HISO - เรื่องเล่าข่าวเด่น

  
   Follow us      
  
สยามกีฬา [ วันที่ 03/02/2564 ]
ตะลึง!ทารกแรกเกิด ติดไวรัสที่สมุทรสาคร ป่วยใหม่836ดับอีก2 หมอชี้พบเชื้อลดลง

ศบค.แถลงโควิด-19 ประจำวันที่ 2 ก.พ. 64 ตัวเลขผู้ป่วยยังพุ่ง 836 ราย เสียชีวิตอีก 2 ราย ผู้เสียชีวิตเป็นหญิงไทยอายุ 75 และชายไทย อายุ 68 ปี มีโรคประจำตัวทั้งคู่ ระบุพบเด็กแรกเกิด วัย 26 วัน ติดโควิด-19 ด้านคณบดีศิริราชฯ เผย ทั่วโลกฉีดวัคซีนโควิดแล้ว 46 ล้านคนกว่า 100 ล้าน โดส แนวโน้มติดเชื้อลดลง ติดตามผลเบื้องต้นอาการข้างเคียง ส่วนใหญ่ไม่รุนแรง ขณะที่นายอนุทิน เผย ผลสอบโรงแรมดัง ไร้แอลกอฮอล์ เสิร์ฟแค่น้ำส้มน้ำแอปเปิล ปิดไม่เกิน 3 ทุ่ม ชี้ปมวัคซีน อย่าเอาประเทศอื่นมาเทียบ ไม่ยอมให้คนไทยเป็นหนูทดลอง
          ป่วยโควิดใหม่836ราย
          นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคโควิด-19 (ศบค.) แถลงสถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 2 ก.พ. 64 ว่าผู้ป่วยใหม่วันนี้ 836 ราย ผู้ป่วยยืนยัน สะสม 20,454 ราย แบ่งเป็นติดเชื้อในประเทศ 819 ราย ติดเชื้อจากต่างประเทศ 17 ราย ขณะที่ยอดผู้ป่วยสะสมอยู่ที่ 20,454 ราย หายป่วยแล้ว 13,217 ตาย เสียชีวิต 2 ราย สะสมคงที่ 79 ราย
          2 รายดับมีโรคประจำตัว
          นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ผู้เสียชีวิตรายที่ 78 เป็นหญิงไทยอายุ 75 ปี ที่ จ.สมุทรสาคร โรคประจำตัว คือ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง เมื่อวันที่ 25 ม.ค. เข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 เพราะมีประวัติสัมผัสผู้ป่วยยืนยันรายก่อนหน้าที่เป็นสามีของผู้ป่วย โดยไม่มีอาการใดๆ และกลับไปรอฟังผลที่บ้าน
          เมื่อวันที่ 28 ม.ค. ผลตรวจยืนยันพบเชื้อ หลังจากนั้นลูกสาวแจ้งว่า ผู้ป่วยเริ่มมีอาการอ่อนเพลีย หายใจเหนื่อย ซึมลง จึงเข้ารักษาที่โรงพยาบาล (รพ.) ในสมุทรสาคร ต่อมาอาการมากเหนื่อยมากขึ้นเรื่อยๆ เสียชีวิตลงในวันที่ 30 ม.ค.
          นพ.ทวีศิลป์ กล่าวต่อว่า ผู้เสียชีวิตรายที่ 79 เป็นชายไทยอายุ 68 ปี อาชีพค้าขาย โรคประจำตัวคือ เบาหวาน ไตวายระยะสุดท้าย เคยมีประวัติปลูกถ่ายไต ประวัติไปพื้นที่เสี่ยงคือสมุทรสาคร ไปร้านคาราโอเกะย่านปิ่นเกล้า เมื่อวันที่ 30 ธ.ค. 63 มีอาการไอ มีน้ำมูก ปวดกล้ามเนื้อ ต่อมาเมื่อวันที่ 7 ม.ค. 64 ผลการตรวจยืนยันติดเชื้อโควิด-19 จากนั้นเข้ารักษาที่ รพ.ร่วม 1 เดือน และเสียชีวิตวันที่ 1 ก.พ. เวลา 01.00 น.
          เปิดโรงเรียนไม่ใช่ทางออก
          นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 (ศบค.) กล่าวถึงกรณีพบนักเรียนและนักศึกษาติดเชื้อจะป้องกันอย่างไรไม่ให้นำเชื้อเข้าไปในสถานศึกษาซึ่งเพิ่งมีการเปิดเรียน "เมื่อวันที่ 1 ก.พ. ว่าการติดเชื้อตั้งแต่เปิดเรียนวันแรก แสดงว่ามีการติดเชื้อมาจากจุดอื่น เช่น บ้าน ชุมชน แต่ไม่ใช่สถานศึกษา แต่ถามว่าสถานศึกษามีโอกาสติดหรือไม่ ก็มีโอกาส แต่การป้องกันเป็นสิ่งสำคัญ จะให้หยุดไปตลอดไม่ได้ เพราะการพัฒนาการเรียนการสอนต้องเกิดขึ้น หลายโรงเรียนก็มีการปรับ เกิดความน่ารัก มีวิถีใหม่ของเด็กที่เกิดขึ้นได้
          นพ.ทวีศิลป์ กล่าวต่อว่า เหตุที่เกิดขึ้นทางสาธารณสุขและศึกษาธิการได้เข้าไปดูแล ที่สุดคือปิดไว้ก่อนถ้าไม่มั่นใจ แต่การปิดสถานศึกษาไม่ได้เป็นมาตรการที่ดีที่สุด ซึ่งจริงๆ เราก็มีการติดเชื้อ "ไวรสในโรงเรียนอย่างโรคมือเท้าปาก พอติดเชื้อขึ้นมาก็แนะนำปิดห้องเรียน ทำความสะอาด ไม่กี่วันก็เปิดมาใหม่ได้ ไม่เคยปิดกันทั้งโรงเรียนทั้งจังหวัด
          นพ.ทวีศิลป์ กล่าวอีกว่า เราเรียนรู้กันได้เรารู้จักโรคนี้มานานก็อยู่กับเขาได้ ความดื่นตระหนกอาจไม่เกิดหรือเกิดเล็กน้อยก็กลับไปใช้ชีวิตตามปกติ ส่งสูกไปเรียนตามปกติ โรคเหล่านี้ไม่ได้เกิดอันตรายร้ายแรง เท่าไรนัก การตระหนักตระหนกต้องสมดุลเสมอ สิ่งที่เกิดขึ้น จ.ตาก ก็เข้าไปดูแลอย่างดีแล้ว ขอให้ทุกคนจัดสมดุล ชุดข้อมูล ลูกหลานได้รับการศึกษาดูแลอย่างดี
          พบทารก26วันติดโควิด
          นพ.ทวีศิลป์ กล่าวอีกว่า มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ แบ่งออกเป็น 1.มาจากระบบเฝ้าระวังใน รพ. 109 รายได้แก่ สมุทรสาคร 99 ราย กทม. 7 ราย สมุทรสงคราม 2 ราย และนนทบุรี 1 ราย 2.คัดกรองเชิงรุกในชุมชน 710 รายได้แก่ สมุทรสาคร 688 ราย และ กทม. 22 ราย และ 3.มาจากต่างประเทศ 17 ราย ได้แก่ สวิตเซอร์แลนด์สหราชอาณาจักร และมาเลเซีย ประเทศละ 3 รายสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ประเทศละ 2 ราย อินเดีย ไนจีเรีย ฝรั่งเศส และเดนมาร์ก ประเทศละ 1 ราย
          "นอกจากการตรวจเชิงรุกในพื้นที่สมุทรสาครแล้ว เมื่อพบผู้ติดเชื้อก็แยกออกมา ยังพบผู้ป่วยจาก ระบบเฝ้าระวังใน รพ.ถึง 99 ราย และพบอายุน้อยลงเรื่อย เช่น 26 วันอาจเป็นอายุน้อยที่สุด และพบสูงสุด 81 ปี โดยพบเป็นพม่า 76 ราย กัมพูชา 1 ราย ที่เหลือเป็นคนไทย ตรงนี้ก็ต้องตรวจหาต้นตอของโรคเช่นกัน เป็นเหตุให้สมุทรสาครยังเป็นจังหวัดควบคุม สุงสุดและเข้มงวด ส่วน กทม.ผลตรวจเชิงรุกเจอ 22 ราย มาจากการเข้าตรวจในเขตภาษีเจริญที่มีโรงงานเป็นพม่า 19 ราย และคนไทย 3 ราย ซึ่ง กทม.ต้องเพิ่มความเข้มข้นเข้าไปตรวจโรงงานแบบสมุทรสาคร ยังต้องทำงานเต็มที่ทั้งสองจังหวัด" นพ.ทวีศิลป์กล่าว
          ปาร์ตี้มะตูมไร้แอลกอฮอลล์
          ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอนุทิน ชาญวีรกูลรองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ถึงการจัดหาวัคซีนกำหนดการส่งมอบยังเป็นเช่นเดิมหรือไม่ว่า เราพยายามอย่างเต็มที่ แต่คำว่าคงเดิมนั้น คือเดือน มิ.ย. จะพยายามอย่างเต็มที่ให้ได้เร็วที่สุดถ้ามาก่อนเดือน มิ.ย. คือความพยายามประเทศไทยเราอย่าไปเทียบกับประเทศอื่น
          "คนที่ชอบพูดว่าประเทศอื่นได้รับแล้วต้องไปดูรายละเอียดของแต่ละประเทศ เพราะบางประเทศได้รับในฐานะที่ยอมให้ประชาชนของเขาได้รับการทดลองวิจัยวัคซีน ไม่ใช่เป็นผู้ซื้อ และเขามีผู้ป่วยเพียงพอในการทดลอง ซึ่งประเทศไทยมีผู้ป่วยไม่พอ และไม่เคยอยู่ในหัวของ รมว.สาธารณสุขคนนี้ที่จะเอาคนไทยมาเป็นผู้ที่จะถูกการทดลอง เราไม่ได้ อยู่ในสภาพนั้นเพราะประเทศไทยควบคุมได้
          ลองนึกสภาพดูว่าหากฉีดแล้วเหมือนในยุโรป และสหรัฐอเมริกา ที่เมื่อฉีดแล้วปากเบี้ยว กล้ามเนื้ออ่อนแรง ใครจะเป็นผู้อธิบาย เมื่อเรามีเวลาและโอกาส เลือกสิ่งที่ปลอดภัย ทำไมจะไม่ทำ" นายอนุทินกล่าว
          เมื่อถูกถามถึงจังหวัดสมุทรสาครที่มีตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 สูงอยู่นั้น นายอนุทินกล่าวอีกว่า เป็นเพราะการตรวจเชิงรุก คนป่วยก็แยกออกมารักษา และควบคุมอย่างดี ไม่ใช่กระจายไปทุกจังหวัด และดีที่สังคมช่วยกันดูแล พวกจัดปาร์ตี้ก็น้อยลง ใครที่ทำอยู่ก็ไม่มีใครออกมาสรรเสริญ และตรงกันข้ามเป็นสิ่งที่ทำความเสื่อมเสียให้กับตัวเอง รัฐบาลก็พยายามผ่อนปรนมาตรการให้มากที่สุดที่จะทำได้
          เมื่อถามถึงเหตุการณ์การแพร่ระบาดจาก เหตุโต๊ะแชร์ ที่จังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นคลัสเตอร์ ใหม่ นายอนุทินกล่าวว่า อย่างที่บอก เวลาเหล้าเข้าปากก็เป็นเช่นนี้ บางจังหวัดไม่ได้ห้ามดื่มเหล้า แต่ต้องเว้นระยะห่าง บางคนบอกว่าถ้ากินเหล้าแล้วใครจะมีระยะห่างได้ ก็อย่ากิน ส่วนการดำเนินคดีผู้ปกปิดข้อมูลกับเจ้าหน้าที่สอบสวนโรคนั้นนายอนุทินกล่าวว่า ก็ทราบว่ามีเจ้าหน้าที่ กทม.ไปแจ้งความไปแล้ว
          "ส่วนทางโรงแรมที่ถูกฟ้อง ก็ส่งข้อมูล ยืนยันว่าไม่มีการเสิร์ฟแอลกอฮอล์ แต่มีการเสิร์ฟน้ำแอปเปิล น้ำส้มคั้น น้ำบัวย ทุกอย่างสั่งปิดก่อน เวลา 3 ทุ่ม ก็ต้องไปดูว่าผิดหรือไม่ ซึ่งเป็นหน้าที่ของตำรวจ ถ้าเป็นตามนั้นก็ให้สังคม ประชาชนตัดสิน ถ้าจะปาร์ตี้จริงๆ จะกินน้ำส้มคั้น น้ำแอปเปิล น้ำบัวย ก็กินกันไป อย่ากินเหล้าก็แล้วกัน
          โลกฉีดวัคซีนแล้ว 46 ล้านคน
          เมื่อวันที่ 2 ก.พ. 64 ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึงสถานการณ์โควิด-19 ระดับโลก หลังมีการฉีดวัคซีนโควิด-19 ผ่านเฟซบุ๊กไลฟ์ Mahidol Channel ว่าข้อมูล ณ วันที่ 30 ม.ค. ที่ผ่านมา ทั่วโลกฉีดไปแล้ว 90 ล้านโดส ประมาณ 45 ล้านคน
          สหรัฐฯมากสุด 28 ล้านโดส
          ศ.นพ.ประสิทธิ์ เผยต่อว่า ข้อมูลล่าสุดถึงวันที่ 2 ก.พ. พบว่ามีการฉีดไปแล้วกว่า 100 ล้านโดส น่าจะถึง 46 ล้านคนแล้ว โดยสหรัฐอเมริกาฉีดวัคซีนโควิต-19 มากที่สุดจำนวนเกือบ 28 ล้านโดส ในคน 23 ล้านคน จากประชากรทั้งหมดประมาณ 328 ล้านคน คิดเป็นอัตราการฉีดไปเกือบ 7 เปอร์เซ็นต์ ตามด้วยจีน 23 ล้านโดส สหราชอาณาจักรเกือบ 9 ล้านโดส ฉีดไป 8.38 ล้านคน จากประชากร 66.65 ล้านคน ฉีดไปแล้วในอัตรา 12.57 เปอร์เซ็นต์
          ส่วนอิสราเอลเป็นประเทศที่ไม่ใหญ่ แต่อัตราการฉีดต่อประชากรสูงที่สุด โดยฉีดไปแล้ว 4.66 ล้านโดส ในคน 2.97 ล้านคน จากประชากร 8.88 ล้านคน หรือฉีดไปในอัตรา 33.44 เปอร์เซ็นต์
          ระบุผลข้างเคียงไม่รุนแรง
          ศ.นพ.ประสิทธิ์ เผยต่อว่า จากการติดตามผลข้างเคียงหรืออันตรายที่เกิดขึ้น และติดตามประสิทธิผลของวัคซีน ในช่วงเวลาหนึ่งหลังฉีด พบว่ากรณีผลข้างเคียงส่วนใหญ่รายงานอาการไม่รุนแรงและหายเองภายใน 1-2 วัน หรือกินยาเล็กน้อย เช่น ปวด บวม แดงหรือบริเวณที่ฉีดวัคซีน ไข้ อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หนาวสั่น ปวดข้อ ซึ่งเป็นอาการที่วัคซีนประเภทใดก็มีโอกาสเจอส่วนผลข้างเคียงรุนแรงถึงเสียชีวิตพบน้อยมาก ซึ่งช่วง ต้นๆ ของการฉีดวัคซีนก็มีรายงานว่ามีคนเสียชีวิต
          เมื่อมีการสอบสวนก็พบว่าไม่ได้เกี่ยวพันกับวัคซีนโดยตรง ซึ่งการฉีดวัคซีนในผู้สูงอายุจึงเป็นเรื่องที่ต้องระวัง ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า สำหรับการฉีดวัคซีนชนิด mRNA ที่ต้องฉีด 2 เข็ม โดยเข็มแรกร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันขึ้น หลังจากนั้น 3 สัปดาห์ฉีดเข็มที่ 2 แต่ภูมิคุ้มกันจะขึ้นเต็มที่ต้องรอไปอีก 1 สัปดาห์ ดังนั้น ภูมิคุ้มกันจะค่อยๆ พัฒนาขึ้น ไม่ใช่ฉีดเข็มแรกจะขึ้นเลย
          ชี้แนวโน้มติดเชื้อลดลง
          ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าวต่อว่า ในส่วนประสิทธิผลเมื่อพิจารณาข้อมูล 7 วันสุดท้าย วันที่ 25-31 ม.ค. จำนวนผู้ป่วยต่อวันขึ้นและหลังจากนั้นก็เริ่มลงแต่อัตราการเสียชีวิตยังขึ้น แม้ความชันจะน้อยลง โดยสำหรับสหรัฐฯ ฉีดวัคซีนครั้งแรก 14 ธ.ค.2563
          โดยฉีดชนิด mRNA ชึ่งจำนวนผู้ติดเชื้อต่อวันตั้งแต่วันที่ 25-31 ม.ค. 64 พบติดเชื้อเฉลี่ย1 1.5-1.7 แสนคนต่อวัน จำนวนผู้เสียชีวิตอยู่ประมาณ 3-4 พันคนต่อวัน แต่หากย้อนกลับไปไกลอีกตั้งแต่ วันที่ 6-17 ม.ค. 64 ตัวเลขติดเชื้อตั้งแต่ 2-3 แสนต่อวัน แต่หากเทียบตัวเลขถือว่าลดลง แต่อัตราการ เสียชีวิตอาจยังไม่ชัดมาก แต่มีแนวโน้มเริ่มลดลง
          ส่วนสหราชอาณาจักร ที่เคยมีข่าวว่ามี สายพันธุ์ที่ทำให้แพร่ระบาดรวดเร็ว และเป็นประเทศ แรกที่นำวัคซีนมาฉีดประเทศแรก โดยตัวเลขตั้งแต่ วันที่ 25-31 ม.ค. ติดเชื้ออยู่ประมาณ 2.2-2.5 หมื่นรายต่อวัน แต่ก่อนหน้านี้วันที่ 6-17 ม.ค. พบการติดเชื้อ 4-5 หมื่นคนต่อวัน ซึ่งช่วงตันม.ค. วัคซีนอาจยังไม่ออกฤทธิ์มากนัก ส่วนอัตราการเสีย ชีวิตก็เริ่มลดลง แต่กรณีนี้ยังไม่อยากสรุปเรื่องลด อัตราเสียชีวิต เพราะต้องรอข้อมูลชัดกว่านี้ แต่ก็มีแนวโน้มว่าจะลดลงเช่นกัน
          "ยังไม่สามารถบอกได้ว่าทุกประเทศ อัตราติดเชื้อจะลดลง ต้องติดตามมากขึ้น อย่างเยอรมนี เริ่มฉีดครั้งแรกปลายเดือน ธ.ค. 2563 ซึ่งก็ยังสรุป ตัวเลขลดลงของผู้ติดเชื้อไม่ได้ เพราะบางครั้งอาจลดลงด้วยตัวมันเอง ฝรั่งเศสมีการฉีดวัคซีนในเปอร์เซ็นต์ที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับประชากรทั้งหมด หรืออย่างอิสราเอลกำลังจะสรุปผลการฉีด โดยขณะนี้ฉีดไปแล้ว เกือบ 1 ใน 3 ของประชากรของเขา ซึ่งต้องรอการซึ่งต้อรายงานอย่างเป็นทางการก่อน" ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าว
          ฉีดร้อยละ 70 กันครอบคลุม
          คณบดีศิริราช กล่าวว่า ในสหรัฐฯ มีการสอบถามประชากรต่อการฉีดวัคซีน โดยสำรวจเมื่อวันที่ 30 พ.ย. - 8 ธ.ค. 2563 พบว่าคน 15 เปอร์เซ็นต์ ไม่ฉีดวัคซีนแน่นอน มี 9 เปอร์เซ็นต์ บอกว่าหากจำเป็นก็ฉีด และมี 39 เปอร์เซ็นต์ จะฉีด แต่ขอรอดูก่อนว่าปลอดภัยจริงหรือไม่ ส่วนอีก 34 เปอร์เซ็นต์ บอกว่าถ้าวัคซีนมาจะฉีดทันที แต่เมื่อสำรวจ 11-18 ม.ค. 2564 พบว่าคนตอบรับฉีดวัคซีนเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม โดยขณะนี้มี 6 เปอร์เซ็นต์ ที่ฉีดครบ 2 เข็มแล้ว
          "ตัวเลขที่ชัดเจนว่า ต้องฉีดวัคซีนโควิดในประชากรกี่คน ถึงจะทำให้เกิดการสร้างภูมิฯ และ ตัวเชื้อหายไป ขณะนี้ยังไม่มีข้อมูลชัดเจน แต่คาด การณ์กันประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ ส่วนขณะนี้ วัคซีนยังไม่เข้ามา สิ่งสำคัญขอให้ทุกคนปฏิบัติตามมาตรการเดิม คือสวมหน้ากากอนามัย/ผ้า หมั่นล้าง มือบ่อย ๆ หลีกเลี่ยงการที่อยู่ในที่คนชุมนุมเยอะๆ เว้นระยะห่าง และเมื่อฉีดวัคซีนแล้วก็ต้องปฏิบัติตามเดิมจนกว่าจะมีข้อมูลยืนยันว่า วัคซีนมีประสิทธิภาพเพียงพอ" ศ.นพ.ประสิทธิ์ กล่าว
          โลกป่วยรวม 104 ล้านคน
          เว็บไซต์ worldometers รายงานสถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลก ณ วันที่ 2 ก.พ. 64 ณ เวลา 19.00 น. (เวลาไทย) โดยยอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกอยู่ที่ จำนวน 104,010,901 คน เสียชีวิตแล้ว 2,249,873 คน และรักษาหายแล้ว 75,856,410 คน
          ด้านประเทศที่มียอดผู้ป่วยติดเชื้อสูงที่สุด ในโลก 5 อันดับแรก มีดังนี้ อันดับ 1 สหรัฐอเมริกา 26,911,375 คน, อันดับ 2 อินเดีย 10,767,206 คน, อันดับ 3 บราซิล 9,230,016 คน, อันดับ 4 รัสเซีย 3,884,730 คน และอันดับ 5 สหราชอาณาจักร 3,835,783 คน


pageview  1210903    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved