|
|
|
หนังสือพิมพ์แนวหน้า [ วันที่ 24/09/2564 ] |
|
|
|
|
ภาวะการบาดเจ็บของกระดูกสันหลังและไขสันหลัง |
|
|
|
|
บทความโดย นพ.พล อนันตวราศิลป์
นพ.อานุภาพ พันธุ์คงทรัพย์
ราชวิทยาลัยประสาทศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย
การบาดเจ็บของกระดูกสันหลัง เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในการเกิดอุบัติเหตุ สาเหตุที่พบได้บ่อย ได้แก่ อุบัติเหตุทางจราจร (40-50%), ตกจากที่สูง, การเล่นกีฬา, ทำให้ถูกแรงกระแทกโดยตรงและโดยอ้อมที่บริเวณหลังส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บได้หลายระดับตั้งแต่อาการบาดเจ็บเล็กน้อยจนถึงรุนแรงทำให้เกิดภาวะทุพพลภาพหรือเสียชีวิตได้
อาการในผู้ป่วยขึ้นกับตำแหน่งและความรุนแรงที่ได้รับ โดยตำแหน่งการบาดเจ็บพบบ่อยมากกว่า 50% ที่กระดูก สันหลังระดับคอ ตำแหน่งที่พบบ่อย ระดับอื่นๆ ได้แก่ กระดูกสันหลังระดับอกต่อเอว และระดับเอว ส่วนระดับความรุนแรงมีตั้งแต่ อาการปวดบริเวณที่ได้รับ บาดเจ็บ, ภาวะหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อหลัง, อาการอ่อนแรงบริเวณแขนขาตามตำแหน่ง ของไขสันหลังที่ได้รับบาดเจ็บ จนถึง อาการชาตามแขนขา ลำตัว, ความผิดปกติ ของการขับถ่ายปัสสาวะ, อุจจาระสำหรับการบาดเจ็บของกระดูกสันหลังระดับคอมีโอกาสเกิดความผิดปกติของสัญญาณชีพและการหายใจได้
เมื่อผู้ป่วยได้รับการตรวจวินิจฉัย ว่ามีการบาดเจ็บของกระดูกสันหลัง แพทย์จะทำการส่งตรวจทางรังสีเพื่อประเมินตำแหน่งและความรุนแรงของอาการบาดเจ็บ เพื่อตัดสินใจในการให้การรักษาต่อไป การตรวจทางรังสีในผู้ป่วยที่ได้รับการบาดเจ็บบริเวณกระดูกสันหลัง ได้แก่
1.เอกซเรย์กระดูกสันหลัง- เป็นการตรวจเบื้องต้น ดูรูปร่าง, การเรียงตัว ของกระดูกสันหลัง เพื่อหาภาวะกระดูกสันหลังแตกหรือเคลื่อน
2.CT scan-การตรวจเอกซเรย์ คอมพิวเตอร์เป็นการตรวจดูลักษณะ โครงสร้าง, การเรียงตัวของกระดูก สันหลังโดยละเอียด เพื่อหาภาวะกระดูกสันหลังแตกหรือเคลื่อน เป็นการตรวจที่ให้ความละเอียดมากกว่าการเอกซเรย์กระดูกสันหลังเบื้องต้น
3.MRI-การตรวจภาพโดย คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นการตรวจเพื่อดูการบาดเจ็บของไขสันหลัง, เส้นประสาท, เอ็นยึดกระดูก, กล้ามเนื้อ รวมถึงเนื้อเยื่อต่างๆ โดยรอบกระดูกสันหลัง ซึ่งไม่สามารถเห็นได้จาก CT scan
แนวทางการรักษา ในผู้ป่วยกระดูกสันหลังมีการบาดเจ็บควรได้รับการรักษาโดยรีบด่วนหลังจากการประเมินและให้การรักษาเบื้องต้นแล้ว สิ่งสำคัญคืออย่าให้เกิดการบาดเจ็บเพิ่มเติม โดยการใช้กระดาน อุปกรณ์พยุงคอ และหลังเมื่อจำเป็นต้องเคลื่อนย้ายผู้ป่วยบางกรณีหากมีกระดูกสันหลังเคลื่อนต้องใช้เครื่องดึงถ่วงน้ำหนักเพื่อลดการกดทับต่อไขสันหลังสำหรับยาที่มีประโยชน์ใน ผู้ป่วยบาดเจ็บไขสันหลังในระยะแรกได้แก่ ยากลุ่มสเตียรอยด์ขึ้นอยู่กับระยะเวลาและข้อบ่งชี้ทางการแพทย์
การรักษา ผู้ป่วยที่ได้รับการ บาดเจ็บของกระดูก และไขสันหลัง มีหลากหลายระดับ ตั้งแต่การให้ยาลดการ อักเสบ, ยาคลายกล้ามเนื้อ ช่วยลดอาการ ปวดที่เกิดจากการอักเสบของเส้นเอ็น, กล้ามเนื้อ หรือภาวการณ์หดเกร็งตัวของ กล้ามเนื้อได้การใส่อุปกรณ์พยุงคอหรือหลัง (orthosis) ช่วยลดการขยับของกล้ามเนื้อ และกระดูกสันหลัง ช่วยลดอาการปวด ในผู้ป่วยที่ไม่มีข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด
การผ่าตัด ในรายที่มีภาวะระบบ ประสาทถูกกดทับ ช่วยลดการกดทับของเส้นประสาทหรือไขสันหลัง ช่วยทำให้ อาการทางระบบประสาทฟื้นตัวดีขึ้น นอกจากนั้นในรายที่มีภาวะกระดูกสันหลังหัก หรือเคลื่อนและมีความไม่มั่นคงของกระดูกสันหลัง อาจมีการใส่เหล็กยึดดาม กระดูกเพื่อเพิ่มความแข็งแรง ช่วยลดอาการปวดจากการบาดเจ็บได้ |
| | |
|
| |