HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์แนวหน้า [ วันที่ 08/12/2563 ]
สังเวยน้ำท่วม20ศพ5จว.ภาคใต้ยังเดือดร้อนหนักบิ๊กตู่เยี่ยมเมืองคอน7ธันวาคม

 

          ปภ.เผย 5 จังหวัดภาคใต้ ยังมี น้ำท่วมขัง ได้รับผลกระทบแล้วกว่า 5 แสนครัวเรือน เสียชีวิต 20 ราย นายกฯ ลุยเมืองคอน 7 ธันวาคมนี้ เร่งถกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ปัญหาให้ยั่งยืน ด้านหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ สั่งลูกพรรค เร่งช่วยผู้ประสบภัย ขณะที่ สส.ฝ่ายค้าน ลงพื้นที่ภาคใต้ อัด รบ.โครงการเตือนภัยไม่คืบหน้า
          เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม กรมป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก และวาตภัยพื้นที่ภาคใต้ รวม 11 จังหวัด 100 อำเภอ 557 ตำบล 4,095 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 553,715 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 20 ราย ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขัง 5 จังหวัด ได้แก่ จ.สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง และสงขลา ระดับน้ำลดลงแล้วทุกจังหวัด ซึ่งทาง ปภ.ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยและคลี่คลายสถานการณ์ โดยเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมและสำรวจความเสียหายครอบคลุมทุกด้าน เพื่อให้การช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลัง
          ทั้งนี้ ปภ.ในฐานะกองอำนวยการ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานอิทธิพลมรสุมตะวันออก เฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศมาเลเซีย ส่งผลให้บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก และวาตภัย ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน-6 ธันวาคม โดยมีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก และวาตภัย รวม 11 จังหวัดปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมใน 5 จังหวัด 51 อำเภอ 276 ตำบล 1,897 หมู่บ้าน ประชาชน ได้รับผลกระทบ 290,997 ครัวเรือน
          แยกเป็น จ.สุราษฎร์ธานี น้ำท่วมขังในพื้นที่ 13 อำเภอ จ.นครศรีธรรมราช น้ำท่วมขังในพื้นที่ 18 อำเภอ รวม 91 ตำบล 712 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 184,750 ครัวเรือน ปัจจุบันระดับน้ำลดลง จ.ตรัง น้ำท่วม 6 อำเภอ รวม 23 ตำบล 99 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,968 ครัวเรือน ปัจจุบันระดับน้ำลดลง จ.พัทลุง น้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ รวม 32 ตำบล 198 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 46,284 ครัวเรือน ปัจจุบันระดับน้ำลดลง และ จ.สงขลา น้ำท่วมขังในพื้นที่ 7 อำเภอ รวม 32 ตำบล 160 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 28,867 ครัวเรือน ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
          ทั้งนี้ ปภ.ได้ประสานจังหวัด หน่วยทหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องร่วมกับศูนย์ป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยเขต ทั้งที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัย พื้นที่ใกล้เคียงพื้นที่อื่นๆ สนับสนุนการ เผชิญเหตุ โดยระดมกำลังพลและทรัพยากร ด้านสาธารณภัย อาทิ เรือท้องแบนพร้อมเครื่องยนต์ เรือไฟเบอร์ รถสูบส่งน้ำระยะไกล รถผลิตน้ำดื่ม รถเคลื่อนย้าย ผู้ประสบภัย รถสุขาเคลื่อนที่ รถประกอบอาหาร รถไฟฟ้าส่องสว่าง ให้การช่วยเหลือ ผู้ประสบภัย โดยขนย้ายสิ่งของไปไว้ในที่สูง และเร่งระบายน้ำท่วมขัง รวมถึงแจกจ่าย เครื่องอุปโภค-บริโภค อีกทั้งจัดเจ้าหน้าที่ สำรวจและประเมินความเสียหาย เพื่อดำเนินการ ช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลัง
          อย่างไรก็ดี ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัย สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้การช่วยเหลือต่อไป
          ด้าน นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษก ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในวันที่ 7 ธันวาคมนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม พร้อมคณะ จะเดินทางไปยังศูนย์ศิลปาชีพบ้านเนินธัมมัง  ต.แม่เจ้าอยู่หัว อ.เชียรใหญ่  จ.นครศรีธรรมราช เพื่อตรวจสถานการณ์น้ำ เยี่ยมเยียนและ มอบเครื่องอุปโภค-บริโภคให้ประชาชน ผู้ประสบภัย รวมทั้งสร้างขวัญกำลังใจ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ โดยรับทราบ รายงานเบื้องต้นว่าสถานการณ์น้ำท่วมภาคใต้ขณะนี้หลายจังหวัดระดับน้ำเริ่มลดลง ต่อเนื่อง เพราะฝนตกลดลง และอิทธิพลจากน้ำทะเลหนุนไม่กระทบกับการระบายน้ำ
          ทั้งนี้ นายกฯ ได้สั่งการให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเร่งระดมเครื่องจักร เครื่องมือระบายน้ำให้ลดลงโดยเร็วที่สุดก่อนจะมีฝนตกเพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงวันที่ 12-14 ธันวาคมนี้ และมอบให้กองอำนวยการน้ำแห่งชาติติดตามประเมินปริมาณฝนในช่วงดังกล่าวอย่างใกล้ชิด โดยขณะนี้ยังคงมีสถานการณ์พื้นที่ประสบภัยคงเหลืออีก 5 จังหวัด ได้แก่ จ.สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง และสงขลา รวมทั้งสิ้น 51 อำเภอ และมีประชาชนได้รับผลกระทบ 290,997 ครัวเรือน
          นายอนุชากล่าวอีกว่า นายกฯ สั่งกำชับหน่วยปฏิบัติในพื้นที่ ให้เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อแจ้งเตือนประชาชนและปรับแผนบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์น้ำ รวมทั้งสั่ง ให้การช่วยเหลือประชาชนเป็นไปในแบบบูรณาการ โดยให้กระทรวงกลาโหม เร่ง ซ่อมแซมบ้านเรือนและสิ่งก่อสร้างสาธารณะ ถนน สะพานที่ได้รับความเสียหาย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ดูแลกลุ่มเปราะบางทั้งเด็ก ผู้สูงอายุและผู้ป่วย เพื่อให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟูสภาพจิตใจ
          ส่วนกระทรวงมหาดไทยและกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ เร่งสำรวจจำนวนครอบครัวที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงทรัพย์สินและพื้นที่ทำการเกษตรปศุสัตว์ที่ได้รับความเสียหาย เพื่อชดเชย เยียวยา ตามระเบียบหลักเกณฑ์ของกระทรวงการคลังและสำนักนายกรัฐมนตรี
          "ท่านนายกฯ แสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้เสียชีวิตจากสถานการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้ และติดตามสถานการณ์น้ำท่วมภาคใต้อย่างใกล้ชิด ที่ผ่านมาได้มอบหมายให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกระจายกันลงพื้นที่ ทั้งนายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มหาดไทย ซึ่งลงพื้นที่ จ.พัทลุง และ จ.นครศรีธรรมราช และนายอนุชา นาคาศัย รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ จ.สงขลา ตามลำดับ โดยก่อนนั้นหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องทั้งปภ.กรมอุตุนิยมวิทยา สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ มีการแจ้ง เตือนและประสานไปยังจังหวัดและองค์กร บริหารส่วนท้องถิ่น เพื่อเฝ้าระวังสถานการณ์ด้วย อย่างไรก็ดี ในวันที่ 7 ธันวาคมนี้ นายกฯ จะร่วมประชุมกับหน่วยงานน้ำทั้งระบบ เพื่อพิจารณาปรับปรุงแผนและมาตรการต่างๆ เพื่อให้การแก้ปัญหาน้ำท่วมมีประสิทธิภาพมากขึ้น" โฆษกรัฐบาลกล่าว
          นายอนุชากล่าวต่อว่า การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมภาคใต้ในระยะยาว นายกฯ มอบหมายให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) จัดทำแผนงานในการแก้ไขปัญหา น้ำท่วมอย่างยั่งยืน เพื่อให้มีเครื่องมือในการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เกิดเหตุการณ์ซ้ำซาก ทั้งการเร่งแผนงานโครงการที่ได้เริ่มดำเนินการในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เช่น โครงการระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนเมืองนครศรีธรรมราช เป็นการขุดคลองระบายน้ำใหม่และเพิ่มประสิทธิภาพคลองเดิมเป็น 750 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวินาที
          นอกจากนั้นยังมีแผนงานโครงการที่ดำเนินการได้ในปี 2564-2566 อีก 63 โครงการ อาทิ อ่างฯคลองสีสุก จ.สุราษฎร์ธานี แก้มลิงฉลุง จ.สงขลา ระบบระบายน้ำหลักพื้นที่ชุมชนเมืองนครศรีธรรมราช ระยะที่ 2 ระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชน เมืองพัทลุง สงขลา ตรัง และยะลา รวมทั้ง ยังมีโครงการขนาดใหญ่ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ เช่น โครงการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยเมืองชุมพร (ขุดคลองผันน้ำลุ่มน้ำคลองชุมพร) ให้สามารถระบายน้ำได้เพิ่มขึ้น การก่อสร้างอาคารบังคับน้ำใน คลองชุมพรเดิม ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน ปี 2565
          ส่วนการดำเนินการอื่นๆ คือการเร่งแก้ไขปัญหาสิ่งกีดขวางทางน้ำให้แล้วเสร็จตามแผน ปัจจุบันดำเนินการเสร็จแล้วทั้งสิ้น 66 แห่ง อยู่ระหว่างดำเนินการ 30 แห่ง และตรวจสอบเพิ่มเติมอีก 19 แห่ง
          ขณะเดียวกัน นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวถึงการลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมว่าได้มาเยี่ยมประชาชนในพื้นที่ซึ่งเกิด น้ำท่วมในหลายจังหวัดภาคใต้ ซึ่งมีความเดือดร้อนมาก ทางพรรคประชาธิปัตย์ ได้มีการกำชับบุคลากรของพรรคทั้งส่วนที่อยู่ในรัฐบาล เช่น รัฐมนตรี ให้ลงไปตรวจเยี่ยมพื้นที่และร่วมแก้ปัญหา นำสิ่งของบรรเทาทุกข์ไปมอบให้พี่น้องประชาชน
          นายจุรินทร์กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ นายนิพนธ์ รมช.มหาดไทย และนายถาวร เสนเนียม รมช.คมนาคม ได้ลงพื้นที่ไปแล้วหลายวัน เมื่อตนมีโอกาสจึงเดินทางลงพื้นที่มาพบปะผู้ประสบภัยและเป็นกำลังใจให้ รวมทั้งมองสิ่งของบรรเทาทุกข์ที่ จ.พัทลุง และ จ.นครศรีธรรมราช โดยที่ จ.พัทลุง ได้ลงพื้นที่ อ.กงหรา อ.เมือง และพื้นที่อื่นๆ ส่วน จ.นครศรีธรรมราช ได้ไปที่ อ.ทุ่งสง และพื้นที่อื่นๆ
          นายจุรินทร์กล่าวต่อว่า สำหรับสิ่งของที่จะมอบให้ ได้นำถุงยังชีพจากมูลนิธิ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ประมาณ 5,000 ชุด ก่อนหน้านี้ มูลนิธิฯ ได้จัดถุงยังชีพไปแล้ว 15,000 ชุดให้ผู้แทนฯ ของพรรคไปช่วยบรรเทาทุกข์ให้กับพี่น้องประชาชนที่ประสบภัยจนถึงขณะนี้จัดไปแล้ว 20,000 ชุด โดยพรรคประชาธิปัตย์จะกำชับให้รัฐมนตรีของพรรคกับผู้แทนฯ ของพรรคลงพื้นที่ ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่อง จนกว่าทุกข์ของพี่น้องชาวภาคใต้จะหมดสิ้นไป
          วันเดียวกัน นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย นายธีรัจชัย พันธุมาศ สส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง สส.บัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคประชาชาติ นายนิคม บุญวิเศษ สส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรค พลังปวงชนไทย นายอารี ไกรนรา สส. บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อชาติ และนายชวลิต วิชยสุทธิ์ สส.นครพนม พรรคเพื่อไทย ลงพื้นที่เยี่ยมให้กำลังใจและมอบถุงยังชีพให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยจุดแรกที่ศูนย์ อพยพโรงเรียนเทศบาลวัดเสมาเมือง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช จุดที่ 2 ผู้ประสบภัยที่มัสยิด ต.ท่าซัก อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช และจุดที่ 3 พบปะผู้นำชุมชน ให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่วัดสระไกร อ.เฉลิมพระเกียรติจ.นครศรีธรรมราช
          นายประเสริฐกล่าวว่า จากการ ลงพื้นที่พบว่าสภาพโดยทั่วไปน้ำลดลง แล้วในหลายอำเภอ ยกเว้น อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.เชียรใหญ่ ยังมีน้ำท่วมขัง สิ่งที่รัฐบาลต้องดำเนินเร่งด่วนคือเร่งเยียวยาผู้ประสบภัย และปัญหาขยะในเขตเทศบาลเมืองซึ่งเกิดจาก น้ำท่วมขังหลายวัน และปัญหาเรื่องน้ำประปา
          ขณะที่ พ.ต.อ.ทวีกล่าวว่า ขอแสดง ความเห็นใจผู้ประสบกับอุทกภัย ทั้งๆที่ควรจะมีระบบเตือนภัยที่ดีกว่านี้ เพราะ พี่น้องภาคใต้เคยได้รับผลกระทบจากพายุค่อนข้างบ่อย แต่ก็ยังมีการสูญเสียทุกครั้งในฐานะที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ มีหน้าที่ ออกกฎหมายและเป็นฝ่ายตรวจสอบรัฐบาล ในพื้นที่มีโครงการเพื่อป้องกันภัยพิบัติน้ำท่วม มูลค่าเกือบ 1 หมื่นล้านบาท แต่ปัจจุบันพบว่าโครงการไม่คืบหน้า ซึ่งพรรค ฝ่ายค้านจะติดตาม และตรวจสอบรัฐบาล เพื่อ ให้ดำเนินการ โดยจะเอาปัญหาของพี่น้องไป ผลักดันว่าควรทำอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก หรือถ้าเกิดเหตุการณ์แล้ว ทำอย่างไรถึงจะไม่ให้สูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน หรือจะมีวิธีการป้องกันอย่างไร
          ปภ.เผย 5 จังหวัดภาคใต้ ยังมี น้ำท่วมขัง ได้รับผลกระทบแล้วกว่า 5 แสนครัวเรือน เสียชีวิต 20 ราย นายกฯ ลุยเมืองคอน 7 ธันวาคมนี้ เร่งถกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ปัญหาให้ยั่งยืน ด้านหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ สั่งลูกพรรค เร่งช่วยผู้ประสบภัย ขณะที่ สส.ฝ่ายค้าน ลงพื้นที่ภาคใต้ อัด รบ.โครงการเตือนภัยไม่คืบหน้า
          เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม กรมป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานสถานการณ์น้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก และวาตภัยพื้นที่ภาคใต้ รวม 11 จังหวัด 100 อำเภอ 557 ตำบล 4,095 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 553,715 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 20 ราย ปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมขัง 5 จังหวัด ได้แก่ จ.สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง และสงขลา ระดับน้ำลดลงแล้วทุกจังหวัด ซึ่งทาง ปภ.ได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยและคลี่คลายสถานการณ์ โดยเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วมและสำรวจความเสียหายครอบคลุมทุกด้าน เพื่อให้การช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลัง
          ทั้งนี้ ปภ.ในฐานะกองอำนวยการ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกลาง (กอปภ.ก.) รายงานอิทธิพลมรสุมตะวันออก เฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมประเทศมาเลเซีย ส่งผลให้บริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก และวาตภัย ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน-6 ธันวาคม โดยมีพื้นที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมฉับพลัน น้ำไหลหลาก และวาตภัย รวม 11 จังหวัดปัจจุบันยังคงมีน้ำท่วมใน 5 จังหวัด 51 อำเภอ 276 ตำบล 1,897 หมู่บ้าน ประชาชน ได้รับผลกระทบ 290,997 ครัวเรือน
          แยกเป็น จ.สุราษฎร์ธานี น้ำท่วมขังในพื้นที่ 13 อำเภอ จ.นครศรีธรรมราช น้ำท่วมขังในพื้นที่ 18 อำเภอ รวม 91 ตำบล 712 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 184,750 ครัวเรือน ปัจจุบันระดับน้ำลดลง จ.ตรัง น้ำท่วม 6 อำเภอ รวม 23 ตำบล 99 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,968 ครัวเรือน ปัจจุบันระดับน้ำลดลง จ.พัทลุง น้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ รวม 32 ตำบล 198 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 46,284 ครัวเรือน ปัจจุบันระดับน้ำลดลง และ จ.สงขลา น้ำท่วมขังในพื้นที่ 7 อำเภอ รวม 32 ตำบล 160 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 28,867 ครัวเรือน ปัจจุบันระดับน้ำลดลง
          ทั้งนี้ ปภ.ได้ประสานจังหวัด หน่วยทหาร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องร่วมกับศูนย์ป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยเขต ทั้งที่อยู่ในพื้นที่ประสบภัย พื้นที่ใกล้เคียงพื้นที่อื่นๆ สนับสนุนการ เผชิญเหตุ โดยระดมกำลังพลและทรัพยากร ด้านสาธารณภัย อาทิ เรือท้องแบนพร้อมเครื่องยนต์ เรือไฟเบอร์ รถสูบส่งน้ำระยะไกล รถผลิตน้ำดื่ม รถเคลื่อนย้าย ผู้ประสบภัย รถสุขาเคลื่อนที่ รถประกอบอาหาร รถไฟฟ้าส่องสว่าง ให้การช่วยเหลือ ผู้ประสบภัย โดยขนย้ายสิ่งของไปไว้ในที่สูง และเร่งระบายน้ำท่วมขัง รวมถึงแจกจ่าย เครื่องอุปโภค-บริโภค อีกทั้งจัดเจ้าหน้าที่ สำรวจและประเมินความเสียหาย เพื่อดำเนินการ ช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลัง
          อย่างไรก็ดี ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัย สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้การช่วยเหลือต่อไป
          ด้าน นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษก ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในวันที่ 7 ธันวาคมนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม พร้อมคณะ จะเดินทางไปยังศูนย์ศิลปาชีพบ้านเนินธัมมัง  ต.แม่เจ้าอยู่หัว อ.เชียรใหญ่  จ.นครศรีธรรมราช เพื่อตรวจสถานการณ์น้ำ เยี่ยมเยียนและ มอบเครื่องอุปโภค-บริโภคให้ประชาชน ผู้ประสบภัย รวมทั้งสร้างขวัญกำลังใจ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ โดยรับทราบ รายงานเบื้องต้นว่าสถานการณ์น้ำท่วมภาคใต้ขณะนี้หลายจังหวัดระดับน้ำเริ่มลดลง ต่อเนื่อง เพราะฝนตกลดลง และอิทธิพลจากน้ำทะเลหนุนไม่กระทบกับการระบายน้ำ
          ทั้งนี้ นายกฯ ได้สั่งการให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องเร่งระดมเครื่องจักร เครื่องมือระบายน้ำให้ลดลงโดยเร็วที่สุดก่อนจะมีฝนตกเพิ่มขึ้นอีกครั้งในช่วงวันที่ 12-14 ธันวาคมนี้ และมอบให้กองอำนวยการน้ำแห่งชาติติดตามประเมินปริมาณฝนในช่วงดังกล่าวอย่างใกล้ชิด โดยขณะนี้ยังคงมีสถานการณ์พื้นที่ประสบภัยคงเหลืออีก 5 จังหวัด ได้แก่ จ.สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง พัทลุง และสงขลา รวมทั้งสิ้น 51 อำเภอ และมีประชาชนได้รับผลกระทบ 290,997 ครัวเรือน
          นายอนุชากล่าวอีกว่า นายกฯ สั่งกำชับหน่วยปฏิบัติในพื้นที่ ให้เฝ้าระวังสถานการณ์น้ำอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อแจ้งเตือนประชาชนและปรับแผนบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์น้ำ รวมทั้งสั่ง ให้การช่วยเหลือประชาชนเป็นไปในแบบบูรณาการ โดยให้กระทรวงกลาโหม เร่ง ซ่อมแซมบ้านเรือนและสิ่งก่อสร้างสาธารณะ ถนน สะพานที่ได้รับความเสียหาย กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข ดูแลกลุ่มเปราะบางทั้งเด็ก ผู้สูงอายุและผู้ป่วย เพื่อให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟูสภาพจิตใจ
          ส่วนกระทรวงมหาดไทยและกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ เร่งสำรวจจำนวนครอบครัวที่ได้รับผลกระทบ รวมถึงทรัพย์สินและพื้นที่ทำการเกษตรปศุสัตว์ที่ได้รับความเสียหาย เพื่อชดเชย เยียวยา ตามระเบียบหลักเกณฑ์ของกระทรวงการคลังและสำนักนายกรัฐมนตรี
          "ท่านนายกฯ แสดงความเสียใจต่อครอบครัวผู้เสียชีวิตจากสถานการณ์น้ำท่วมในครั้งนี้ และติดตามสถานการณ์น้ำท่วมภาคใต้อย่างใกล้ชิด ที่ผ่านมาได้มอบหมายให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกระจายกันลงพื้นที่ ทั้งนายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มหาดไทย ซึ่งลงพื้นที่ จ.พัทลุง และ จ.นครศรีธรรมราช และนายอนุชา นาคาศัย รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีลงพื้นที่ จ.สงขลา ตามลำดับ โดยก่อนนั้นหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องทั้งปภ.กรมอุตุนิยมวิทยา สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ มีการแจ้ง เตือนและประสานไปยังจังหวัดและองค์กร บริหารส่วนท้องถิ่น เพื่อเฝ้าระวังสถานการณ์ด้วย อย่างไรก็ดี ในวันที่ 7 ธันวาคมนี้ นายกฯ จะร่วมประชุมกับหน่วยงานน้ำทั้งระบบ เพื่อพิจารณาปรับปรุงแผนและมาตรการต่างๆ เพื่อให้การแก้ปัญหาน้ำท่วมมีประสิทธิภาพมากขึ้น" โฆษกรัฐบาลกล่าว
          นายอนุชากล่าวต่อว่า การแก้ไขปัญหาน้ำท่วมภาคใต้ในระยะยาว นายกฯ มอบหมายให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) จัดทำแผนงานในการแก้ไขปัญหา น้ำท่วมอย่างยั่งยืน เพื่อให้มีเครื่องมือในการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เกิดเหตุการณ์ซ้ำซาก ทั้งการเร่งแผนงานโครงการที่ได้เริ่มดำเนินการในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา เช่น โครงการระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชนเมืองนครศรีธรรมราช เป็นการขุดคลองระบายน้ำใหม่และเพิ่มประสิทธิภาพคลองเดิมเป็น 750 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวินาที
          นอกจากนั้นยังมีแผนงานโครงการที่ดำเนินการได้ในปี 2564-2566 อีก 63 โครงการ อาทิ อ่างฯคลองสีสุก จ.สุราษฎร์ธานี แก้มลิงฉลุง จ.สงขลา ระบบระบายน้ำหลักพื้นที่ชุมชนเมืองนครศรีธรรมราช ระยะที่ 2 ระบบป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชน เมืองพัทลุง สงขลา ตรัง และยะลา รวมทั้ง ยังมีโครงการขนาดใหญ่ที่อยู่ระหว่างดำเนินการ เช่น โครงการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยเมืองชุมพร (ขุดคลองผันน้ำลุ่มน้ำคลองชุมพร) ให้สามารถระบายน้ำได้เพิ่มขึ้น การก่อสร้างอาคารบังคับน้ำใน คลองชุมพรเดิม ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน ปี 2565
          ส่วนการดำเนินการอื่นๆ คือการเร่งแก้ไขปัญหาสิ่งกีดขวางทางน้ำให้แล้วเสร็จตามแผน ปัจจุบันดำเนินการเสร็จแล้วทั้งสิ้น 66 แห่ง อยู่ระหว่างดำเนินการ 30 แห่ง และตรวจสอบเพิ่มเติมอีก 19 แห่ง
          ขณะเดียวกัน นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ ในฐานะหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์กล่าวถึงการลงพื้นที่ช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมว่าได้มาเยี่ยมประชาชนในพื้นที่ซึ่งเกิด น้ำท่วมในหลายจังหวัดภาคใต้ ซึ่งมีความเดือดร้อนมาก ทางพรรคประชาธิปัตย์ ได้มีการกำชับบุคลากรของพรรคทั้งส่วนที่อยู่ในรัฐบาล เช่น รัฐมนตรี ให้ลงไปตรวจเยี่ยมพื้นที่และร่วมแก้ปัญหา นำสิ่งของบรรเทาทุกข์ไปมอบให้พี่น้องประชาชน
          นายจุรินทร์กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ นายนิพนธ์ รมช.มหาดไทย และนายถาวร เสนเนียม รมช.คมนาคม ได้ลงพื้นที่ไปแล้วหลายวัน เมื่อตนมีโอกาสจึงเดินทางลงพื้นที่มาพบปะผู้ประสบภัยและเป็นกำลังใจให้ รวมทั้งมองสิ่งของบรรเทาทุกข์ที่ จ.พัทลุง และ จ.นครศรีธรรมราช โดยที่ จ.พัทลุง ได้ลงพื้นที่ อ.กงหรา อ.เมือง และพื้นที่อื่นๆ ส่วน จ.นครศรีธรรมราช ได้ไปที่ อ.ทุ่งสง และพื้นที่อื่นๆ
          นายจุรินทร์กล่าวต่อว่า สำหรับสิ่งของที่จะมอบให้ ได้นำถุงยังชีพจากมูลนิธิ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ประมาณ 5,000 ชุด ก่อนหน้านี้ มูลนิธิฯ ได้จัดถุงยังชีพไปแล้ว 15,000 ชุดให้ผู้แทนฯ ของพรรคไปช่วยบรรเทาทุกข์ให้กับพี่น้องประชาชนที่ประสบภัยจนถึงขณะนี้จัดไปแล้ว 20,000 ชุด โดยพรรคประชาธิปัตย์จะกำชับให้รัฐมนตรีของพรรคกับผู้แทนฯ ของพรรคลงพื้นที่ ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนอย่างต่อเนื่อง จนกว่าทุกข์ของพี่น้องชาวภาคใต้จะหมดสิ้นไป
          วันเดียวกัน นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย นายธีรัจชัย พันธุมาศ สส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง สส.บัญชีรายชื่อ และเลขาธิการพรรคประชาชาติ นายนิคม บุญวิเศษ สส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรค พลังปวงชนไทย นายอารี ไกรนรา สส. บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อชาติ และนายชวลิต วิชยสุทธิ์ สส.นครพนม พรรคเพื่อไทย ลงพื้นที่เยี่ยมให้กำลังใจและมอบถุงยังชีพให้ผู้ประสบภัยน้ำท่วม โดยจุดแรกที่ศูนย์ อพยพโรงเรียนเทศบาลวัดเสมาเมือง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช จุดที่ 2 ผู้ประสบภัยที่มัสยิด ต.ท่าซัก อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช และจุดที่ 3 พบปะผู้นำชุมชน ให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่วัดสระไกร อ.เฉลิมพระเกียรติจ.นครศรีธรรมราช
          นายประเสริฐกล่าวว่า จากการ ลงพื้นที่พบว่าสภาพโดยทั่วไปน้ำลดลง แล้วในหลายอำเภอ ยกเว้น อ.เฉลิมพระเกียรติ อ.เชียรใหญ่ ยังมีน้ำท่วมขัง สิ่งที่รัฐบาลต้องดำเนินเร่งด่วนคือเร่งเยียวยาผู้ประสบภัย และปัญหาขยะในเขตเทศบาลเมืองซึ่งเกิดจาก น้ำท่วมขังหลายวัน และปัญหาเรื่องน้ำประปา
          ขณะที่ พ.ต.อ.ทวีกล่าวว่า ขอแสดง ความเห็นใจผู้ประสบกับอุทกภัย ทั้งๆที่ควรจะมีระบบเตือนภัยที่ดีกว่านี้ เพราะ พี่น้องภาคใต้เคยได้รับผลกระทบจากพายุค่อนข้างบ่อย แต่ก็ยังมีการสูญเสียทุกครั้งในฐานะที่เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ มีหน้าที่ ออกกฎหมายและเป็นฝ่ายตรวจสอบรัฐบาล ในพื้นที่มีโครงการเพื่อป้องกันภัยพิบัติน้ำท่วม มูลค่าเกือบ 1 หมื่นล้านบาท แต่ปัจจุบันพบว่าโครงการไม่คืบหน้า ซึ่งพรรค ฝ่ายค้านจะติดตาม และตรวจสอบรัฐบาล เพื่อ ให้ดำเนินการ โดยจะเอาปัญหาของพี่น้องไป ผลักดันว่าควรทำอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้อีก หรือถ้าเกิดเหตุการณ์แล้ว ทำอย่างไรถึงจะไม่ให้สูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน หรือจะมีวิธีการป้องกันอย่างไร

 


pageview  1210910    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved