HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
หนังสือพิมพ์แนวหน้า [ วันที่ 17/02/2564 ]
ความเครียดจากการทำงาน ฆาตกรเงียบ ทำร้ายสุขภาพจิต

การห่างจากสังคมและการทำงานระยะไกล หรือ "Remote Working" จากการระบาดของ โควิด-19 ในปัจจุบัน ทำให้คนทำงาน ประสบปัญหาความเครียดมากขึ้น ตลอดจนเกิดความไม่สมดุลระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว ซึ่งทั้งหมดนี้ก่อให้เกิด ผลกระทบอย่างมากต่อ "สุขภาพจิต" แต่เรารู้หรือไม่ว่า "สุขภาพจิต" หมายถึงอะไร
          "สุขภาพจิต" มีความหมายไกลไปกว่าการไม่มีความผิดปกติทางจิต เช่น ภาวะซึมเศร้าและความวิตกกังวล องค์การอนามัยโลกให้คำจำกัดความไว้ว่า "สุขภาพจิตดี" หมายถึง การที่บุคคลมีสภาพสุขภาวะทางจิตดีในการรับมือกับความเครียดในชีวิต สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำประโยชน์ให้แก่สังคมได้ ใครก็ตามต่างก็สามารถตกอยู่ในสภาวะสุขภาพจิตที่ย่ำแย่ได้ ซึ่ง ดร.ทีโดรส อัดฮานอม กีบรีเยซุส (Dr.Tedros Adhanom Ghebreyesus) ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก กล่าวไว้ว่า มันไม่ง่ายเลยที่จะรู้ ได้ว่าพวกเขาเหล่านั้นกำลังเผชิญอยู่กับปัญหาสุขภาพจิตที่เป็นเหมือน "ฆาตกรเงียบ" โดยในความเป็นจริงแล้ว อาจต้องใช้เวลาหลายปี กว่าที่คนเหล่านั้นจะเปิดใจยอมรับว่าพวกเขามีปัญหาสุขภาพจิต และเมื่อถึงตอนนั้นก็อาจจะสายเกินไปแล้ว
          แม้ปัญหาสุขภาพจิตจะเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่มีอยู่จริง จากผลการสำรวจสุขภาพจิตในประเทศไทยของกรมสุขภาพจิต พบว่าบุคลากรทางการแพทย์มีระดับความเครียดเพิ่มขึ้นจาก 4.8% เป็น 7.9% ในขณะที่ประชาชนทั่วไปมีระดับความเครียดเพิ่มขึ้นจาก 2.7% เป็น 4.2% เนื่องจากการระบาดของ โควิด-19 อีกทั้งองค์การอนามัยโลก ยังมีรายงานว่า คนจำนวนเกือบ 1 พันล้านคนทั่วโลก มีปัญหาสุขภาพจิต โดยผู้ที่มีความเจ็บป่วยทางจิตอย่างรุนแรง จะเสียชีวิตเร็วกว่าผู้ที่ไม่มีความเจ็บป่วยทางจิตถึง 20 ปี
          อย่างไรก็ตาม การระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้วิกฤติสุขภาพจิตทั่วโลกทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น โดยคนทำงานรุ่นใหม่ในประเทศไทยกว่า 7 ใน 10 คน ระบุว่า การระบาดนี้ส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตของพวกเขา นายจ้างจึงต้องตระหนักว่าปัญหาสุขภาพจิตนั้นกลายเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในที่ทำงาน เพราะปัจจุบันคนทำงานต้องรีบทำงานให้เสร็จภายในกำหนดเวลา บางคนถึงกับใช้วันลาเพื่อจะทำงานได้มากขึ้น และที่แย่ไปกว่านั้น คือ การไม่สื่อสารปัญหาเหล่านี้ในที่ทำงาน ยกตัวอย่างเช่น 63% ของพนักงานรู้สึกไม่สะดวกใจ ที่จะเล่าให้เพื่อนร่วมงานฟังว่าพวกเขา ลางานเพราะมีปัญหาสุขภาพจิต เป็นผลให้คนในองค์กรขาดความตระหนักถึงปัญหาสุขภาพจิตที่คนทำงานต้องเผชิญมานานหลายปี
          ไม่ต้องสงสัยเลยว่าการ ส่งเสริมการสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดีต่อสุขภาพอยู่เสมอ เป็นเรื่องที่ท้าทาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการระบาดของโควิด-19 ได้สิ้นสุดลง และบริษัทต่างๆ พยายามที่จะขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้าเพื่อชดเชยกับเวลาที่สูญเสียไป ซึ่งดูเหมือนจะสวนทางกับคำแนะนำที่ว่าให้ถอยกลับไปตั้งหลักเพื่อเปิดรับมุมมองใหม่ๆ แต่นั่นคือสิ่งที่เราต้องทำ เมื่อเราได้ไตร่ตรองถึงบทเรียนสำคัญในปีที่ผ่านมา เราควรตระหนักว่าท่ามกลางความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้น เพื่อนร่วมงานของเราได้ร่วมเผชิญพายุลูกใหญ่กับเรา พวกเขาได้ผจญกับความท้าทายหรือบททดสอบที่ไม่เคยมีมาก่อน และได้เอาตัวรอดจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นด้วยการปรับเปลี่ยนและการคิดใหม่ๆ ด้วยความยืดหยุ่นและความอดทน ซึ่งหากพวกเขาขาดความบากบั่นอุตสาหะร่วมกัน บริษัทก็จะไม่สามารถอยู่รอดจากสถานการณ์นี้ได้
          ดังนั้น สิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ "คน" ควรมาก่อนเสมอ ความคิดนี้จะช่วยให้เราสามารถดูแลพนักงานให้มีความสุข มีสุขภาพกาย และสุขภาพใจแข็งแรง และเรายังสามารถปูเส้นทางสำหรับการสร้างอนาคตการทำงานให้แก่พวกเขาได้ มันจึงไม่ใช่แค่สิ่งที่ถูกต้องเท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งที่ควรทำอีกด้วย
          Mr.Jim Falteisek  รองประธาน 3M Asia Corporate Affairs มีข้อเสนอแนะว่า 1.อย่ากลัวที่จะพูดถึงปัญหาสุขภาพจิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณไม่เคยประสบมาก่อน ในช่วงแรกอาจจะมีคำถามมากมายและการพูดคุยอาจจะน่าอึดอัดบ้าง แต่นี่เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้วิธีจัดการกับปัญหาดังกล่าวที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนนับล้านทั่วโลก สิ่งสำคัญที่ต้องจำไว้คือคุณไม่ได้อยู่คนเดียว และเมื่อคุณเปิดใจ คุณจะพบว่ามีคนอื่นมากมายที่เคยประสบปัญหาเช่นเดียวกัน กับคุณ สิ่งที่คุณต้องทำเป็นก้าวแรกคือคุณต้องมีศรัทธาและเชื่อมั่นว่า มีคนที่พร้อมจะช่วยเหลือและสนับสนุนในยามที่คุณมีปัญหา แต่หากคุณไม่ได้ประสบภาวะดังกล่าว ลองหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อที่จะให้ความช่วยเหลือคนรอบข้างได้ในอนาคต
          2.ขอความช่วยเหลือเมื่อต้องการ นอกเหนือจากการสนับสนุนที่ดีจากที่บ้านแล้ว คุณควรซื่อสัตย์และโปร่งใสกับหัวหน้าและเพื่อนร่วมงานที่ 3เอ็ม เราเปิดโอกาสให้พนักงานได้พูดคุยกับหัวหน้างานถึงแนวทางการทำงาน ที่ชอบผ่านโปรแกรม FlexAbility ซึ่งโปรแกรมนี้ส่งเสริมให้หัวหน้างานเข้าใจ สนับสนุน และให้ความช่วยเหลือพนักงานด้วยการขจัดอุปสรรคที่พวกเขากำลังเผชิญอยู่ในที่ทำงาน อย่างไรก็ตาม โปรแกรมนี้อาจจะไม่เหมาะสมกับทุกคน จึงต้องมีการปรับใช้ตามหน้าที่รับผิดชอบของพนักงานและสถานการณ์ เราเชื่อว่าการสื่อสารแบบเปิดใจจะช่วยให้ความสัมพันธ์ดีและส่งผลให้การทำงานดีและมีประสิทธิภาพ
          3.หาแรงบันดาลใจและลองใช้กลยุทธ์ใหม่ๆ ในการเผชิญ ปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย ใหม่ๆ ที่คุณอยากลอง การฝึกสมาธิ การทำประโยชน์ให้แก่สังคมหรือชุมชนรอบตัว ตลอดจนการมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เพื่อจะได้รับแรงบันดาลใจจากแนวคิดใหม่ๆ ในการรับมือกับความเครียด ตัวอย่างเช่น การช่วยเหลือ ให้พนักงานผ่านสถานการณ์นี้ได้ ที่ 3เอ็ม เรามีการจัดงาน Global Virtual Well-being Fair เพื่อให้พนักงานสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่จะช่วยส่งเสริมให้เขามีสุขภาพร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และความเป็นอยู่ที่ดี
          4.ใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่ เช่น 3เอ็ม ได้จัดทำ Employee Assistance Program (EAP) ที่คอยให้ความช่วยเหลือ ที่เหมาะสมแก่พนักงานตลอด เส้นทางอาชีพ โดยโปรแกรมนี้มีบริการที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นการให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ หรือการให้คำแนะนำเกี่ยวกับวิธีจัดการชีวิตในฐานะพ่อแม่ที่ต้องทำงานนอกบ้าน ซึ่งเป้าหมายของโปรแกรมต่างๆ เหล่านี้ คือเพื่อให้พนักงานได้รับความช่วยเหลือในทุกมิติของชีวิตเมื่อต้องการ
          สรุปก็คือ การเสริมสร้างการมีสุขภาพจิตดีเป็นงานที่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง เสมือนเป็นการเดินทางแทนที่จะมีจุดสิ้นสุดที่ตายตัว ด้วยทรัพยากรที่มีอยู่ สภาพแวดล้อมในการทำงาน และการสนับสนุน ที่เหมาะสม จะทำให้เราสามารถก้าวไปสู่การเป็นสถานที่ทำงาน ที่ส่งเสริมความเป็นหนึ่งเดียวกัน (Inclusive) และการร่วมมือร่วมใจระหว่างพนักงาน (Collaborative) การทำเช่นนั้น คือการใช้สติในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ปัญหาสุขภาพจิตส่งผลกระทบต่อเราทุกคน และถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องเผชิญหน้ากับเรื่องนี้ หากเรามุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำที่มี ความรับผิดชอบ เอาใจใส่ และเห็นอกเห็นใจ คนทำงานในยุคศตวรรษที่ 21


pageview  1210903    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved