|
|
|
หนังสือพิมพ์แนวหน้า [ วันที่ 09/09/2564 ] |
|
|
|
|
กรมควบคุมโรค พัฒนาหลักสูตรและชุดเครื่องมือ หนุนผู้นำท้องถิ่นทั่วไทยใช้ป้องกัน โรคเอ็นซีดี |
|
|
|
|
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข จับมือกรมส่งเสริมการปกครอง ท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย พัฒนาหลักสูตรและชุดเครื่องมือหนุนผู้นำท้องถิ่น ทั่วประเทศใช้ป้องกันโรคเอ็นซีดีในพื้นที่ ซึ่งเป็นต้นเหตุหลักทำให้คนไทยอายุสั้นและ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะ 5 โรคสำคัญ คือ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจขาดเลือด โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในปี 2562 มี ผู้เสียชีวิตรวมกว่า 8 หมื่นราย กำลังรักษาตัวขณะนี้อีกกว่า 4 ล้านราย ขณะนี้ จัดทำร่างหลักสูตรภาคทฤษฎีแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างทดลองภาคปฏิบัติ คาดสมบูรณ์แบบ และประกาศใช้ปลายปีนี้
นายแพทย์ปรีชา เปรมปรี รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงการป้องกันแก้ไขปัญหา โรคเอ็นซีดีหรือ โรคไม่ติดต่อว่า ขณะนี้โรคเอ็นซีดี (Non Communicable Diseases : NCDs) กำลังเป็นปัญหาคุกคามสุขภาพอันดับ 1 ทั่วโลก เสียชีวิตปีละกว่า 40 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 70 ของการเสียชีวิตทั้งหมด โรคนี้ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อเฉียบพลัน แต่เกิดมาจากพฤติกรรมของแต่ละบุคคลเองที่สะสมจนเป็นเหตุ ให้เจ็บป่วยหรือมีอันตรายต่อชีวิตใน ระยะยาว โรคจะดำเนินอย่างค่อยเป็นค่อยไป บั่นทอนคุณภาพชีวิตลงเรื่อยๆ และทำให้อายุสั้นลง โรคเอ็นซีดีที่พบมากที่สุด ในประเทศไทยมี 5 โรคสำคัญ ข้อมูลล่าสุด ในปี 2562 มีผู้เสียชีวิตจาก 5 โรคนี้รวม 88,088 ราย ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 34,727 ราย โรคหัวใจ ขาดเลือด จำนวน 20,556 ราย โรคเบาหวาน จำนวน 16,589 ราย โรคความดันโลหิตสูง จำนวน 9,313 ราย โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง จำนวน 6,903 ราย กำลังป่วยอยู่ระหว่าง รักษาในขณะนี้อีกกว่า 4.5 ล้านคน ทั่วประเทศ พบทั้งเขตเมืองและชนบท ไม่แตกต่างกัน สาเหตุการเจ็บป่วยเกี่ยวกับ 6 ปัจจัยเสี่ยงหลักคือ การสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ขาดการออกกำลังกาย การรับประทาน อาหารไม่เหมาะสม เช่น หวานเกิน เค็มเกิน ความเครียด และมลพิษสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะมลพิษทางอากาศ
นายแพทย์ปรีชา กล่าวว่า กรมควบคุมโรค ได้เร่งป้องกันแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยในปีนี้ได้ร่วมมือกับกองสาธารณสุขท้องถิ่น กรมส่งเสริมการ ปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย จัดทำ โครงการพัฒนาหลักสูตรการป้องกัน ควบคุมโรคเอ็นซีดีและชุดเครื่องมือ เพื่อให้ผู้นำท้องถิ่นนำไปใช้แก้ปัญหาในพื้นที่ โดยได้รับการสนับสนุนจากโครงการป้องกันและควบคุมโรคเอ็นซีดีภายใต้ยุทธศาสตร์ความร่วมมือของประเทศ ระหว่างรัฐบาลไทยกับองค์การอนามัยโลก (CCS NCDs Program) และระดม สมองจากผู้เชี่ยวชาญและผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมกันจัดทำหลักสูตร ช่วยให้ผู้นำท้องถิ่น มีศักยภาพ เป็นต้นแบบในการดูแลสุขภาพ เป็นผู้กำหนดนโยบายและบริหารจัดการท้องถิ่น เพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับบริบทวิถีชีวิตของท้องถิ่นนั้นๆ โดยมีกองโรคไม่ติดต่อเป็นแกน หลักดำเนินการระหว่างเดือน เม.ย.-ธ.ค.2564 ซึ่งขณะนี้ได้จัดทำร่างหลักสูตรภาคทฤษฎีแล้วเสร็จ อยู่ระหว่างทดลองใช้ในภาคปฏิบัติ โดยจัดอบรมในระบบออนไลน์อย่างต่อเนื่อง คาดว่าจะสมบูรณ์แบบและใช้ในช่วงปลายปีนี้
ด้าน นายแพทย์กฤษฎา หาญบรรเจิด ผู้อำนวยการกองโรคไม่ติดต่อ กล่าวว่า ร่างหลักสูตรฯนี้ ประกอบด้วย 10 กลุ่มวิชา ได้แก่ 1.ทิศทางการป้องกันควบคุมโรคเอ็นซีดีของประเทศไทย และ ความสำคัญของท้องถิ่นกับการจัดการโรคฯ 2.โรคเอ็นซีดีและหลักการป้องกันควบคุม 3.ระบาดวิทยาและชุดข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์สถานการณ์ป้องกันโรคเอ็นซีดี ในชุมชน 4.การประเมินสถานการณ์ปัจจัยเสี่ยงและปัจจัยกำหนดของสุขภาพ ในชุมชน 5.การสร้างเสริมสุขภาพและลดความเสี่ยงในการป้องกันควบคุมโรคฯ ในชุมชน ด้วยหลักการ 3อ.2ส. คือ อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์ ไม่เสพสิ่งเสพติด และไม่ดื่มสุรา รวมถึงการป้องกันฝุ่นและสารเคมี การให้ความรู้ใน ชุมชน เทคนิคการสื่อสาร และการจัดทำ ข้อตกลงในชุมชน 6.การจัดการสิ่งแวดล้อม เพื่อป้องกันควบคุมโรคเอ็นซีดี 7.การจัดทำแผน ออกแบบโครงการ/กิจกรรม ป้องกันควบคุมโรคฯในชุมชน 8.การติดตามโครงการ/กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันควบคุมโรคฯสำหรับประชาชนในพื้นที่ 9.กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง กับการป้องกันควบคุมโรคฯ และ 10.การ ใช้และพัฒนาสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลใน ชุมชน |
| | |
|
| |