HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ [ วันที่ 15/08/2555 ]
การมีเลือดปนกับน้ำอสุจิ (2)

 รศ.นท.ดร.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล
          คลินิกสุขภาพชายโรงพยาบาลรามาธิบดี
          ผู้ป่วยซึ่งมีเลือดปนน้ำอสุจิ  มักจะมาพร้อมด้วยอาการและอาการแสดงอื่นๆ เช่นมีอาการไข้  มีอาการปวดบริเวณอวัยวะเพศหรือปวดเวลาปัสสาวะ มีเลือดในปัสสาวะ มีอาการปวดเวลาหลั่งน้ำอสุจิ  มีอาการปวดหลัง ไข้ ปวดลูกอัณฑะ  ลูกอัณฑะบวม  มีอาการบวมหรือเจ็บบริเวณขาหนีบ
          การตรวจวินิจฉัยจำนวนหนึ่งจะถูกประเมินหลังจากทราบประวัติทางคลินิกและการตรวจร่างกาย
          การตรวจทางห้องปฏิบัติการมากที่สุดคือ การตรวจปัสสาวะและการเพาะเชื้อปัสสาวะ เพื่อระบุหาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือการติดเชื้ออื่น ๆ เมื่อมีข้อบ่งชี้ การถ่ายภาพเอกซเรย์ เช่น อัลตร้าซาวด์  (คลื่นเสียงความถี่สูง) หรือการตรวจเอ็ม อาร์ ไอ (MRI;การตรวจด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าแรงสูงอาจแสดงให้เห็นเนื้องอกหรือความผิดปกติอื่น ๆ ในบางกรณีมีการแนะนำการตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิ
          การรักษาการมีเลือดปนในน้ำอสุจิขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ตรวจพบ บางครั้งพบว่ามีการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะสำหรับการวินิจฉัยว่าน่าจะเป็นโรคต่อมลูกหมากอักเสบ  เนื่องจากพบว่ามีการศึกษาแสดงให้เห็นว่ามีถึงประมาณหนึ่งในสี่ของผู้ป่วยมีเลือดปนในน้ำอสุจิเนื่องจากต่อมลูกหมากอักเสบ
          อย่างไรก็ตามประโยชน์ของการรักษาดังกล่าวยังไม่ได้มีการรายงานให้เห็นอย่างชัดเจน  ตลอดจนอาจทำให้มีโอกาสเกิดปฏิกิริยาแพ้ยาปฏิชีวนะมากขึ้น
          ในหลาย ๆ กรณี  หากเลือดในน้ำอสุจิไม่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติของอาการอื่น ๆ ไม่จำเป็นต้องให้การรักษาและภาวะดังกล่าวมักหายเองภายในเวลาของสถานการณ์เหล่านั้น
          ถ้ามีอาการเลือดปนในน้ำอสุจิมากกว่าหนึ่งเดือน แม้ว่าจะไม่มีอาการอื่น ๆ ควรได้รับตรวจวินิจฉัยหรือการประเมินติดตามเป็นระยะ
          การพยากรณ์โรคจะสัมพันธ์กับสาเหตุพื้นฐานของโรคที่มีเลือดปนน้ำอสุจิ ถ้าสามารถระบุสาเหตุได้  อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยที่มีเลือดปนในน้ำอสุจิเป็นโรคไม่ร้ายแรงและหายได้เองโดยไม่ต้องการรักษา ในขณะที่พบได้ยากว่ามะเร็งเป็นสาเหตุของเลือดปนในน้ำอสุจิ  ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่เกี่ยวกับโรคมะเร็ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ชายอายุน้อยกว่า
          ควรมาพบแพทย์  ถ้าผู้ป่วยอายุมากกว่า 40 ปี และมีเลือดปนกับน้ำอสุจิ ถึงแม้จะไม่มีอาการอื่น ๆ แต่ถ้าอายุน้อยกว่า 40 ปีและมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่นปวดอวัยวะเพศหรือปัสสาวะแล้วปวด ปวดระหว่างการหลั่งน้ำอสุจิ มีไข้ ปัสสาวะลำบากหรือมีเลือดในปัสสาวะ  หรือมีปัจจัยเสี่ยงเช่นประวัติมะเร็ง โรคเลือดออกผิดปกติ การบาดเจ็บ
          มีคำถามเสมอว่าเราสามารถทำอะไรได้บ้างเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าวหรือไม่???
          คำตอบคือผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่สามารถป้องกันได้เพราะไม่ทราบสาเหตุ การตีบของท่อปัสสาวะและการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ อาจป้องกันด้วยการมีเพศสัมพันธ์แบบปลอดภัยไว้ก่อน เพราะการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์เป็นสาเหตุของการตีบของท่อปัสสาวะด้วย.
 


pageview  1210959    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved