เมื่อสิ้นสุด "เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ" หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ถูกใช้เป็นกรอบคิดสำคัญภายใต้การนำขององค์การสหประชาชาติ รายงานสุขภาพคนไทยฉบับนี้จึงขอหยิบยก เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนมาเป็นประเด็นสำหรับหมวดตัวชี้วัด โดยจะน้นเป้าหมายที่ 3 "ชีวิตที่มีสุขภาพดีและสุขภาวะของทุกคนในทุกช่วงวัย" เป็นหลัก โดยนำเสนอ 11 ตัวชี้วัดภายใต้ชื่อ "สุขภาพคนไทยกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน" โดยเสนอให้เห็นถึงข้อมูลสำคัญที่สะท้อนปัญหาหลายด้าน ซึ่งหากประเทศไทยต้องการบรรลุเป้าหมาย "การพัฒนาอย่างยั่งยืน" อาจต้องเป็นงานท้าทายสำคัญ อาทิ อัตราการตายของมารดาที่ยังคงสูงอยู่ในบางพื้นที่ โรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ทำให้คนไทยจำนวนมากเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ปัญหาอุบัติเหตุ ที่ยังครองแชมป์ในการทำให้คนไทยสูญเสียปีสุขภาวะหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่ยังมีปัญหาการเข้าถึงบริการสุขภาพที่เท่าเทียมและมีคุณภาพ นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่องการใช้สารเสพติด ปัญหาสิ่งแวดล้อมรวมอยู่ด้วย
ส่วนที่สอง รายงาน 10 สถานการณ์เด่นทางสุขภาพปีนี้ได้หยิบยกเรื่องสำคัญที่เกิดขึ้นในรอบปี คือ รัฐธรรมนูญผ่านประชามติยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี พ.ร.บ. สุขภาพแห่งชาติสู่กฎหมายเพื่อสุขภาพของไทย ธรรมนูญระบบสุขภาพฉบับที่ 2 ควบ HIA ใหม่ ร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการบริการสาธารณสุข นโยบายลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยมาตรการช่วยเหลือผู้สูงอายุรองรับสังคมสูงวัย การนำแรงงานข้ามชาติตาม MoU เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และปัญหาราคาข้าวตกต่ำ ส่วน 4 ผลงานดีๆ ที่เกิดขึ้น ได้แก่ การให้สิทธิบัตรทองกับผูพิการทุกคน อนุมัติเรียนฟรีอนุบาล-ม.6 ไทยติดอันดับประเทศที่มีความทุกข์น้อยที่สุด และยกโครงการบัตรทองให้เป็นแม่แบบเอเซีย
เรื่องพิเศษประจำฉบับปีนี้ ได้นำเรื่อง เสริมพลังกลุ่มเปราะบาง สร้างสังคมที่ไม่ทอดทิ้งกัน ซึ่งจะทำให้เข้าใจมิติของความเปราะบางบิ่งขึ้น เข้าใจสาเหตุที่ทำให้คนเปราะบาง และลักษณะของความเปราะบางของคนแต่ละกลุ่ม ตลอดจนผลกระทบจากความเปราะบางและสิ่งที่ควรทำ เพื่อให้คนกลุ่มนี้พ้นจากสภาพความเปราะบาง และอยู่ในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี มีความเท่าเทียม และมีโอกาสเข้าถึงทรัพยากรอย่างเสมอหน้ากัน
จัดทำโดย | สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล (วปส.) | |||
สนับสนุนโดย | สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) |
In the past decade, Thai society has been experiencing accelerating change, especially in the area of technology and communication. This is having an adverse impact on the health of Thais due to reduction in exercise and increase in sedentary lifestyles and associated consumption. Thais born during this period are expected to have unique thoughts and behaviors when compared to previous generations. Thai Health Report 2016 has compared Health Indicators of the Thai Generations. This generational comparison shows how change is happening and in what direction. The study also considers contextual factors such as income, family formation, domicile, values, consumption behavior, health behavior, use of technology and the Internet, On-line lifestyles and solidarity with peer groups.
The second part of the report examines important topics of the day, including: (1) The Universal Health Insurance for Thais is on Shaky Ground; (2) Draft 2015 Constitution is Rejected Derailing the Roadmap; (3) Reclaiming the Forest is a Bigger Problem than Once Thought; (4) At Last: Community Deeds and Land Bank; (5) National Savings Fund: Retirement Security for Workers in the Non-formal Sector; (6) MERS: A New Emerging Disease Threat; (7) Cross-border Human Trafficking: The Case of the Rohingya; (8) Thailand is Given a Yellow Card by the IUU; (8) Is this Good News or Bad?; (9) The Explosion at Rajprasong Heard around the World The Uyghur Issue; (10) Chao Praya Riverside Pathway: A Test of Community Living.
An important feature of this report is the portion on A good death is an option now. Even though death is inevitable, people can now choose how their life ends and optimize their final years, clinically and psycho-emotionally. Thais also have the right to execute a living will which may include instructions not to resuscitate or provide undesired life-support merely to postpone certain death.
Prepared by | Institute for Population and Social Research , Mahidol University | |||
Supported by | Thai Health Promotion Foundation
The National Health Commission office |
สังคมไทยเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โดยเฉพาะการพัฒนาเทคโนโลยีและการสื่อสาร ซึ่งมีผลทั้งในเรื่องสุขภาพที่ทำให้คนไทยมีการเคลื่อนไหวน้อยลง ใช้เวลานั่งนิ่งๆนานขึ้น รวมทั้งทำให้พฤติกรรมและทัศนคติของเด็กที่เกิดและเติบโตมา
ในช่วงนี้มีความคิดและพฤติกรรมแตกต่างจากคนในรุ่นก่อนๆ ในรายงานสุขภาพคนไทย 2559 จึงหยิบยกตัวชี้วัดสุขภาพคนไทยต่างเจเนอเรชันมานำเสนอ เพื่อให้เห็นมุมมองและมิติต่างๆ ของคนต่างเจเนอเรชันในด้านการทำงาน รายได้ การสร้างครอบครัว การอยู่อาศัย การให้คุณค่า พฤติกรรมการบริโภค พฤติกรรมสุขภาพพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีและสื่อออนไลน์ต่างๆ เพื่อให้คนต่างรุ่นที่ทำงานร่วมกัน หรืออยู่ในสังคมเดียวกันเข้าใจและอยู่ร่วมกันได้อย่างกลมเกลียวมากขึ้น
ส่วนที่สองของรายงาน ซึ่งรายงานถึง 10 สถานการณ์เด่นทางสุขภาพ โดยลำดับที่หนึ่งเกี่ยวข้องกับสุขภาพโดยตรงของประชาชน คือ 1) ระบบหลักประกันสุขภาพเพื่อประชาชนถูกสั่นคลอน 2) ร่างรัฐธรรมนูญ ปี 2558 ถูกคว่ำ สะดุดโรดแมป 3) ปฏิบัติการ ยึด คืนผืนป่า ปัญหาซับซ้อนกว่าที่คิด 4) วันนี้ที่รอคอย กฎหมายโฉนดชุมชนและธนาคารที่ดิน 5) กองทุนการออมแห่งชาติ...หลักประกันยามเกษียณของแรงงานนอกระบบ6) เมอร์ส : โรคอุบัติใหม่ที่พึงระวัง 7) ค้ามนุษย์ชาวโรฮีนจา เมื่อผู้ลี้ภัยเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ข้ามชาติ 8) ประมงไทยโดนแจกใบเหลือง IUU ข่าวดี หรือ ข่าวร้าย? 9) บึ้มราชประสงค์ สะท้านโลก อุยกูร์เอาคืนไทย? 10) ถนนเลียบแม่น?้ำเจ้าพระยา บททดสอบวิถีชุมชน ส่วน 4 ผลงานดีๆ เพื่อสุขภาพคนไทยได้แก่ 1) ยูเนสโกยกย่อง อ.ป๋วย และ ม.ร.ว.เปีย เป็นบุคคลสำคัญของโลก 2) สหประชาชาติยกย่องไทย ยุติการติดเอชไอวีจากแม่สู่ลูก 3) ไทยได้รับเลือกให้เป็น ประธานกลุ่ม G77 และ 4) มหิดลผลิตวัคซีนป้องกันไข้เลือดออกทั้งสี่สายพันธุ์ ป้องกันได้ 100%
เรื่องพิเศษประจำฉบับปีนี้ ได้นำเรื่อง ตายดี วิถีที่เลือกได้ มานำเสนอ เพื่อให้เห็นว่า ถึงแม้ความตายเป็นสิ่งที่ เลือกไม่ได้ แต่เราสามารถ เตรียมตัวและออกแบบ การจากไปในช่วงสุดท้ายของชีวิตได้รายงานนี้นำเสนอ การเตรียมตัวอย่างไรให้ตายดี ในมิติทั้งด้านการแพทย์และจิตใจ และสร้างความเข้าใจในเรื่องสิทธิของคนไทยที่จะทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ขอรับการรักษาที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดความตาย เป็นเรื่องที่สามารถทำได้ เพื่อในวาระสุดท้ายของชีวิตสามารถจากไปได้อย่างสงบหรือที่พูดกันว่า ตายตาหลับ
จัดทำโดย | สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล (วปส.) | |||
สนับสนุนโดย | สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) |
2015 is also a year for ASEAN economic integration, making it an appropriate
time for Thai Health to focus our health index section on ASEAN to examine different
dimensions of the region relating to population, health, society, economy, the
environment, changes in health behaviours and health systems.
For the special feature story, Thai Health takes on the issue of Health frauds,
highlighting strategies to sell drugs through marketing and selling hope, exposing the
subtle tricks used by drug companies to change healthy people into sick people or
turn beauty into a commodity. This section will hopefully provide the public with
a different perspective to consider before choosing a health related product or service.
The Thai Health working group would like to thank our readers for your
continuous support and sincerely hope that Thai Health 2015 will be as useful to you
all and also a pleasure to read as were previous editions.
Prepared by | Institute for Population and Social Research , Mahidol University | |||
Supported by | Thai Health Promotion Foundation
The National Health Commission office |
สุขภาพคนไทย ปี 2558 ย่างก้าวสู่ปีที่ 12
ปี 2558 เป็นปีที่ประชาคมอาเซียนจะเปิดเสรีการค้าระหว่างกัน จึงเป็นจังหวะอันดีที่รายงานสุขภาพคนไทย ฉบับนี้จะเลือกอาเซียนมาเป็นประเด็นสำหรับส่วนดัชนี เพื่อให้เห็นมุมมองต่างๆของประเทศในกลุ่มอาเซียน ทั้งเรื่องประชากร สุขภาพ สังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางสุขภาพ และระบบ สุขภาพ
ส่วนเรื่องประจำฉบับ เราหยิบยกเรื่องอุบายขายสุขภาพ เมื่อสุขภาพกลายเป็นสินค้า ยาคือเครื่องมือแสวงหากำไร เป็นเรื่องพิเศษประจำฉบับ ลำดับเรื่องราวตั้งแต่การตลาดของ ตลาดยา ไปจนถึง การขายความเชื่อ ความหวัง เป็นการชี้ให้เห็นถึงกลไกการตลาดอันแยบคายใน สินค้า ด้านสุขภาพที่ปรับเปลี่ยนให้คนปกติ กลายเป็นคนป่วย หรือการทำให้ความสวยความงามสามารถซื้อหามาได้ เรื่องประจำฉบับปีนี้จึงเป็น การเปิดมุมมองใหม่ให้ผู้บริโภคได้เข้าใจและตัดสินใจก่อนเลือกรับบริการ
จัดทำโดย | สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล (วปส.) | |||
สนับสนุนโดย | สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) |
With this volume, Thai Health has entered its second decade of existence. Over the last ten years, we have solicited readers opinions on how to improve Thai Health further. Most readers would like the content and format kept as it is, with only some minor changes. Those suggestions, including explanations for tables and graphs and the use of simple language have been incorporated into successive volumes of Thai Health.
This volumes special feature entitled Self-managing communities: Foundation of national reform presents the stories of local communities whose strength allowed them to successfully achieve
their goals and overcome problems. Although differing in methods, these communities share certain characteristics such as broad participation and strong leadership. These strong communities, that can solve their own problems, make for a very strong foundation for sustainable national reform.
This years 10 outstanding health situations include some of the most debated government policies such as the rice-pledging scheme, the 2-trillion-baht loan and the 350-billion-baht water management mega-project as well as controversial social and environmental issues such as disgraced monks and the ICJ verdict on PreahVihear dispute. Four success stories are also presented: Thailands victories
in international sports; World Soil Day; Siriraj Hospital winning international prize for thalassemia researches; and DrKraisid winning international nutritionist award.
Prepared by | Institute for Population and Social Research , Mahidol University | |||
Supported by | Thai Health Promotion Foundation
The National Health Commission office |
รายงานสุขภาพคนไทยได้ก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่ 2 แล้ว
ในช่วงที่รายงานครบรอบ 10 ปี ทีมงานได้จัดเวทีสอบถามความคิดเห็นของผู้อ่าน ถึงสาระประโยชน์ของรายงานและสิ่งที่ต้องการปรับเปลี่ยน สิ่งที่เราได้รับคำแนะนำ คือ ให้ยังคงเนื้อหาและรูปแบบเช่นเดิม โดยมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเล็กน้อย เช่น ให้มีคำอธิบายตารางหรือแผนภูมิภาพประกอบด้วย และใช้ภาษาที่อ่านง่ายมากขึ้น เป็นต้น ซึ่งทีมงานก็ได้นำข้อเสนอแนะนั้นมาปรับให้ดียิ่งขึ้น และยังคงรูปแบบของรายงานไว้ตามเดิม
หัวข้อพิเศษประจำฉบับสำหรับรายงานสุขภาพคนไทยฉบับนี้คือ ชุมชนท้องถิ่นจัดการตนเอง
สู่การปฏิรูปประเทศจากฐานราก ซึ่งเสนอเรื่องราวอันน่าสนใจของชุมชนท้องถิ่น ที่มีความเข้มแข็งสามารถจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนได้ด้วยตนเอง ถึงแม้วิธีการจัดการปัญหาอาจแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ แต่สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันคือ การมีส่วนร่วมของชุมชน การให้ความสำคัญกับประโยชน์ของส่วนรวม และการมีผู้นำที่เข้มแข็งเมื่อชุมชนท้องถิ่นสามารถจัดการกับปัญหาของตนเองได้นั้น นับเป็นความเข้มแข็งในระดับฐานรากที่สำคัญยิ่งที่จะนำไปสู่การปฏิรูปประเทศได้อย่างยั่งยืน
ในส่วนสถานการณ์เด่นทางสุขภาพปีนี้ เรื่องที่ยึดครองพื้นที่ข่าวมาอย่างต่อเนื่อง คือ นโยบายจำนำข้าวที่ยังคงเป็นปัญหาต่อเนื่องและยังไม่มีข้อยุติ ส่วนนโยบายอื่นๆ ของรัฐบาลที่สำคัญในปีที่ผ่านมา ได้แก่ โครงการเงินกู้ 2 ล้านล้าน โครงการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท และประเด็นสำคัญทางด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม เช่น กรณีพระนอกรีต กรณีปราสาทพระวิหารที่มีการตัดสินของศาลโลก ได้ถูกนำเสนอในส่วนของ 10 สถานการณ์เด่นทางสุขภาพเช่นกัน
ดัชนีชี้วัดทางสุขภาพปีนี้ นำเสนอเรื่อง โรคอ้วน ที่เป็นภัยเงียบทางสุขภาพและนำมาสู่การเจ็บป่วยที่เกิดจากภาวะอ้วน ในรายงานได้รวบรวมข้อมูลต่างๆ มาเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับความอ้วนของคนไทย ปัจจัยที่เกี่ยวข้องและผลกระทบ ช่วยให้ผู้อ่านมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลตนเอง เพื่อที่จะรู้ทันโรคอ้วน
จัดทำโดย | สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล (วปส.) | |||
สนับสนุนโดย | สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) |
รายงาน สุขภาพคนไทย ได้ก้าวสู่หนึ่งทศวรรษแล้ว ตลอด 10 ปี
ที่ผ่านมารายงานสุขภาพคนไทยได้ทำหน้าที่บันทึกเหตุการณ์สำคัญที่
เกิดขึ้นในแต่ละปี นำเสนอข้อมูลที่สำคัญ และหยิบยกเรื่องเด่นมานำเสนอ
ประจำแต่ละฉบับ เมื่อมองย้อนกลับไปจะเห็นว่าสถานการณ์บางอย่าง
มีพัฒนาการ มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น บางสถานการณ์ ก็ยังคง
วนเวียนหาทางออกไม่ได้ หรือย้อนกลับมาเป็นปัญหาใหม่ ทำให้เห็นว่า
บางปัญหามีความสลับซับซ้อน และต้องการการปรับเปลี่ยนแนวคิดและ
โครงสร้างเพื่อคลี่คลายปัญหา และต้องการความร่วมมือร่วมใจจากทุกฝ่าย
ฉบับครบรอบ 10 ปีฉบับนี้ ทีมงานได้คัดเลือกสถานการณ์ที่
เกิดขึ้นตอ่ เนื่องและมีความสำคัญ 5 สถานการณ์ มาทำการรวบรวมประมวล
และลำดับเหตุการณ์ย้อนหลัง เพื่อให้เห็นภาพพัฒนาการของเรื่องได้อย่าง
ต่อเนื่อง โดยทีมงานตั้งใจให้เป็นการสรุปปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามที่
เป็นจริง โดยหลีกเลี่ยงที่นำเสนอความเห็นหรือการวิเคราะห์ ด้วยเห็นว่า
หน้าที่ของรายงานสุขภาพคนไทยคือการบันทึกเหตุการณ์เพื่อให้เราได้
ทบทวนและเรียนรู้ต่อไป โดย 5 สถานการณ์ที่ได้หยิบยกมานำเสนอคือ
ความขัดแย้งทางการเมือง ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหา
เกี่ยวกับเรื่องเพศ ปัญหาภัยธรรมชาติ ภัยพิบัติต่างๆ และสุดท้าย ได้แก่
เรื่องการปฏิรูประบบสุขภาพ ที่ถือเป็นนวัตกรรมสังคมที่ได้การร่วมคิด
ร่วมทำทั้งภาครัฐ ประชาชน และสังคม
จัดทำโดย | สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล (วปส.) | |||
สนับสนุนโดย | สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) |
This volume of ThaiHealth marks the reports first decade
of publication. During each of the last ten years, ThaiHealth
focused on the previous years outstanding issues, chronicled
key events and presented important information to the public.
Some of these situations described in our reports have seen
improvements while others are stuck without significant
progress in the same place or simply recurrent difficulties. In
order to solve complex problems we can understand that we
need a complete rethinking and restructuring of society, as well
as cooperation from all parts of the society itself.
In this 10th year anniversary volume, the ThaiHealth Working
Group has selected five important ongoing situations for discussion
and for each compiled related events chronologically to show a
clear picture of developments. The aim of this special volume is to
summarize actual events while avoiding analysis and commentaries.
ThaiHealths duty is to record events for the benefit of learning for
the future. The five situations chosen are: ongoing political conflict;
the Deep South unrest; sexual health issues; natural and other
disasters; and health system reform-a social innovation involving
government agencies, civil society and the public at large.
Prepared by | Institute for Population and Social Research , Mahidol University | |||
Supported by | Thai Health Promotion Foundation
The National Health Commission office |
คณะผู้จัดทำรายงานสุขภาพคนไทย ได้จัดทำรายงานเพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางวิชาการต่อสาธารณะในประเด็นทางสังคมที่เชื่อมโยงกับสุขภาพในมิติทางร่างกาย จิตใจ สัมคม ปัญญา และวัฒนธรรม ติดต่อกันมาเป็นปีที่ 9 โดยสุขภาพคนไทย 2555 เล่มนี้ ได้นำเสนอหัวข้อพิเศษประจำฉบับเรื่อง ความมั่นคงทางอาหาร ท่ามกลางกระแสความไม่ปลอดภัยในอาหารสารพิษตกค้าง ราคาอาหารที่เพิ่มสูงขึ้น และการขาดแคลนอาหาร ที่นับวันจะทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น กลายเป็นปัญหที่ซึมลึกในสังคม และสั่งสมอย่างต่อเนื่อง ทำให้ประชาสังคมเกิดความวิตกกังวลและหันมาให้ความสำคัญต่อคุณภาพและความปลอดภัยในการดำรงชีวิต
สาระสำคัญของบทความ ความมั่นคงทางอาหาร ได้ชี้ให้เห็นถึงระบบการผลิตอาหารที่มั่นคง เกื้อหนุน และรักษาสมดุลกับระบบนิเวศ สามารถเข้าถึงอาหารที่มีอยู่อย่างเพียงพอและพอเพียง สำหรับการบริโภคของประชาชนในประเทศมีคุณภาพของอาหาร ความปลอดภัย และคุณค่าทางโภชนาการตามวัย เพื่อการมีสุขภาวะที่ดี รวมทั้งการคงอยู่ของฐานทรัพยากรอาหารทางธรรมชาติของประเทศทั้งในภาวะปกติและในยามที่เกิดภัยพิบัติ หรือในกรณีการก่อการร้ายในความมั่นคงทางอาหาร อันนำไปสู่พลังที่จะจุดประกายทางความคิดให้สังคมไทยตื่นตัวในเรื่องของอาหาร เพื่อความไม่ประมาทและสร้างความมั่นคงทางอาหารให้กับแผ่นดิน สร้างความตื่นตัวในเชิงนโยบายสาธารณะที่ว่า อาหารที่ผลิตในแผ่นดินไทย ต้องเพื่อรับใช้คนไทย ไม่ใช่เพื่อคนอื่น
จัดทำโดย | สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล (วปส.) | |||
สนับสนุนโดย | สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) |
10 Outstanding Health Situation
For nine consecutive years, the Thai Health Working Group has been
issuing annual reports containing academic information on health
in its physical, mental, social, wisdom and cultural dimension. This
latest report, Thai Health 2012, focuses on food security so as to
reflect the ongoing insecurity in the global food market which
continues to experience many crises arising from toxic residue
to price hikes and increasing food shortages. These food related
problems are intensifying and deepening such that the general
public is increasingly worried and concerned about the safety and
quality of their lives.
The main section of this report discusses the different aspects of
food security. Food security is defined as access for consumption by the
population to available and adequate food with safety and age appropriate
nutritional values for wellbeing as well as to ensure a secure food production
system which supports and maintains ecological balance and the countrys
natural food resource base in normal times as well as during natural disasters
and/or in case of terrorism threats against food supplies.
Prepared by | Institute for Population and Social Research , Mahidol University | |||
Supported by | Thai Health Promotion Foundation
The National Health Commission office |
สุขภาพคนไทย 2554 ปีนี้ ได้นำเสนอเรื่องพิเศษประจำฉบับคือ เอชไอเอ
หรือที่เรียกกันว่า การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ ซึ่งเป็นกลไกทางสังคมรูป
แบบหนึ่งในการปกป้องทุกชีวิตตั้งแต่ระดับบุคคล ชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ที่อาจ
จะได้รับผลร้ายภายหลังจากการที่มีโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ของภาครัฐหรือของ
เอกชน อาทิ การสร้างนิคมอุตสาหกรรม การทำเหมืองแร่ หรือการสร้างสาธารณูปโภค
ซึ่งเงื่อนไขสำคัญของเอชไอเอก็คือ การเกิดกระบวนการเรียนรู้และการมีส่วนร่วมของ
ทุกคนในสังคม
สำหรับตัวชี้วัดสุขภาพในปีนี้ นำเสนอ 12 ตัวชี้วัดสุขภาพแห่งชาติ เป็น
การสะท้อนสถานะสุขภาพ ปัจจัยบ่งชี้ทางสุขภาพ และระบบบริการสุขภาพ ของคนไทย
ที่มีการพัฒนาในทางที่ดีขึ้น และบางประเด็นที่ควรเร่งดำเนินแก้ไข
10 สถานการณ์เด่นทางสุขภาพ และ 4 ผลงานดีๆ เพื่อสุขภาพคนไทย
ยังคงบันทึกเหตุการณ์สังคมไทยในรอบปีที่ผ่านมา บางเรื่องเป็นเหตุการณ์
ที่ต่อเนื่องจากปีก่อน บางเรื่องเป็นประเด็นที่ต้องตระหนักและป้องกันไว้ก่อน
ซึ่งคณะทำงานสุขภาพคนไทยเห็นว่า หากท่านผู้อ่านได้นำไปบอกเล่าสู่
กันฟัง หรือถกเถียงเพื่อค้นหาความรู้ใหม่ ถือเป็นเรื่องที่น่ายินดีและ
เป็นกำลังใจที่ดีให้กับพวกเรา
จัดทำโดย | สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล (วปส.) | |||
สนับสนุนโดย | สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) |
Thai Health 2011 also presents an important feature story on Health Impact Assessment
(HIA). HIA is a particular social mechanism to protect lives considering individual, communal,
social and environmental aspects that may otherwise be harmed by large government or
non-government projects such as industrial estates, mining or infrastructure projects.
The key feature of HIA is a participatory learning process which can include all members
in society.
This years 12 National Health Indicators look at key indexes on the health status
of Thai people and Thailands health care system, some of which have witnessed
improvements in recent years but others that remain to be urgently addressed.
The 10 Outstanding Health Situations and 4 Achievements also record important
events in Thai society in past year. Some are updates of previous events while
others are emerging issues that require awareness and attention.
Prepared by | Institute for Population and Social Research , Mahidol University | |||
Supported by | Thai Health Promotion Foundation
The National Health Commission office |
สุขภาพคนไทย 2553 เล่มนี้ได้นำเสนอหัวข้อพิเศษประจำฉบับเรื่อง วิกฤตทุนนิยม สังคมมีโอกาส? ที่ชี้ให้เห็นถึงอุดมการณ์ของทุนนิยมที่เป็น
ต้นตอของปัญหาหลายเรื่องข้างต้น เช่น การมุ่งแสวงหากำไร หรือการเติบโตทาง
เศรษฐกิจที่มีการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ก่อให้เกิดปัญหา
มลพิษ และปัญหาโลกร้อน การเน้นการแข่งขันที่ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำ
ในสังคม ท้ายบทความนี้ได้เปิดประเด็นที่น่าคิดว่า วิกฤตทุนนิยม ที่เกิดขึ้น
ครั้งแล้วครั้งเล่าในประวัติศาสตร์นั้น เราจะนำสิ่งที่เราได้เรียนรู้มาเปลี่ยนวิกฤต
เป็นโอกาสได้อย่างไร เพื่อให้เกิด ทุนนิยมที่ดีกว่า ไม่ใช่ทุนนิยมที่มุ่งจะแสวงหา
กำรเพียงอย่างเดียว แต่เป็นทุนนิยมที่กลไกตลาดถูกกำกับควบคุมอย่างเหมาะสม
มีความโปร่งใส และเป็นธรรม และเกิดประโยชน์แก่คนส่วนใหญ่ในสังคม สำหรับดัชนีชี้วัดทางสุขภาพในปีนี้นำเสนอเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพของ
แรงงานไทย ซึ่งมีทั้งหมด 12 หมวด ครอบคลุมทั้งเรื่องสุขภาพ
กายและใจ คุณภาพชีวิตแรงงาน ภาวะการเงิน ความปลอดภัยใน
การทำน แรงงานนอกระบบ แรงงานที่อยู่ในภาวะยากลำบาก
และประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในส่วนของ 10 สถานการณ์เด่นทาง
สุขภาพ ที่ได้มาจากการสำรวจความคิดเห็นจากภาคประชาชน
ปีนี้หนีไม่พ้นเรื่องวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ยืดเยื้อมากว่า 4 ปี
มาบตาพุดที่ปัญหาต่างๆ เริ่มเผยออกมาอย่างต่อเนื่อง ไข้หวัดใหญ่
สายพันธุ์ใหม่ที่คร่าชีวิตคนทั่วโลกนับหมื่นคน ฯลฯ ติดตามบันทึก
เหตุการณ์สำคัญในรอบปีที่ผ่านมาได้ใน สุขภาพคนไทย 2553
เล่มนี้
จัดทำโดย | สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล (วปส.) | |||
สนับสนุนโดย | สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
(แผนงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าสารสุขภาพ) |
This 2010 volume of Thai Health titled Capitalism in Crisis:
Opportunity for Society? probes into the central philosophy of
capitalism-profit maximization and economic growth on the back of
environmental exploitation-which lies at the root of many problems
such as pollution, global warming and social inequality. At the end of the
discussion, an open question is suggested: How can we, after so many
economic crises-turn this crisis into an opportunity using lessons we
have learnt about capitalism? How to replace the purely profit-seeking
capitalism with a new capitalism where the market processes are
regulated in an appropriate, transparent and just manner to benefit
society as a whole? The next part, Health Indicators, examines the
health situations of the Thai workforce. The twelve
dimensions include physical and mental health, quality
of life, financial situations, work safety, informal sector
workers and at-risk groups.This years Top Ten Health Issues, derived from a
public vote, looks into the four-years-old political conflicts,
the problem-ridden Map Ta Phut case, H1N1 pandemic flu
and other important topics.
Prepared by | Institute for Population and Social Research , Mahidol University | |||
Supported by | Thai Health Promotion Foundation
(Health Information System Development Programme) |
รายงานสุขภาพคนไทย ปี 2552 นี้คณะทำงานมีความเห็นพ้องต้องกันว่า
เรื่อง ความรุนแรง เป็นเรื่องที่สั่งสมอยู่ในสังคมไทยมานานหลายปี และบั่นทอน
สุขภาพของคนไทยมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
เหตุการณ์การเมือง อาชญากรรมที่เกิดขึ้นรายวัน การทำร้ายเด็กและผู้หญิง
วัยรุ่นตีกัน และความรุนแรงผ่านจอทีวี เรื่องพิเศษประจำฉบับในปีนี้ จึงนำเสนอ
หัวข้อ เพื่อสุขภาวะมวลมนุษย์หยุดความรุนแรง โดยต้องการให้สังคม มอบความรักและความปรองดองต่อกัน เปลี่ยนสองมือที่ทำร้ายกัน มาเป็นสองมือ
ที่มีพลังในการสร้างสังคมแห่งสุขภาวะ สำหรับเนื้อหาภายในเล่มยังคงแบ่งเป็น 3 ส่วน เช่นเคย โดยส่วนแรก ตัวชี้วัด
ทางสุขภาพ นำเสนอหัวข้อ ระบบบริการสาธารณสุข ที่มีหลากหลายมิติ โดย
มีการนำเสนอ 10 ด้านดัง อาทิเช่น ระบบบริการสุขภาพ , กำลังคนด้านสุขภาพ ,
ระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ ฯลฯ
ส่วนที่สอง 10 สถานการณ์เด่นทางสุขภาพ ปีนี้เรื่องที่เป็นสถานการณ์เด่น
อันดับหนึ่ง หนีไม่พ้นเรื่องเกี่ยวกับการเมือง แน่นอนว่า เหตุการณ์ทางการเมืองหลายปีที่ผ่านมาได้ส่งผลกระทบต่อความสุขของคนในสังคมอย่าง
เห็นได้ชัด และส่วนสุดท้าย เรื่องพิเศษประจำฉบับ ที่ได้เกริ่นไว้แล้วข้างต้น ว่าเป็นเรื่อง
เกี่ยวกับความรุนแรงทุกมิติ ที่ได้แฝงอยู่ในโครงสร้างสังคมไทย วัฒนธรรม
ดังที่เราสามารถเห็นได้จากเหตุการณ์ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
ความขัดแย้งระหว่างรัฐกับชุมชนที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพยากร และความ
รุนแรงต่อบุคคลที่เห็นในรูปแบบของการทำร้ายกันทั้งทางกาย วาจา จิตใจ
ระหว่างคนในครอบครัว ระหว่างเพศ และผู้เป็นเหยื่อจากความรุนแรงส่วนใหญ่
เป็นกลุ่มเปราะบาง ซึ่งก็คือ เด็ก ผู้หญิง และผู้สูงอายุ ทำอย่างไรจึงจะหยุดความ
รุนแรงได้นั้น หนังสือเล่มนี้ได้เสนอทางออกไว้
จัดทำโดย | สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล (วปส.) | |||
สนับสนุนโดย | สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
(แผนงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าสารสุขภาพ) |
For
the 2009 report, As with previous issues, the report is divided
into 3 parts. Part one Health Indicators examines several
dimensions of the health care system: 1. Health service delivery
2. Human resources for health 3. Health information systems
4. Medical equipments and technologies 5. Health financing
6. Access and coverage 7. Quality and safety 8. Health equity
9. Social and financial risk protection 10. Efficiency
Part two considers Ten Health Issues. The first issue is the
political conflicts that have adversely impacted on the health of
the people in recent years. The second is the reemergence of
narcotic drugs; the third is the fuel price crisis and its impacts on
the poor; the fourth is Thais at risk of depression and suicide; the
fifth is the governments introduction of compulsory licensing,
resulting in improved access to drugs among Thai people; the sixth
is sexual harassment in educational institutions; the seventh is
melamine in milk; the eighth is the fate of migrant workers from
neighbouring countries in Thailand; the ninth is AIDS and Thai
youth; and the tenth issue is the National Health Assembly, which
will become an important means for advancing social health. Part three of the report is a special article discussing the many
hidden dimensions of violence in Thai social and cultural
structures.
Prepared by | Institute for Population and Social Research , Mahidol University | |||
Supported by | Thai Health Promotion Foundation
(Health Information System Development Programme) |
รายงานสุขภาพคนไทย 2551 หรือเป็นเล่มที่ 5 ที่ได้รายงานต่อสาธารณะ ในเล่มนี้
คณะผู้จัดทำ ได้หยิบประเด็นร้อน เรื่อง โลกร้อน ภายใต้ชื่อว่า โลกร้อน ภัยคุกคามจาก
น้ำมือมนุษย์ เป็นเรื่องพิเศษประจำฉบับของปีนี้ ประเทศไทยได้ประสบภาวะโลกร้อนเช่นเดียว
กับเมืองอื่นๆ ผลอันเนื่องมาจากกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ที่มีส่วนในการทำให้เกิดก๊าซ
เรือนกระจก ภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาที่รุนแรงและเกิดผลกระทบในทุกด้าน หากยังไม่ลดลง
หรือมนุษย์ไม่พยายามที่จะจำกัดปริมาณก๊าซเรือนกระจก คาดว่าประมาณ 50% ที่อุณหภูมิ
จะสูงขึ้นเกิน 5 องศาเซลเซียส ภายในช่วงเวลาไม่กี่สิบปีข้างหน้าซึ่งหมายถึงสัญญาณอันตราย
ที่จะเกิดขึ้นโดยมนุษย์เป็นผู้ก่อนั่นเอง แม้ว่ามนุษย์จะเริ่มตระหนักถึงภัยร้ายจากโลกร้อนแล้ว
แต่ทุกประเทศในโลกก็ยังไม่สามารถลดกิจกรรมที่เป็นต้นเหตุให้เกิดก๊าซเรือนกระจกในเวลา
อันรวดเร็วได้ สำหรับสถานการณ์เด่นที่สำคัญ 10 สถานการณ์ทางด้านสุขภาพในเล่ม ปีนี้ได้ประมวล
เรื่องราวที่น่าสนใจในรอบปี จะเห็นว่าเรื่องปัญหาไฟใต้เป็นปัญหายาวนานและต่อเนื่องตลอดมา
จนย่างเข้าสู่ปีที่ 4 แต่ยังคงความสำคัญยิ่ง ที่ต้องติดตามความเคลื่อนไหว แม้จะมีมาตรการ
ที่ทำให้ความถี่ของความรุนแรงลดลง แต่ปัญหาด้านความมั่นคงก็จะต้องใช้ยุทธศาสตร์ต่อต้าน
การก่อความไม่สงบของไทยต่อไป
ส่วนดัชนีชี้วัดสุขภาพ ปีนี้เสนอเรื่อง เด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นช่วงวัยที่มีความสำคัญ
อย่างยิ่งต่อการเริ่มต้นพัฒนารากฐานด้านสมอง ด้านร่างกาย และเป็นช่วงโอกาสสูงสุด
ที่จะพัฒนาการคิด การเขียน การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อจะได้เจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี
ในวันหน้า โดยอาศัยความร่วมมือจากครอบครัวหรือผู้มีหน้าที่ในการเลี้ยงดู เด็กในช่วง
ปฐมวัยถือเป็นหัวเลี้ยวหัวต่อในการจดจำอย่างแท้จริงที่เด็กไทยทุกคนสามารถพัฒนาความ
คิดสร้างสรรค์ได้โดยไม่เลือกฐานะทางเศรษฐกิจที่ต้องมั่งมีหรือยากจน เป็นการหยิบยื่น
โอกาสที่จะสร้างความฉลาดทางเชาว์ปัญญา (IQ) ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ)
การมีจริยธรรมและคุณธรรม (MQ) และการมีทักษะทางสังคม การใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่น
มีไหวพริบ รู้เท่าทันคน (SQ)
จัดทำโดย | สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล (วปส.) | |||
สนับสนุนโดย | สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
(แผนงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าสารสุขภาพ) |
The 2008 edition of the Thai Health Yearbook the 5th issue released to the
public. As for this publication, the authors have selected the hot issue of global
warming and have included a special article in the current issue, Global
Warming: A Real Threat from Humans Thailand has faced global warming as have
other parts of the world due to various human activities that have released
greenhouse gases. Global warming is a severe problem which widely affects all
aspects of our lives. If the problem continues to worsen and human beings do not
try to limit and reduce greenhouse gases, there is an approximate probability of 50%
that the planets temperature will increase by more than 5 degree Celsius within the
next ten years. Such a rise in temperature would be catastrophic for certain areas.
Although human beings have started to realize the threat of global warming, the
world has not been able so far to reduce activities that have released greenhouse
gases.
The ten outstanding health situations covered in this issue represent some of the
key issues that have garnered public attention over the past year. For example, it is
widely known that the Southern unrest is a problem that has plagued the country for
the past four years and thus requires continued and that constant monitoring. Even
though some measures have been launched to decrease the frequency of the
violence, much more
Health indicators of this year were dedicated to the issue of Preschool
Children, which is considered a crucial age for brain and physical development.
This period is the best time to develop childrens thinking, writing, and
socialization skills in order to become good adults in the future. This age is really
a turning point to be able to memorize, increase their innovative thinking no
matter what their economic status, and create the This is the time when all
children, no matter what their economic status, develop their intelligent
quotients (IQ), the emotional quotients (EQ), moral quotients (MQ), and the
social quotients (SQ).
Prepared by | Institute for Population and Social Research , Mahidol University | |||
Supported by | Thai Health Promotion Foundation (Health Information System Development Programme) |
รายงานสุขภาพคนไทยยังตั้งใจให้ทุกคนได้รู้เรื่องสุขภาพในแง่มุมหลากหลาย
เหมือนเดิม สุขภาพคนไทย 2550 หรือเป็นเล่มปีที่ 4 มี ดอกลำดวน
แย้มบานอยูบนหน้าปก เพื่อจะสื่อว่า ดอกลำดวน อันหมายถึงผู้สูงอายุ
เป็นเรื่องประจำฉบับของปีนี้ แต่ไม่ใช่เพราะเรามีรัฐบาล ขิงแก่
หากด้วยเห็นว่าประเทศไทย เริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างช้าๆ และเงียบๆ
มาระยะเวลาหนึ่งแล้วโดยที่สัดส่วนนของผู้สูงอายุต่อประชากรทั้งหมดเพิ่ม
ขึ้นจากร้อยละ 5.5 ในปี 2523 เป็นร้อยละ 7.4 ในปี 2533 และร้อยละ
9.5 ในปี 2543 ซึ่งสัดส่วนนี้ในทางประชากรศาสตร์ ถือได้ว่าเป็นสัดส่วนที่
ใกล้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ หรือเปรียบผู้สูงอายุเป็นดอกลำดวน ก็เป็นดอกลำดวนที่กำลังเริ่มแย้มบาน
ในส่วนของสถานการณ์ที่สำคัญ 10 เรื่อง ปัญหาไฟใต้ก็ยังคงเป็น
สถานการณ์สำคัญ ที่เกิดผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคนทั้งในพื้นที่
และต่อประเทศมาอย่างต่อเนื่องมาเป็นที่ 3 แล้ว แสดงให้เห็นถึงความยากและสลับซับซ้อนของปัญหา แม้ว่าจะมีความพยายามหลากหลาย
รูปแบบ เพื่อคลี่คลายปัญหา แต่ก็ดูเหมือนว่ายังเกาไม่ถูกที่คัน ปัญหาในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ยังมีให้เห็นเป็นข่าวประจำวันและมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น ทีมงานได้แต่หวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกฝ่ายจะร่วมมือกันหาแนวทางให้สถานการณ์ภาคใต้จะะกลับคืนสู่ความวามสงบโดยเร็ว
ส่วนตัวชี้วัดสุขภาพที่คัดเลือกมา 14 หมวดในปีนี้ ชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงและชี้ประเด็นปัญหาสุขภาพคนไทยในหลายประเด็น
ที่สำคัญคือ ควันบุหรี่มือสองที่บ้าน ทำให้บ้านกลายเป็นที่ไม่ปลอดบุหรี่ที่กฎหมายเอื้อมไปไม่ถึง และมีผลกระทบโดยเฉพาะต่อเด็กที่อยู่ร่วมบ้านกับผูู้สูบุหรี่ ปัญหาความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดที่คนกว่าร้อยละ 60
มีปัจจัยเสี่ยงอย่างน้อย 1 อย่าง โดยรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม และข้อมูลเด็กและวัยรุ่นในยุคดิจิตอลใช้เวลามากกว่าครึ่งยามตื่นไปกับสื่อเทคโนโลยีต่างๆ และ
1 ใน 3 เล่นการพนัน
จัดทำโดย | สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล (วปส.) | |||
สนับสนุนโดย | สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
(แผนงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าสารสุขภาพ) |
The 2007 issues of the Thai Health Report, like the previous three,
takes a broad, multi-faceted view of health. The flower on the
cover, lamduan, is the official symbol of elderly people in
Thailand, and elderly people are this year's special topic. The
reason for focusing the elderly is not, as some might guess,
because the new government is composed mainly of elderly
people. Instead, it reflects current trends in the Thai population.
Thailand is slowly becoming an aging society. The proportion of
the population aged 60 or over was 5.5% in 1980, 7.4% in 1990,
and 9.5% in 2000.
The ten important health issues considered in the report include,
for the third time now, conflict in the South. This conflict
continues to affect the lives of people in the South and
throughout Thailand. It is intractable and complex. Many
different strategies for resolving the conflict have been tried and
have failed. Violence in the southern border provinces features
in the news every day, and even appears to be worsening. We
can only hope that the various parties to the conflict will soon
cooperate to find a solution.
A complete list of the 14 indicators is: (1) dementia: an Epidemic
on the horizon; (2) occupational health; (3) mental illness;
(4) happiness; (5) risk factors for cardiovascular disease; (6) risk
from secondhand smoke; (7) hazardous waste; (8) food
supplements (9) consumer protection; (10) income, savings, and
debt; (11) the suffi ciency economy; (12) Thai young people
gambling to get rich quick (13) Thai young people in the cyber
age. (14) educational inequalities.
Prepared by | Institute for Population and Social Research , Mahidol University | |||
Supported by | Thai Health Promotion Foundation
(Health Information System Development Programme) |
หนังสือ รายงานสุขภาพคนไทย 2549 ประกอบด้วยเนื้อหาสามส่วน ดังนี้ ส่วนที่หนึ่ง ดัชนีชี้วัดสุขภาพคนไทย ปีนี้นำเสนอ 13 หมวด ประกอบด้วย กลุ่มุขภาพกาย 2 หมวด คือ สุขภาพฟัน สุขภาพเพศ กลุ่มพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค 4 หมวด คือ โภชนาการ สุรา ออกกำลังกาย อุบัติเหตุจราจรและการบาดเจ็บ กลุ่มระบบสุขภาพ 1 หมวด คือ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กลุ่มสุขภาพจิต 1 หมวด คือ สุขภาพจิต กลุ่มสุขภาพปัญญา 1 หมวด คือ สุขภาพปัญญาแนวพุทธ และกลุ่มสุขภาพสังคม 4 หมวด คือ การขาดแคลนน้ำ เด็กกับโทรทัศน์และการเรียนรู้ ชีวิต ครอบครัว และ สารเคมีควบคุมศัตรูพืช
ส่วนที่สอง ประมวลสถานการณ์เด่นที่มีผลกระทบต่อสุขภาพคนไทยในรอบปี โดยการรวบรวมสิ่งที่เกิดขึ้นและวิเคราะห์ผลกระทบต่อสุขภาพมานำเสนอ เช่น สถานการณ์ไฟใต้บนแนวทางสมานฉันท์และ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน , จะปล่อยให้รายการโทรทัศน์กำหนดชะตาเด็กไทยไปถึงไหน? , แปรรูปรัฐวิสาหกิจ ประชาชนได้อะไร เป็นต้น
ส่วนที่สาม คือเรื่องประจำฉบับ ปีนี้เสนอเรื่อง อยู่อย่างไรกับไข้หวัดนก ปรับเพื่อความอยู่รอด เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมากและจะส่งผลกับสังคมไทยไปอีกนาน เพราะปัญหาเรื่องไข้หวัดนกเป็นปัญหาที่มีผลกระทบทั้งต่อสุขภาพประชาชนโดยตรง ต่อการเลี้ยงสัตว์ปีกและปัญหาทางด้านสาธารณสุขระหว่างประเทศ รวมทั้งผลกระทบที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคม และวิถีชีวิตของคนในสังคมไทย
จัดทำโดย | สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล (วปส.) | |||
สนับสนุนโดย | สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
(แผนงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าสารสุขภาพ) |
The Thai Health Report 2006 contains three main sections. Section 1, Health Indicator, this year has 13 entries. Two entries deal with physical aspects of health: dental health and sexual health. Three entries deal with determinants of health: nutrition, alcohol, and exercise. There are entries discussing Thailands universal health care system, mental health, and spiritual health. There are also six entries discussing various aspects of social health: water shortages, traffic accidents, television versus school, family life, and pesticides.
Section2, 10+10Issues Currently Affecting the Health of Thais, discusses selected issues arising over the past year and their effect on peoples health.
Section3 Present this years special topic: Facing the Challenge of Bird Flu. Bird flu gas been a major public concern in Thailand, and will continue to be so for many year. As well as being a direct threat to peoples health, bird flu has affected the poultry industry, international public health cooperation, the economy, society, and Thai peoples way of life.
Prepared by | Institute for Population and Social Research , Mahidol University | |||
Supported by | Thai Health Promotion Foundation
(Health Information System Development Programme) |
หนังสือ สุขภาพคนไทย 2548 ประกอบด้วยเนื้อสามส่วนดังนี้ ส่วนที่หนึ่ง ดัชนีชี้วัดสุขภาพคนไทย ซึ่งปีนี้นำเสนอ 12 หมวด ประกอบด้วย กลุ่มสุขภาพกาย 6 หมวด คือ ตาย ป่วย พิการ การตั้งครรภ์และการคลอด มะเร็ง อาหาร กลุ่มสุขภาพจิต 1 หมวด กลุ่มสุขภาพเฉพาะกลุ่ม 2 หมวด คือ ประชากรวัยรุ่นและประชากรสูงวัย และกลุ่มสุขภาพสังคม 3 หมวด คือ ความยากจน สิ่งแวดล้อมและความมั่นคงของมนุษย
ส่วนที่สอง ประมวลสถานการณ์เด่นที่มีผลกระทบต่อสุขภาพคนไทยในรอบปี โดยรวบรวมสิ่งที่เกิดขึ้นและวิเคราะห์ผลกระทบต่อสุขภาพมานำเสนอ เช่น สถานการณ์ไฟใต้ บนเส้นทางสู่สันติภาพ , น้ำตาลในนมและขนมเด็ก เรื่องไม่เล็กในสังคมไทย, ขยะอันตราย ภัยร้ายที่มองไม่เห็น , เด็ดไทยในกับดักอบายมุขที่ถูกกฎหมาย เที่ยวกลางคืน สูบบุหรี่และดื่มเหล้า เป็นต้น และส่วนที่สาม คือ เรื่องประจำฉบับ ปีนี้เสนอเรื่อง การค้าเสรีกับการเข้าถึงยา เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมากและจะส่งผลกับสังคมไทยไปอีกนาน เพราะยาเป็นปัจจัยสี่ที่สำคัญต่อชีวิตเราทุกคน เราจึงอยากจะสื่อสารข้อมูลเรื่องการค้าเสรีให้พอเห็นภาพ เพื่อจะได้เข้าใจการค้าเสรี หรือการทำ FTA คืออะไร เกี่ยวข้องกับชีวิตเรามากน้อยเพียงไร และจะเกิดผลกระทบอย่างไรได้บ้างต่อการใช้ยาของคนไทย
จัดทำโดย | สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล (วปส.) | |||
สนับสนุนโดย | สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
(แผนงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าสารสุขภาพ) |
The Thai Health Report, like this first one, has three parts. The first part, Twelve Health Indicators has 12 sections. Six of these sections look at physical health: deaths, illnesses, disability, pregnancy and birth, cancer nutrition. One section looks at mental health. Two section look at particular population: adolescents and elderly people. The final three sections discuss social health: poverty, environment, and human security.
The second part, Ten plus Ten Health Issues, discusses some recent events and their effect on health. This part uses a new format: it looks at ten notable issues for the year, and then briefly summarizes ten additional issues. It also looks back at the ten notable issues from the previous report, and describes any recent development. The third part of the report examines this years Special Issue : Free Trade in Medicines.
Prepared by | Institute for Population and Social Research , Mahidol University | |||
Supported by | Thai Health Promotion Foundation
(Health Information System Development Programme) |