HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ [ วันที่ 18/01/2564 ]
ปลูกฝังเรื่อง กิน ตั้งแต่เล็ก ช่วยส่งเสริมมีพัฒนาการที่ดี

  จุฑานันทน์ บุญทราหาญ
          ช่วงนี้ที่เด็ก ๆ ต้องอยู่บ้านกัน โดยทางโรงเรียนกำหนดให้หยุดการเรียนและกิจกรรมทุกอย่างที่โรงเรียน และดำเนินการจัดการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ให้กับนักเรียน เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
          เมื่อลูกต้องอยู่บ้าน ทำให้พ่อแม่ และผู้ปกครอง หลายครอบครัวมีการจัดเตรียมอาหารการกินให้กับลูก ๆ กันยกใหญ่ ในขณะเดียวกัน เด็ก ๆ ก็จะมีพฤติกรรมการกินที่เปลี่ยนไป โดยเลือกกินอาหารตามใจตนเองที่ให้คุณค่าทางโภชนาการไม่สูงนัก แต่มีพลังงานสูง บางคนเลือกกินอาหารแบบง่าย ๆ ซ้ำ ๆ แบบเดิมทุกวัน ซึ่งหากกินเป็นประจำอาจเสี่ยงขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายได้
          พ่อแม่ ผู้ปกครอง จึงมีส่วนสำคัจนกรอบหรือไหม้เกรียม
          รวมทั้งไม่ส่งเสริมให้เด็กกินขนมกรุบกรอบ น้ำอัดลม น้ำหวาน หรือน้ำผลไม้กระป๋อง โดยที่พ่อแม่ไม่เก็บตุนขนมหรือเครื่องดื่มไว้ในบ้าน เพราะเด็กจะหยิบกินได้โดยง่าย
          พ่อแม่ควรส่งเสริมให้เด็กกินผักและผลไม้ให้เป็นนิสัยทุกวัน หากเด็กไม่ชอบกินผัก ให้เลือกผักรสชาติไม่ขม อาจสับละเอียดเข้ากับอาหารเพื่อฝึกให้เด็กได้กินผัก
          นอกจากนี้ พ่อแม่ควรเปิดโอกาสให้เด็กเสนอเมนูอาหารบางอย่างที่ชอบในแต่ละวัน พาไปจ่ายตลาดเลือกซื้อเนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ที่อยากกิน รวมทั้งฝึกให้เด็กเป็นกุ๊กน้อยช่วยทำและปรุงอาหาร เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วม
          รวมถึงควรฝึกเด็กให้กินอาหารตรงเวลา ไม่กินจุบจิบ ไม่กินขนมก่อนกินอาหารมื้อหลักเพราะจะทำให้อิ่มจนไม่สามารถกินอาหารมื้อสำคัญได้ ฝึกให้เด็กกินอาหารแต่ละประเภทอย่างพอดี ไม่ใช้อาหารเป็นสิ่งต่อรอง เป็นรางวัลหรือการทำโทษ
          ควรเตรียมอาหารว่างที่มีประโยชน์ให้เด็กกินตอนสายและตอนบ่าย เช่น ผลไม้สด น้ำผลไม้ ขนมไทยรสหวานน้อย หลีกเลี่ยงอาหารว่างที่มีแต่แป้ง ไขมัน หรือน้ำตาล อ่านฉลากโภชนาการเพื่อเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีเกลือ โซเดียม น้ำตาล และไขมันต่ำ
          ที่สำคัญควรให้เด็กดื่มนมจืดวันละ 2 แก้ว และดื่มน้ำสะอาดวันละ 6-8 แก้ว
          กรมอนามัย แนะนำให้วัยรุ่นอายุระหว่าง 13-18 ปี ซึ่งเป็นระยะที่ร่างกายมีการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่และรวดเร็ว รวมถึงมีการเปลี่ยนแปลงทั้งขนาดโครงสร้าง ได้รับอาหารที่ถูกหลักโภชนาการเหมาะสมกับความต้องการและมีปริมาณเพียงพอเพื่อใช้สำหรับการเจริญเติบโตและเป็นพลังงานเพื่อการประกอบกิจกรรมญในการจัดเตรียมอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของลูก โดยให้คำนึงถึงคุณค่าทางโภชนาการที่เด็กจะได้รับ
          กรมอนามัย ระบุว่า ใน 1 วัน เด็กวัยเรียนอายุ 6-14 ปี ควรได้รับพลังงาน 1,600 กิโลแคลอรี คือ ข้าว หรือแป้ง 8 ทัพพี เนื้อสัตว์ 6 ช้อนกินข้าว, ผัก 12 ช้อนกินข้าว, นม 2 แก้ว, ผลไม้ 3 ส่วน (ผลไม้ 1 ส่วน เท่ากับผลไม้ลูกเล็ก เช่น องุ่น ลองกอง 8 ผล หรือผลไม้ขนาดกลาง เช่น ชมพู่ มังคุด 2 ผล หรือผลไม้หั่นชิ้น เช่น มะละกอ สับปะรด 8 ชิ้นพอดีคำ)
          การทำอาหารให้เด็กกิน พยายามใช้วิธีการนึ่ง ต้ม ปิ้ง ย่าง แทนการทอดและผัดที่ต้องใช้น้ำมันเยอะ ๆ เพราะจะทำให้เด็กอ้วนง่าย
          ในส่วนของเนื้อสัตว์ควรเลือกเนื้อสัตว์ที่มีไขมันน้อย หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น หนังไก่ หนังหมู มันหมู อาหารทอดในแต่ละวัน
          โดยปริมาณสารอาหารกลุ่ม โปรตีน ควรได้รับร้อยละ 10-15 คาร์โบไฮเดรตร้อยละ 45-65 ไขมันร้อยละ 25-35 ของพลังงานทั้งหมดที่ควรได้รับต่อวัน และมีสัดส่วนการบริโภคตามมาตรฐานในแต่ละวัน ในส่วนของ คาร์โบไฮเดรต ควรเป็นแบบเชิงซ้อน เช่น กลุ่มแป้ง ข้าว ขนมปัง 8-12 ทัพพี
          อาหารกลุ่ม โปรตีน จากจำพวกเนื้อสัตว์หรือถั่วต่าง ๆ ควรได้รับ 45-60 กรัมต่อวัน หรือ 2-3 ส่วนต่อวัน ขณะที่ ไขมัน ซึ่งได้จากไขมันของพืชและสัตว์ ควรได้รับน้อยกว่าร้อยละ 30 ต่อวัน โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัวควรรับไม่เกินร้อยละ10 มาที่ ผักต่าง ๆ ควรได้รับ 2-4 ส่วนต่อวัน หรือ 4-6 ทัพพี หากเป็น ผลไม้ ที่ให้วิตามินและเกลือแร่ ควรกินผลไม้สด 3-5 ส่วนต่อวัน
          ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม ให้ดื่ม 1-2 แก้วต่อวัน มาที่ แคลเซียมเพื่อพัฒนาการของกระดูกที่ดี วัยรุ่นควรได้รับ 1,200-1,500 มก./วัน หรือได้รับจากอาหารที่มีปริมาณแคลเซียมสูง 2-3 ส่วนต่อวัน ขณะที่ ธาตุเหล็ก เพื่อการพัฒนาการที่ดีของกล้ามเนื้อและการผลิตเม็ดเลือด วัยรุ่นชายต้องการ 12 มก./วัน ส่วนวัยรุ่นหญิงต้องการ 15 มก./วัน
          พ่อแม่ควรฝึกให้เด็กกินอาหารมื้อเช้าที่มีคุณค่าโภชนาการสูงทุกวันจนเป็นนิสัย รวมทั้งกินอาหารเป็นเวลา เคี้ยวอาหารให้ละเอียด และกินอาหารให้พออิ่ม
          นอกจากเรื่องโภชนาการแล้ว พ่อแม่ควรส่งเสริมให้ลูก ออกกำลังกาย และ มีกิจกรรมทางกาย ในชีวิตประจำวัน เนื่องจากการออกกำลังกายจะทำให้เด็กได้เคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย โดยให้เด็กออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง พ่อแม่ควรหาเวลาร่วมออกกำลังกายไปพร้อมลูกด้วยจะทำให้ลูกรู้สึกมีเพื่อน และสนุกมากขึ้น ซึ่งกิจกรรมที่สามารถร่วมเล่นกับลูก อาทิ การวิ่ง กระโดดเชือก หรือการเต้น เป็นต้น เพื่อสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
          หากเป็นการให้เด็กได้เล่นกีฬาตามความถนัด ยังทำให้เด็กได้เรียนรู้กฎ กติกา และการอยู่ร่วมกับผู้อื่น รวมถึงการให้เด็กช่วยทำงานบ้านที่เหมาะสมกับอายุ เช่น กวาดบ้าน ถูบ้าน ตากหรือพับเสื้อผ้า รดน้ำต้นไม้ ล้างจาน นอกจากได้เคลื่อนไหวร่างกายแล้ว ยังเป็นการฝึกความรับผิดชอบให้กับเด็กอีกด้วย
          การอยู่บ้านของเด็ก ๆ จะไม่ก่อให้เกิดผลเสีย หากพ่อแม่ ผู้ปกครอง กำหนดระยะเวลาของกิจกรรมหน้าจอ ไม่ปล่อยให้เด็กหมกมุ่นอยู่กับกิจกรรมนั่ง ๆ นอน ๆ เช่น ดูโทรทัศน์ เล่นอินเทอร์เน็ต ซึ่งเด็กมักมีพฤติกรรมกินขนมจุบจิบและน้ำอัดลมร่วมด้วย โดยเด็กอายุ 2 ขวบขึ้นไป ควรใช้เวลาอยู่หน้าจอทุกชนิดไม่เกินวันละ 2 ชั่วโมง และควรให้ลูกดูโทรทัศน์ แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ บริเวณส่วนรวมของบ้านเพื่อให้อยู่ในสายตาของผู้ใหญ่ ส่วนเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ ไม่แนะนำให้ดู
          ฝึกให้ เข้านอนแต่หัวค่ำ เด็กควรได้นอนวันละ 8-10 ชั่วโมง นอกจากลดความเสี่ยงต่อโรคอ้วนแล้ว ยังทำให้สมองแจ่มใส ความจำดี พร้อมที่จะเรียนรู้อีกด้วย
          เหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของพฤติกรรมสุขภาพต่าง ๆ ที่ควรปลูกฝังในวัยเด็กจะได้เป็นนิสัยติดตัวต่อไปจนถึงวัยรุ่นและผู้ใหญ่
          เป็นเกราะป้องกันปัญหาในเรื่องต่าง ๆ ได้อีกมากมายอย่างไม่น่าเชื่อ!.
          "ไม่ตามใจ แบบผิด ๆ"


pageview  1210908    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved