได้ดำเนินการล่วงหน้าไปแล้วด้วยดี ส่วนการป้องกันในอนาคต สำหรับลำน้ำยม ซึ่งเป็นแม่น้ำเดียวที่ไม่มีเขื่อน หากเอ่ยถึงแก่งเสือเต้นจะกลายเป็นสัญลักษณ์ของการคัดค้านระดับโลก
          "ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชาวลุ่มน้ำยม ไม่ใช่เฉพาะหน้าน้ำ แต่พอช่วงหน้าแล้ง แม้แต่จิ้งจก ตุ๊กแก ก็สามารถเดินข้ามได้ ผมในฐานะประธานกบอ.ขอประกาศว่าสร้างแน่นอนและเร็วที่สุด จะอนุมัติราวเดือนเมษายน 2556 มีระยะการเดินงาน 3-5 ปี ขอให้ชาวสุโขทัยช่วยกันยืนหยัดต่อสู้พร้อมอธิบายให้ผู้คัดค้านเข้าใจถึงความเดือดร้อนของชาวสุโขทัย" นายปลอดประสพกล่าว
          ต่อมา ประธาน กบอ.ได้ทดสอบการทำงานของแนวกั้นน้ำที่ใช้แผ่นพีวีซีทาโพลีน ที่มีเส้นใยกันการฉีกขาดมาวางพื้นก่อนนำกระสอบทรายมาวางแนวกั้น และคลุมทับอีกครั้ง สามารถป้องกันการซึมของน้ำป้องกันการกัดเซาะของกระแสน้ำได้ดี และใช้เวลาการก่อสร้างไม่นาน จากนั้นลงพื้นที่ตรวจการซ่อมแซมประตูระบายน้ำชุมชนวัดคูหาสุวรรณและแจกถุงยังชีพ 400 ชุด ที่ศาลาวัดเกาะ อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย ก่อนเดินทางกลับกรุงเทพฯ
          ชาวสะเอียบนัดฮือต้าน 5-6 ต.ค.
          ขณะเดียวกัน นายสมมิ่ง เหมืองร้อง ประธานคัดค้านการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น นายเส็ง ขวัญยืน กำนันตำบลสะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ นายชุม สะเอียบคง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสะเอียบ และนายอุดม ศรีคำภา ประธานกลุ่มราษฎรรักป่า ได้นัดประชุมชาวบ้าน ต.สะเอียบ แสดงท่าทีคัดค้านนายปลอดประสบลงพื้นที่ จ.สุโขทัย และประกาศเดินหน้าโครงการสร้างเขื่อนที่แม่น้ำยม
          นายสมมิ่ง กล่าวว่า ชาวสะเอียบผิดหวังในตัวนายปลอดประสพเป็นอย่างยิ่ง ที่ออกมาฟันธงว่าจะต้องสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม จะมีการกำหนดการก่อสร้างในปี 2556 ชาวสะเอียบอยากย้ำเตือนนายปลอดประสพว่าคงลืมอดีตของตัวเองที่เคยเป็นอธิบดีกรมป่าไม้ ตอนนั้นได้มีความเห็นไม่ต้องการให้มีการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น เพราะการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นจะเป็นการทำลายป่าไม้นับแสนไร่ ดังนั้นการออกมาฟันธงในวันนี้ เป็นการทำงานที่นั่งอยู่ในห้องแอร์แล้วคิดแก้ปัญหาน้ำท่วมว่าจะสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นแล้วน้ำก็จะไม่ท่วม โดยที่ไม่ฟังเสียงคัดค้านของชาวสะเอียบแม้แต่น้อย
          "ความจริงแล้วนายปลอดประสพรู้อยู่แล้วว่า แม่น้ำสาขาลุ่มน้ำยมมี 77 ลุ่มน้ำ หากสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น จะมีลุ่มน้ำสาขาอยู่เหนือเขื่อนเพียง 11 ลุ่มน้ำสาขา แต่จะอยู่ใต้เขื่อนแก่งเสือเต้นถึง 66 ลุ่มน้ำสาขา มันจะกักเก็บน้ำได้ยังไง ปีนี้น้ำในแม่น้ำยมในพื้นที่ของ จ.แพร่ มีระดับน้ำไม่วิกฤติไม่นึกว่าจากความคิดสมัยที่เป็นอธิบดีกรมป่าไม้ ที่เห็นความสำคัญของป่าไม้ จะถูกความเป็นนักการเมืองเปลี่ยนไปได้ถึงขนาดนี้ ชาวสะเอียบคิดเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ ในเรื่องที่นายปลอดประสพออกมาพูด คงจะหวังในงบประมาณมหาศาลที่จะนำมาใช้ในการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น มากกว่าการคิดที่จะแก้ไขปัญหาน้ำท่วมให้พี่น้องประชาชน" นายสมมิ่งกล่าว
          แกนนำต่อต้านสร้างเขื่อน กล่าวอีกว่าจากที่ประชุมชาวบ้านและประสานเครือข่ายแล้วสรุปว่าชาวสะเอียบ สมัชชาคนจน และกลุ่มลุ่มน้ำโขงที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนจะนัดประชุมใหญ่วันที่ 5-6 ตุลาคมนี้ในพื้นที่ ต.สะเอียบ เพื่อต่อต้านการก่อสร้างเขื่อนทุกประเภท และจะมีการเปิดเวทีประณามนายปลอดประสพ และทำพิธีสาปแช่งให้มีอันเป็นไปภายในสามวันเจ็ดวัน
          วิกฤติสระแก้วเริ่มคลี่คลาย
          เกือบ 1 สัปดาห์ที่น้ำท่วมในเขตเทศบาลอรัญประเทศ จ.สระแก้ว ทำให้ชาวบ้านนับหมื่นครอบครัวได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักเนื่องจากระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 1-2 เมตร สถานการณ์เมื่อวันที่ 23 กันยายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระดับน้ำเริ่มลดลงใกล้เข้าสู่ภาวะปกติ โดยพื้นที่เศรษฐกิจการค้า ที่บริเวณถนนเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ถนนบำรุงราษฎร์ และถนนราษฎร์อุทิศ รถยนต์สามารถสัญจรได้แล้ว ผู้ประกอบการทยอยเปิดร้านค้าขายตามปกติ บรรยากาศในตลาดอรัญประเทศกลับมาคึกคักอีกครั้ง
          หลายหมู่บ้านอรัญฯจมเฉียด 1 ม.
          ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า สถานการณ์ในพื้นที่ 11 หมู่บ้าน ต.ท่าข้าม อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว น้ำในคลองพรมโหด ซึ่งไหลมาจากเขตเทศบาลเมืองอรัญประเทศ ได้ลดระดับลงอย่างต่อเนื่องถนนสายหลักจากบ้านท่าข้าม-บ้านโคกสะแบง รถเล็กผ่านลำบาก ขณะที่บริเวณทางเข้าบ้านวังมนระดับน้ำยังท่วมประมาณ 30 เซนติเมตร เป็นช่วงๆสำหรับพื้นที่บ้านวังมน หมู่ 3 และบ้านท่าข้าม หมู่ 1 ต.ท่าข้าม อ.อรัญประเทศ ซึ่งอยู่ติดคลองพรมโหดและเป็นที่ลุ่มต่ำ ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 50-80 เซนติเมตร เจ้าหน้าที่ทหารพรานสังกัดกองกำลังบูรพา ใช้เรือท้องแบนเข้าไปช่วยเหลือประชาชน 2 หมู่บ้าน ประมาณ 250 ครัวเรือนหรือกว่า 500 คน
          ขณะที่วัดวังมน หมู่ 3 และวัดประตูชัยอรัญเขตต์(วัดป่าไผ่) หมู่ 1 ต.ท่าข้าม อ.อรัญประเทศ น้ำยังท่วมประมาณ 50 เซนติเมตร พระสงฆ์ 8 รูป ไม่สามารถออกมาบิณฑบาตได้ ทหารพรานและชาวบ้านต้องเดินลุยน้ำนำอาหารไปถวายพระทุกวัน
          น้ำป่าทะลัก "กบินทร์บุรี" จม 1.8 ม.
          เมื่อเวลา 16.30 น.ผู้สื่อข่าวรายงานว่าน้ำจากบริเวณต้นแม่น้ำปราจีนบุรีไหลมารวมกับน้ำป่าจากแควพระปรงและแควหนุมานในพื้นที่ จ.สระแก้ว ซึ่งสมทบกับน้ำป่าจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เอ่อเข้าท่วมพื้นที่เทศบาลตำบลกบินทร์ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นกว่า 1.80 เมตร เจ้าหน้าที่หน่วยทหารจากมณฑลทหารบกที่ 12 ค่ายจักรพงษ์ จ.ปราจีนบุรี ได้นำรถยนต์ยูนิม็อกวิ่งรับส่งประชาชนในพื้นที่
          ขณะเดียวกัน แม่น้ำปราจีนบุรีล้นตลิ่งเข้าท่วมทางหลวงหมายเลข 304(ปราจีนบุรี-ฉะเชิงเทรา) บริเวณ กม.91 อ.กบินทร์บุรี ระดับน้ำประมาณ 60 เซนติเมตร เจ้าหน้าที่กรมทางหลวงได้ปิดช่องการจราจร 1 ช่อง ให้รถวิ่งสวนทางกันเป็นระยะทางกว่า 4 กิโลเมตร
          น.ส.จิตรา พรหมชุติมา ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี กล่าวว่า สภาพน้ำตอนนี้ อ.กบินทร์บุรี ระดับน้ำสูงขึ้นมาก จากนั้นไหลต่อไปยังพื้นที่ อ.ศรีมหาโพธิ ที่ระดับน้ำสูงขึ้น 20-30 เซนติเมตร ได้รับรายงานว่าประชาชนใน อ.กบินทร์บุรี เดือดร้อน 11 ตำบล รวมกว่า 2,000 คน ส่วนที่ อ.ศรีมหาโพธิ เดือดร้อน 8 ตำบล รวมกว่า 1,000 คน
          น้ำท่วม รพ.ปราจีน 6 แห่ง
          วันเดียวกัน นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รมช.สาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.ธวัชชัย กมลธรรม ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขต 3 นพ.ระวี สิริประเสริฐ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรีลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมและตรวจเยี่ยมผู้ประสบภัยที่ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ซึ่งน้ำท่วมขยายวงกว้างเข้าท่วมพื้นที่ 11 ตำบล มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยได้เดินทางไปที่ ต.ย่านรี ระดับน้ำท่วมสูงเฉลี่ยประมาณ 60 เซนติเมตร ด้วยรถยีเอ็มซี ไปตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลย่านรีที่น้ำท่วมสูง 50 เซนติเมตร เจ้าหน้าที่ต้องติดเครื่องสูบน้ำออกตลอด 24 ชั่วโมง จากนั้นเดินทางไปตรวจเยี่ยมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของโรงพยาบาลกบินทร์บุรี เยี่ยมให้กำลังใจและมอบถุงยังชีพ ยาสามัญประจำบ้านให้ผู้ประสบอุทกภัยหมู่ 2 บ้านท่าทองดำ ต.ย่านรี จำนวน 300 ชุด
          นพ.สุรวิทย์กล่าวว่า พื้นที่ จ.ปราจีนบุรี มีสถานบริการสาธารณสุขถูกน้ำท่วม 6 แห่ง ใน 3 อำเภอ คือ เมือง ศรีมหาโพธิ และกบินทร์บุรี เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)ได้แก่ รพ.สต.ท่าตูม รพ.สต.บ้านทาม ต.ท่าตูม รพ.สต.บางบริบูรณ์ รพ.สต.สนทรีย์ รพ.สต.บ้านหาดนางแก้ว และรพ.สต.ย่านรี ท่วมอาคารบริการชั้นล่าง ระดับน้ำท่วมสูงเฉลี่ย 30-50 เซนติเมตร ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำระบายน้ำออกเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับการบริการประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง ส่วนเครื่องมือแพทย์ไม่ได้รับความเสียหาย ขณะเดียวกันได้ระดมทีมแพทย์จากจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ นครนายก ฉะเชิงเทรา และสระแก้ว มาออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เพื่อให้บริการอย่างทั่วถึงที่สุด พบผู้ป่วยกว่า 1,700 คน
          เฝ้าระวังพิเศษผู้ประสบภัย 38 คน
          รมช.สาธารณสุข กล่าวอีกว่า ภาพรวมของสถานการณ์น้ำท่วมในปีนี้ มีผู้เสียชีวิตแล้ว 3 คน ที่ จ.แม่ฮ่องสอน ชลบุรี และพระนครศรีอยุธยา จังหวัดละ 1 คน ส่วนการดูแลสุขภาพผู้ประสบภัย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มอบให้กระทรวงสาธารณสุขจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกให้บริการประชาชนที่ประสบภัย 14 จังหวัด โดยตั้งแต่วันที่ 9-22 กันยายน 2555 รวม 109 หน่วย ออกให้บริการ 117 ครั้ง พบผู้เจ็บป่วยสะสมรวม 25,684 คน ส่วนใหญ่มีอาการปวดศีรษะ 12,897 คน สาเหตุอาจมาจากความเครียด นอนไม่หลับ หรือพักผ่อนน้อย รองลงมาคือน้ำกัดเท้าโดยให้ทีมจิตแพทย์ นักจิตวิทยา พยาบาลจิตเวชจากโรงพยาบาลจิตเวชในภาคเหนือ ภาคตะวันออกร่วมกับโรงพยาบาลจังหวัด ออกให้บริการดูแลเพื่อคลี่คลายความเครียด ความวิตกกังวลแก่ผู้ประสบภัย ผลการตรวจคัดกรองสุขภาพจิตจำนวน 5,073 คน พบผู้ที่มีความเครียดสูง 111 คน มีอาการซึมเศร้า 37 คน ต้องติดตามดูแลเป็นพิเศษอย่างใกล้ชิด 38 คน
          ส่วนที่ จ.สระแก้ว และปราจีนบุรี ได้ตรวจคัดกรองสุขภาพจิต 900 คน พบประชาชนเครียดในระดับเล็กน้อย 530 คน เนื่องจากประชาชนปรับตัวและมีประสบการณ์ในการเผชิญน้ำท่วมมาก่อน เนื่องจากน้ำท่วมทุกปี และได้รับการช่วยเหลือจากทางการอย่างรวดเร็ว
          น้ำยมทะลักบางระกำเพิ่ม 33 ซม.
          ผลพวงจากแม่น้ำยมล้นตลิ่งเข้าท่วม อ.พรหมพิราม อ.บางระกำ และอ.เมือง จ.พิษณุโลก มวลน้ำทั้งหมดกำลังไหลผ่านแม่น้ำยมสายเก่า และแม่น้ำยมสายหลัก เข้าสู่ตัวอำเภอบางระกำ ระดับน้ำสูงขึ้นอีก 33 เซนติเมตร ระดับน้ำเมื่อเวลา 06.00 น.ที่สถานีวัดน้ำวาย 16 อยู่ที่ 8.82 เมตร ขณะที่ระดับตลิ่งอยู่ที่ 7 เมตรทำให้น้ำไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่ 5.5 หมื่นไร่ รวมทั้ง อ.เมือง และอ.พรหมพิราม ประมาณ 7 หมื่นไร่ นอกจากนี้น้ำท่วมบ้านเรือนประชาชนที่อาศัยอยู่ริมตลิ่งลำน้ำยม ได้แก่ ชุมชนเชิงสะพานข้ามแม่น้ำยม บ้านวังกุ่ม จำนวน 25 ครัวเรือน ชาวบ้านเริ่มอพยพหนีน้ำมาสร้างเพิงพักชั่วคราวบริเวณริมถนนพิษณุโลก-บางระกำ ส่วนที่ชุมชนปากคลองในเขตเทศบาลตำบลบางระกำ หลังโรงพยาบาลบางระกำ น้ำท่วมประมาณ 1 เมตร
          นายชัยโรจน์ มีแดง ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก กล่าวว่า น้ำท่วมในเขต อ.บางระกำ ใกล้เคียงกับสถิติน้ำท่วมเมื่อปี 2546 ที่มีน้ำท่วมขังในบางระกำ 30 วัน และเมื่อเทียบกับปี 2554 ปีนี้น้ำท่วมบางระกำน้อยมากประมาณ 25% ส่วนการช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ตั้งศูนย์บัญชาการส่วนหน้าในพื้นที่ 3 อำเภอ คือ บางระกำ เมือง และบางระกำ
          ด้านนายประดิษฐ์ อินต๊ะ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานจังหวัดพิษณุโลก กล่าวว่า อ.บางระกำ เป็นอำเภอที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด แต่มีแนวโน้มว่าน้ำจะเริ่มทรงตัวในอีกไม่กี่วันนี้ โดยทางชลประทานได้เร่งระบายน้ำที่ท่วมขังในเขต อ.บางระกำ ออกสู่แม่น้ำน่าน ที่ระดับน้ำยังคงต่ำกว่าอีกมาก คาดว่าสถานการณ์น้ำท่วมจะไม่รุนแรงเหมือนปีที่ผ่านมา หากไม่มีปริมาณน้ำจากแม่น้ำยมทางตอนเหนือไหลมาสมทบอีก
          กทม.เล็งปรับท่อระบายฝน 100 มม.
          ส่วนปัญหาระบบการระบายน้ำในกรุงเทพฯ นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.)กล่าวว่า เรื่องปริมาณน้ำฝนทาง กทม.ยืนยันว่าพร้อมที่จะรองรับโดยน้ำในคลองลาดพร้าวมีระดับน้ำที่สูง เพราะกทม.ต้องดูแลพื้นที่ด้านบนอย่าง จ.ปทุมธานี ลำลูกกา ซึ่งไม่อยากให้เห็นภาพว่า กทม.ทะเลาะกับจังหวัดเพื่อนบ้าน ในการรับน้ำจากตอนบนอาจทำให้น้ำในคลองลาดพร้าวสูงขึ้นบ้าง และในเวลาที่ฝนตกลงมานั้นก็จะทำให้มีการระบายน้ำได้ช้า
          "กทม.มองว่าในการระบายน้ำถึงเวลาแล้วที่จะต้องกำหนดให้เป็นนโยบาย ที่ท่อระบายน้ำที่มีขนาดเล็ก ที่ทำไว้ในอดีตระบายน้ำได้ 60 มิลลิเมตร ตะปรับให้เป็น 100 มิลลิเมตร แต่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก เป็นเรื่องความสำคัญต้องดำเนินการ แต่ต้องดูข่าจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ ทาง กทม.ตั้งใจที่จะทำ ไม่อยากให้มองทุกอย่างเป็นการเมือง" นายธีระชนกล่าว
          น้ำเหนือลามถึงกรุงเก่า
          นายอุดมศักดิ์ ขาวหนูนา หัวหน้าป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า มวลน้ำเหนือจาก จ.นครสวรรค์ ไหลเข้าสู่พื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา ประกอบกับเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท เร่งระบายน้ำท้ายเขื่อนปริมาณ 1,800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงขึ้น 5-10 เซนติเมตร อีกทั้งเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เร่งระบายน้ำผ่านลงเขื่อนพระราม 6 อ.ท่าเรือ ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 5-10 เซนติเมตรกระทั่งบริเวณหน้าวัดพนัญเชิงวรวิหาร ซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำป่าสักไหลรวมกัน มีน้ำสูงขึ้น 15-20 เซนติเมตร นอกจากนี้ที่ผ่านมาฝนตกหนักต่อเนื่อง ทำให้บ้านเรือนประชาชนใน 3 อำเภอ คือ พระนครศรีอยุธยา บางปะอินและบางไทร ถูกน้ำท่วมเฉลี่ย 1-2 เมตร ส่วนที่ อ.บางบาล อ.เสนา และ อ.ผักไห่ ปริมาณน้ำสูงขึ้นไม่มากนัก
          ทั้งนี้ คาดว่าพายุฝนคงหมดลงภายในวันที่ 28 กันยายนนี้ ส่วนทางคลองระพีพัฒน์ และแม่น้ำท่าจีน เจ้าหน้าที่ชลประทานได้พร่องน้ำเพียงบางส่วนเพื่อรองรับน้ำฝนที่จะมา 4-5 วันนี้ คาดว่าสิ้นเดือนกันยายน สถานการณ์น้ำจะเข้าสู่ภาวะปกติ
 "ปลอด" ย้ำ เม.ย.56 ลุยสร้างเขื่อนลุ่มน้ำยมปลุกสุโขทัยกล่อมกลุ่มต้าน ขณะที่ชาวสะเอียบนัดม็อบคัดค้าน น้ำป่าเขาใหญ่-สระแก้ว ทะลักปราจีนบุรีจม 1.8 เมตร
          หลังจากสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ จ.สุโขทัย เริ่มคลี่คลาย เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 23 กันยายน นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย(กบอ.)เดินทางลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำยมที่วัดกงไกรลาศ อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย โดยนายจักริน เปลี่ยนวงษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัยรายงานว่า มีพื้นที่ได้รับผลกระทบรวม 7 อำเภอ 32 ตำบล 183 หมู่บ้าน 9 ชุมชน 8,943 ครัวเรือน 21,150 คน พื้นที่การเกษตรเสียหายกว่า 1 แสนไร่ บ่อปลา 50 บ่อ ถนน 32 สาย และท่อระบายน้ำ 10 แห่ง
          "ปลอด" ย้ำสร้างเขื่อนน้ำยมปี 56
          นายปลอดประสพ กล่าวว่า รัฐบาลเป็นห่วงถึงสถานการณ์น้ำเหนือ จ.สุโขทัย ได้รับผลกระทบระดับประเทศ และผู้ว่าฯได้ดำเนินการล่วงหน้าไปแล้วด้วยดี ส่วนการป้องกันในอนาคต สำหรับลำน้ำยม ซึ่งเป็นแม่น้ำเดียวที่ไม่มีเขื่อน หากเอ่ยถึงแก่งเสือเต้นจะกลายเป็นสัญลักษณ์ของการคัดค้านระดับโลก
          "ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชาวลุ่มน้ำยม ไม่ใช่เฉพาะหน้าน้ำ แต่พอช่วงหน้าแล้ง แม้แต่จิ้งจก ตุ๊กแก ก็สามารถเดินข้ามได้ ผมในฐานะประธานกบอ.ขอประกาศว่าสร้างแน่นอนและเร็วที่สุด จะอนุมัติราวเดือนเมษายน 2556 มีระยะการเดินงาน 3-5 ปี ขอให้ชาวสุโขทัยช่วยกันยืนหยัดต่อสู้พร้อมอธิบายให้ผู้คัดค้านเข้าใจถึงความเดือดร้อนของชาวสุโขทัย" นายปลอดประสพกล่าว
          ต่อมา ประธาน กบอ.ได้ทดสอบการทำงานของแนวกั้นน้ำที่ใช้แผ่นพีวีซีทาโพลีน ที่มีเส้นใยกันการฉีกขาดมาวางพื้นก่อนนำกระสอบทรายมาวางแนวกั้น และคลุมทับอีกครั้ง สามารถป้องกันการซึมของน้ำป้องกันการกัดเซาะของกระแสน้ำได้ดี และใช้เวลาการก่อสร้างไม่นาน จากนั้นลงพื้นที่ตรวจการซ่อมแซมประตูระบายน้ำชุมชนวัดคูหาสุวรรณและแจกถุงยังชีพ 400 ชุด ที่ศาลาวัดเกาะ อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย ก่อนเดินทางกลับกรุงเทพฯ
          ชาวสะเอียบนัดฮือต้าน 5-6 ต.ค.
          ขณะเดียวกัน นายสมมิ่ง เหมืองร้อง ประธานคัดค้านการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น นายเส็ง ขวัญยืน กำนันตำบลสะเอียบ อ.สอง จ.แพร่ นายชุม สะเอียบคง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสะเอียบ และนายอุดม ศรีคำภา ประธานกลุ่มราษฎรรักป่า ได้นัดประชุมชาวบ้าน ต.สะเอียบ แสดงท่าทีคัดค้านนายปลอดประสบลงพื้นที่ จ.สุโขทัย และประกาศเดินหน้าโครงการสร้างเขื่อนที่แม่น้ำยม
          นายสมมิ่ง กล่าวว่า ชาวสะเอียบผิดหวังในตัวนายปลอดประสพเป็นอย่างยิ่ง ที่ออกมาฟันธงว่าจะต้องสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นเพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วม จะมีการกำหนดการก่อสร้างในปี 2556 ชาวสะเอียบอยากย้ำเตือนนายปลอดประสพว่าคงลืมอดีตของตัวเองที่เคยเป็นอธิบดีกรมป่าไม้ ตอนนั้นได้มีความเห็นไม่ต้องการให้มีการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น เพราะการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นจะเป็นการทำลายป่าไม้นับแสนไร่ ดังนั้นการออกมาฟันธงในวันนี้ เป็นการทำงานที่นั่งอยู่ในห้องแอร์แล้วคิดแก้ปัญหาน้ำท่วมว่าจะสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นแล้วน้ำก็จะไม่ท่วม โดยที่ไม่ฟังเสียงคัดค้านของชาวสะเอียบแม้แต่น้อย
          "ความจริงแล้วนายปลอดประสพรู้อยู่แล้วว่า แม่น้ำสาขาลุ่มน้ำยมมี 77 ลุ่มน้ำ หากสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น จะมีลุ่มน้ำสาขาอยู่เหนือเขื่อนเพียง 11 ลุ่มน้ำสาขา แต่จะอยู่ใต้เขื่อนแก่งเสือเต้นถึง 66 ลุ่มน้ำสาขา มันจะกักเก็บน้ำได้ยังไง ปีนี้น้ำในแม่น้ำยมในพื้นที่ของ จ.แพร่ มีระดับน้ำไม่วิกฤติไม่นึกว่าจากความคิดสมัยที่เป็นอธิบดีกรมป่าไม้ ที่เห็นความสำคัญของป่าไม้ จะถูกความเป็นนักการเมืองเปลี่ยนไปได้ถึงขนาดนี้ ชาวสะเอียบคิดเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ ในเรื่องที่นายปลอดประสพออกมาพูด คงจะหวังในงบประมาณมหาศาลที่จะนำมาใช้ในการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น มากกว่าการคิดที่จะแก้ไขปัญหาน้ำท่วมให้พี่น้องประชาชน" นายสมมิ่งกล่าว
          แกนนำต่อต้านสร้างเขื่อน กล่าวอีกว่าจากที่ประชุมชาวบ้านและประสานเครือข่ายแล้วสรุปว่าชาวสะเอียบ สมัชชาคนจน และกลุ่มลุ่มน้ำโขงที่ได้รับผลกระทบจากการสร้างเขื่อนจะนัดประชุมใหญ่วันที่ 5-6 ตุลาคมนี้ในพื้นที่ ต.สะเอียบ เพื่อต่อต้านการก่อสร้างเขื่อนทุกประเภท และจะมีการเปิดเวทีประณามนายปลอดประสพ และทำพิธีสาปแช่งให้มีอันเป็นไปภายในสามวันเจ็ดวัน
          วิกฤติสระแก้วเริ่มคลี่คลาย
          เกือบ 1 สัปดาห์ที่น้ำท่วมในเขตเทศบาลอรัญประเทศ จ.สระแก้ว ทำให้ชาวบ้านนับหมื่นครอบครัวได้รับความเดือดร้อนอย่างหนักเนื่องจากระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 1-2 เมตร สถานการณ์เมื่อวันที่ 23 กันยายน ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระดับน้ำเริ่มลดลงใกล้เข้าสู่ภาวะปกติ โดยพื้นที่เศรษฐกิจการค้า ที่บริเวณถนนเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ถนนบำรุงราษฎร์ และถนนราษฎร์อุทิศ รถยนต์สามารถสัญจรได้แล้ว ผู้ประกอบการทยอยเปิดร้านค้าขายตามปกติ บรรยากาศในตลาดอรัญประเทศกลับมาคึกคักอีกครั้ง
          หลายหมู่บ้านอรัญฯจมเฉียด 1 ม.
          ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า สถานการณ์ในพื้นที่ 11 หมู่บ้าน ต.ท่าข้าม อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว น้ำในคลองพรมโหด ซึ่งไหลมาจากเขตเทศบาลเมืองอรัญประเทศ ได้ลดระดับลงอย่างต่อเนื่องถนนสายหลักจากบ้านท่าข้าม-บ้านโคกสะแบง รถเล็กผ่านลำบาก ขณะที่บริเวณทางเข้าบ้านวังมนระดับน้ำยังท่วมประมาณ 30 เซนติเมตร เป็นช่วงๆสำหรับพื้นที่บ้านวังมน หมู่ 3 และบ้านท่าข้าม หมู่ 1 ต.ท่าข้าม อ.อรัญประเทศ ซึ่งอยู่ติดคลองพรมโหดและเป็นที่ลุ่มต่ำ ระดับน้ำท่วมเฉลี่ย 50-80 เซนติเมตร เจ้าหน้าที่ทหารพรานสังกัดกองกำลังบูรพา ใช้เรือท้องแบนเข้าไปช่วยเหลือประชาชน 2 หมู่บ้าน ประมาณ 250 ครัวเรือนหรือกว่า 500 คน
          ขณะที่วัดวังมน หมู่ 3 และวัดประตูชัยอรัญเขตต์(วัดป่าไผ่) หมู่ 1 ต.ท่าข้าม อ.อรัญประเทศ น้ำยังท่วมประมาณ 50 เซนติเมตร พระสงฆ์ 8 รูป ไม่สามารถออกมาบิณฑบาตได้ ทหารพรานและชาวบ้านต้องเดินลุยน้ำนำอาหารไปถวายพระทุกวัน
          น้ำป่าทะลัก "กบินทร์บุรี" จม 1.8 ม.
          เมื่อเวลา 16.30 น.ผู้สื่อข่าวรายงานว่าน้ำจากบริเวณต้นแม่น้ำปราจีนบุรีไหลมารวมกับน้ำป่าจากแควพระปรงและแควหนุมานในพื้นที่ จ.สระแก้ว ซึ่งสมทบกับน้ำป่าจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ เอ่อเข้าท่วมพื้นที่เทศบาลตำบลกบินทร์ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นกว่า 1.80 เมตร เจ้าหน้าที่หน่วยทหารจากมณฑลทหารบกที่ 12 ค่ายจักรพงษ์ จ.ปราจีนบุรี ได้นำรถยนต์ยูนิม็อกวิ่งรับส่งประชาชนในพื้นที่
          ขณะเดียวกัน แม่น้ำปราจีนบุรีล้นตลิ่งเข้าท่วมทางหลวงหมายเลข 304(ปราจีนบุรี-ฉะเชิงเทรา) บริเวณ กม.91 อ.กบินทร์บุรี ระดับน้ำประมาณ 60 เซนติเมตร เจ้าหน้าที่กรมทางหลวงได้ปิดช่องการจราจร 1 ช่อง ให้รถวิ่งสวนทางกันเป็นระยะทางกว่า 4 กิโลเมตร
          น.ส.จิตรา พรหมชุติมา ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี กล่าวว่า สภาพน้ำตอนนี้ อ.กบินทร์บุรี ระดับน้ำสูงขึ้นมาก จากนั้นไหลต่อไปยังพื้นที่ อ.ศรีมหาโพธิ ที่ระดับน้ำสูงขึ้น 20-30 เซนติเมตร ได้รับรายงานว่าประชาชนใน อ.กบินทร์บุรี เดือดร้อน 11 ตำบล รวมกว่า 2,000 คน ส่วนที่ อ.ศรีมหาโพธิ เดือดร้อน 8 ตำบล รวมกว่า 1,000 คน
          น้ำท่วม รพ.ปราจีน 6 แห่ง
          วันเดียวกัน นพ.สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ รมช.สาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.ธวัชชัย กมลธรรม ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุขเขต 3 นพ.ระวี สิริประเสริฐ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปราจีนบุรีลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมและตรวจเยี่ยมผู้ประสบภัยที่ อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี ซึ่งน้ำท่วมขยายวงกว้างเข้าท่วมพื้นที่ 11 ตำบล มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยได้เดินทางไปที่ ต.ย่านรี ระดับน้ำท่วมสูงเฉลี่ยประมาณ 60 เซนติเมตร ด้วยรถยีเอ็มซี ไปตรวจเยี่ยมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลย่านรีที่น้ำท่วมสูง 50 เซนติเมตร เจ้าหน้าที่ต้องติดเครื่องสูบน้ำออกตลอด 24 ชั่วโมง จากนั้นเดินทางไปตรวจเยี่ยมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ของโรงพยาบาลกบินทร์บุรี เยี่ยมให้กำลังใจและมอบถุงยังชีพ ยาสามัญประจำบ้านให้ผู้ประสบอุทกภัยหมู่ 2 บ้านท่าทองดำ ต.ย่านรี จำนวน 300 ชุด
          นพ.สุรวิทย์กล่าวว่า พื้นที่ จ.ปราจีนบุรี มีสถานบริการสาธารณสุขถูกน้ำท่วม 6 แห่ง ใน 3 อำเภอ คือ เมือง ศรีมหาโพธิ และกบินทร์บุรี เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)ได้แก่ รพ.สต.ท่าตูม รพ.สต.บ้านทาม ต.ท่าตูม รพ.สต.บางบริบูรณ์ รพ.สต.สนทรีย์ รพ.สต.บ้านหาดนางแก้ว และรพ.สต.ย่านรี ท่วมอาคารบริการชั้นล่าง ระดับน้ำท่วมสูงเฉลี่ย 30-50 เซนติเมตร ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำระบายน้ำออกเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับการบริการประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง ส่วนเครื่องมือแพทย์ไม่ได้รับความเสียหาย ขณะเดียวกันได้ระดมทีมแพทย์จากจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ นครนายก ฉะเชิงเทรา และสระแก้ว มาออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่เพื่อให้บริการอย่างทั่วถึงที่สุด พบผู้ป่วยกว่า 1,700 คน
          เฝ้าระวังพิเศษผู้ประสบภัย 38 คน
          รมช.สาธารณสุข กล่าวอีกว่า ภาพรวมของสถานการณ์น้ำท่วมในปีนี้ มีผู้เสียชีวิตแล้ว 3 คน ที่ จ.แม่ฮ่องสอน ชลบุรี และพระนครศรีอยุธยา จังหวัดละ 1 คน ส่วนการดูแลสุขภาพผู้ประสบภัย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มอบให้กระทรวงสาธารณสุขจัดหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ออกให้บริการประชาชนที่ประสบภัย 14 จังหวัด โดยตั้งแต่วันที่ 9-22 กันยายน 2555 รวม 109 หน่วย ออกให้บริการ 117 ครั้ง พบผู้เจ็บป่วยสะสมรวม 25,684 คน ส่วนใหญ่มีอาการปวดศีรษะ 12,897 คน สาเหตุอาจมาจากความเครียด นอนไม่หลับ หรือพักผ่อนน้อย รองลงมาคือน้ำกัดเท้าโดยให้ทีมจิตแพทย์ นักจิตวิทยา พยาบาลจิตเวชจากโรงพยาบาลจิตเวชในภาคเหนือ ภาคตะวันออกร่วมกับโรงพยาบาลจังหวัด ออกให้บริการดูแลเพื่อคลี่คลายความเครียด ความวิตกกังวลแก่ผู้ประสบภัย ผลการตรวจคัดกรองสุขภาพจิตจำนวน 5,073 คน พบผู้ที่มีความเครียดสูง 111 คน มีอาการซึมเศร้า 37 คน ต้องติดตามดูแลเป็นพิเศษอย่างใกล้ชิด 38 คน
          ส่วนที่ จ.สระแก้ว และปราจีนบุรี ได้ตรวจคัดกรองสุขภาพจิต 900 คน พบประชาชนเครียดในระดับเล็กน้อย 530 คน เนื่องจากประชาชนปรับตัวและมีประสบการณ์ในการเผชิญน้ำท่วมมาก่อน เนื่องจากน้ำท่วมทุกปี และได้รับการช่วยเหลือจากทางการอย่างรวดเร็ว
          น้ำยมทะลักบางระกำเพิ่ม 33 ซม.
          ผลพวงจากแม่น้ำยมล้นตลิ่งเข้าท่วม อ.พรหมพิราม อ.บางระกำ และอ.เมือง จ.พิษณุโลก มวลน้ำทั้งหมดกำลังไหลผ่านแม่น้ำยมสายเก่า และแม่น้ำยมสายหลัก เข้าสู่ตัวอำเภอบางระกำ ระดับน้ำสูงขึ้นอีก 33 เซนติเมตร ระดับน้ำเมื่อเวลา 06.00 น.ที่สถานีวัดน้ำวาย 16 อยู่ที่ 8.82 เมตร ขณะที่ระดับตลิ่งอยู่ที่ 7 เมตรทำให้น้ำไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่ 5.5 หมื่นไร่ รวมทั้ง อ.เมือง และอ.พรหมพิราม ประมาณ 7 หมื่นไร่ นอกจากนี้น้ำท่วมบ้านเรือนประชาชนที่อาศัยอยู่ริมตลิ่งลำน้ำยม ได้แก่ ชุมชนเชิงสะพานข้ามแม่น้ำยม บ้านวังกุ่ม จำนวน 25 ครัวเรือน ชาวบ้านเริ่มอพยพหนีน้ำมาสร้างเพิงพักชั่วคราวบริเวณริมถนนพิษณุโลก-บางระกำ ส่วนที่ชุมชนปากคลองในเขตเทศบาลตำบลบางระกำ หลังโรงพยาบาลบางระกำ น้ำท่วมประมาณ 1 เมตร
          นายชัยโรจน์ มีแดง ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก กล่าวว่า น้ำท่วมในเขต อ.บางระกำ ใกล้เคียงกับสถิติน้ำท่วมเมื่อปี 2546 ที่มีน้ำท่วมขังในบางระกำ 30 วัน และเมื่อเทียบกับปี 2554 ปีนี้น้ำท่วมบางระกำน้อยมากประมาณ 25% ส่วนการช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ตั้งศูนย์บัญชาการส่วนหน้าในพื้นที่ 3 อำเภอ คือ บางระกำ เมือง และบางระกำ
          ด้านนายประดิษฐ์ อินต๊ะ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานจังหวัดพิษณุโลก กล่าวว่า อ.บางระกำ เป็นอำเภอที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด แต่มีแนวโน้มว่าน้ำจะเริ่มทรงตัวในอีกไม่กี่วันนี้ โดยทางชลประทานได้เร่งระบายน้ำที่ท่วมขังในเขต อ.บางระกำ ออกสู่แม่น้ำน่าน ที่ระดับน้ำยังคงต่ำกว่าอีกมาก คาดว่าสถานการณ์น้ำท่วมจะไม่รุนแรงเหมือนปีที่ผ่านมา หากไม่มีปริมาณน้ำจากแม่น้ำยมทางตอนเหนือไหลมาสมทบอีก
          กทม.เล็งปรับท่อระบายฝน 100 มม.
          ส่วนปัญหาระบบการระบายน้ำในกรุงเทพฯ นายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(กทม.)กล่าวว่า เรื่องปริมาณน้ำฝนทาง กทม.ยืนยันว่าพร้อมที่จะรองรับโดยน้ำในคลองลาดพร้าวมีระดับน้ำที่สูง เพราะกทม.ต้องดูแลพื้นที่ด้านบนอย่าง จ.ปทุมธานี ลำลูกกา ซึ่งไม่อยากให้เห็นภาพว่า กทม.ทะเลาะกับจังหวัดเพื่อนบ้าน ในการรับน้ำจากตอนบนอาจทำให้น้ำในคลองลาดพร้าวสูงขึ้นบ้าง และในเวลาที่ฝนตกลงมานั้นก็จะทำให้มีการระบายน้ำได้ช้า
          "กทม.มองว่าในการระบายน้ำถึงเวลาแล้วที่จะต้องกำหนดให้เป็นนโยบาย ที่ท่อระบายน้ำที่มีขนาดเล็ก ที่ทำไว้ในอดีตระบายน้ำได้ 60 มิลลิเมตร ตะปรับให้เป็น 100 มิลลิเมตร แต่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก เป็นเรื่องความสำคัญต้องดำเนินการ แต่ต้องดูข่าจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ ทาง กทม.ตั้งใจที่จะทำ ไม่อยากให้มองทุกอย่างเป็นการเมือง" นายธีระชนกล่าว
          น้ำเหนือลามถึงกรุงเก่า
   &nb


pageview  1210969    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved