|
|
|
กรุงเทพธุรกิจ [ วันที่ 21/09/2564 ] |
|
|
|
|
เสริมสร้างภูมิคุ้มกันด้วย วิตามินดี ลดความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 |
|
|
|
|
กรุงเทพธุรกิจ สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ให้ความรู้ว่า วิตามินดี มีหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโต การแบ่งตัว และการตายของเซลล์ ที่มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย วิตามิน ดี จึงมีความจำเป็นสำหรับการทำงาน ของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งเป็นอันดับแรกในการป้องกันร่างกายจากการติดเชื้อโรค และอาหารเสริมวิตามินดี ยังสามารถเพิ่มภูมิคุ้มกัน ป้องกันการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจได้
ขณะที่ปัจจุบันคนส่วนใหญ่มักหลีกเลี่ยงแสงแดด เช่น การทาครีมกันแดด การทำงานในที่ร่ม และเมื่อคนเรามีอายุตั้งแต่ 20 ปี ขึ้นไป ร่างกายจะมีประสิทธิภาพในการ สังเคราะห์วิตามินดีจากแสงแดดลดลง และ จะลดลงไปเรื่อยๆ ตามอายุที่เพิ่มขึ้น (J. Clin. Invest. 0021 Volume 76, October 1985, 1536-1538) และปัจจัยอื่นๆ เช่นช่วงเวลา ของวัน มลภาวะสิ่งแวดล้อม อาทิ เมฆ หมอกควัน ฝุ่นละออง อาจทำให้ได้รับแสงแดดได้ไม่เต็มที่
นอกจากนี้คนไทยมักไม่ได้รับวิตามิน ดี จากอาหารอย่างเพียงพอ เนื่องจาก อาหารที่มีวิตามินดีสูง ได้แก่ น้ำมัน ตับปลา ปลาเทราท์ ปลาแซลมอน ซึ่งไม่ใช่อาหารที่คนส่วนใหญ่รับประทานเป็นประจำ
"พญ.อภิชนา มหัทธนะพฤทธิ์" อายุรศาสตร์ ต่อมไร้ท่อ และเมตาบอลิสม โรงพยาบาลปิยะเวท เปิดเผยว่า มาตรฐานของสมาคมต่อมไร้ท่อประเทศสหรัฐแนะนำว่า ระดับวิตามิน D ในเลือด น้อยกว่า 20 ng/ml (50 nmol/L) ถือว่าอยู่ในภาวะขาดวิตามิน D ระดับ วิตามิน D ในเลือดมากกว่า 30 ng/ml (75 nmol/L) ถึงจะเพียงพอ จากบทความ วิจัยรายงานว่า ประชากรโลกมีปัญหาภาวะขาดวิตามินดี (J Steroid Biochem Mol Biol. 2014 October ; 144PA: 138-145.)
และจากการศึกษาระดับ วิตามิน D ในเลือดของประชากรไทย ปี ใน 2551 พบว่า คนไทย 45% มีระดับวิตามิน D ไม่เพียงพอ คือน้อยกว่า 30 ng/ml (BMC Public Health 2011;11:853-9.) และ ผลการศึกษานี้สอดคล้องกันกับ ผลการเก็บข้อมูลของผู้ที่มาตรวจ ระดับวิตามิน D ในเลือด ของ โรงพยาบาลปิยะเวตลอดปี 2563 (จำนวน 685 คน) พบว่ามีระดับวิตามิน D ในเลือดเฉลี่ย 27.87 ng/ml พบผู้ที่มีภาวะพร่องวิตามิน D 26% (183 คน) พบผู้ที่มีระดับวิตามิน D ไม่เพียงพอ 63% (433 คน)
ร่างกายรับวิตามินดีจาก2ทาง
วิตามินดีเป็นวิตามินที่ละลายในไขมัน ร่างกายสามารถได้รับวิตามินดีจาก 2 ทาง คือจากการรับประทานอาหารและจาก การสังเคราะห์ที่ผิวหนังเมื่อได้รับการกระตุ้น จากรังสี ultraviolet B (UVB) วิตามิน ดี เป็นคำรวมที่ใช้เรียก Vitamin D2 (ergocalciferol) หรือ Vitamin D3 (cholecalciferol) วิตามินดีทั้งสองชนิด แตกต่างกันตรงแหล่งที่มากล่าวคือ vitamin D2 ได้มาจากพืช เช่น เห็ด และ สาหร่ายบางชนิด หรือได้รับมาจาก วิตามินเสริม
ส่วน Vitamin D3 ได้มาจากการสร้าง ที่ผิวหนังหรือมาจากอาหารที่มาจากสัตว์ เช่น ปลาที่มีไขมันสูง (ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ปลาแมคเคอเรล ปลาทูน่า ปลาเทราท์) น้ำมันตับปลา เป็นต้น หรือ ได้รับมาจากวิตามินเสริม Vitamin D2 และ vitamin D3 ซึ่งเป็นรูปแบบที่ไม่ ออกฤทธิ์ เมื่อร่างกายได้รับมาแล้วจะผ่าน เข้าสู่ตับและไตเพื่อเปลี่ยนเป็น vitamin D active form (รูปแบบออกฤทธิ์) ที่ร่างกาย นำไปใช้ประโยชน์ได้
โดยจากงานวิจัยพบว่า การรับประทาน Vitamin D3 สามารถเพิ่มระดับ Vitamin D ในร่างกายได้มากกว่าการ รับประทาน Vitamin D2 (ข้อแนะนำ เกี่ยวกับวิตามินดีในคนไทยภาวะขาด Vitamin D ; สมาคมต่อมไร้ท่อแห่ง ประเทศไทย)
วิตามิน ดี ลดเสี่ยงติดCOVID-19
หน้าที่วิตามิน ดีคือช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสเพื่อนำไปใช้ในการสร้างกระดูกและฟัน ช่วยในการทำงานของกล้ามเนื้อให้เป็นปกติ การขาดวิตามิน ดี มีผลทำให้เกิดโรคกระดูกและฟันได้ ถ้าขาด อย่างรุนแรงในทารกหรือในเด็กจะก่อให้เกิด โรคกระดูกอ่อน (rickets) ส่วนในผู้ใหญ่จะ ก่อให้เกิดโรคกระดูกแข็งที่อ่อนและโค้งงอได้ (osteomalacia) และอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) ในผู้ใหญ่ได้
นอกจากนี้ยังช่วยทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำหน้าที่ได้เป็นปกติ โดยจากการศึกษาล่าสุด พบว่าหากร่างกายมีระดับ วิตามิน ดี ในเลือด ไม่เพียงพอจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ COVID-19 และผู้ป่วยที่มีระดับวิตามิน ดี ในเลือดต่ำจะพบสารก่อให้เกิดการอักเสบมากกว่าจึงเกิดอาการรุนแรงมากกว่า (Scientific Reports (2020) 10:20191)
รวมถึงอัตราการติดเชื้อและการตายมากกว่า (Aging Clinical and Experimental Research (2020) 32:1195-1198; Nutrients 2020, 12, 1359) จากบทความวิจัย ตีพิมพ์ในระดับนานาชาติที่เก็บข้อมูลในผู้ป่วย COVID-19 ในโรงพยาบาลพบว่า 80% เป็นผู้มีภาวะขาดวิตามิน ดี (The Journal of Clinical Endocrinology & Metabolism, 2021, Vol. 106, No. 3, e1343-e1353)
นอกจากนั้นยังมีงานวิจัยทางคลินิกยืนยันโดยการรับประทานวิตามิน D ในขนาด สูง 5000-10000 IU ติดต่อกันจนสามารถทำให้ ระดับวิตามินในเลือดสูง 40-60 ng/ml สามารถช่วยป้องกันความเสี่ยงในการติดเชื้อ COVID-19 ได้ (Nutrients 2020, 12, 988) และการให้ผู้ป่วย COVID-19 รับประทานวิตามิน ดี ในขนาด 60000 IU เป็นเวลา 7 วัน พบว่าการติดเชื้อ COVID-19 หายไป 62.5% ภายใน 21 วัน ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้รับประทานวิตามิน D พบว่าการติดเชื้อหายไปเพียง 20.8 % (Postgrad Med J 2020;0:1-4.)
วิตามิน ดี กับระบบภูมิคุ้มกัน
วิตามิน ดี มีกลไกที่ซับซ้อนในการควบคุม ระบบภูมิคุ้มกันให้ทำหน้าที่ได้อย่างเป็นปกติ ในระบบภูมิคุ้มกันด่านแรก Innate Immune system วิตามิน ดี จะช่วยทำให้ เม็ดเลือดขาวในระบบภูมิคุ้มกัน เช่น Neutrophil, Monocyte, Lymphocyte สร้างโปรตีนฆ่าเชื้อ (Antimicrobial protein) ในการต่อต้านเชื้อโรคต่างๆ ส่วนในระบบภูมิคุ้มกันด่านที่สอง Adaptive immune system วิตามิน ดี จะช่วยยับยั้งสารอักเสบ เช่น IL-2 (Interleukin 2) (Interferon gamma) IL-17 (Interleukin 17) IL-12 (Interleukin 12) ที่สร้างจากเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน T cell ให้น้อยลง ทำให้การอักเสบรุนแรงของโรคน้อยลง (Nutrients 2015, 7, 8251-8260)การเสริมวิตามิน ดี ให้เพียงพอน่าจะ มีประโยชน์ในการป้องกันการติดเชื้อ ทางเดินหายใจ และCOVID-19
ปัจจุบันแพทย์ในโรงพยาบาลต่างๆ มีแนวทางในการดูแลคนไข้ ด้วยการตรวจวิตามิน ดี ในเลือดก่อนและแพทย์ จะสั่ง วิตามิน ดี ในขนาดสูงเช่น 2000 IU 5000 IU หรือ 10000 IU เพื่อเสริมการรักษา ในด้านต่างๆ เช่นการเสริมการรักษาใน ผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 ในการป้องกัน การติดเชื้อและลดความรุนแรงของ อาการของโรค |
| | |
|
| |