picture
รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย
ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552

( รายงานการสำรวจการบริโภคอาหารของประชาชนไทย )


อาหารเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ การได้รับอาหารที่ไม่เหมาะสม ทั้งประเภทและ ปริมาณ ย่อมมีผลกระทบต่อสุขภาพอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การประเมินเพื่อทราบสถานะและพฤติกรรมการบริโภค อาหารของประชาชนจึงมีความสำคัญต่อการจัดการระบบสุขภาพและสุขภาวะของประชาชน ประเทศไทยมีการ สำรวจภาวะอาหารและโภชนาการของประชากรไทยมาแล้ว 5 ครั้ง โดยกองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวง สาธารณสุข และภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในปี พ.ศ. 2503, 2518, 2529, 2538 และ 2546 ตามลำดับ สำหรับการสำรวจด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหารในปี พ.ศ. 2551-2 นี้ เป็น ส่วนหนึ่งของการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 ปี พ.ศ. 2551-2 ซึ่งดำเนินการโดย สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และนับเป็นครั้งแรกของการสำรวจสุขภาพ ประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกายที่มีการสำรวจด้านโภชนาการรวมอยู่ด้วย โดยการสำรวจครอบคลุมพฤติกรรม การกินอาหาร ความถี่ในการบริโภคอาหารชนิดต่างๆ และอาหารที่บริโภคย้อนหลัง 24 ชั่วโมง สำหรับใน รายงานฉบับนี้เป็นการเสนอผลการสำรวจความถี่ในการบริโภคอาหารและอาหารที่บริโภคย้อนหลัง 24 ชั่วโมง ที่ผ่านมา ทางคณะผู้ดำเนินงานหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รายงานผลการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินด้าน โภชนาการและสุขภาพของประชาชนไทยต่อไป

จัดทำโดย  สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย (สสท.)
สนับสนุนโดย   สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข , สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ , สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ , กระทรวงสาธารณสุข

picture
รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย
ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551-2552

( สุขภาพเด็ก )


การสำรวจสุขภาพประชาชนไทย เป็นการสำรวจที่ครอบคลุมถึงการสัมภาษณ์ การตรวจร่างกาย และ การตรวจสารตัวอย่างด้วย ทำให้การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยได้ข้อมูลที่มีจุดแข็งคือ เป็นข้อมูลสถานะสุขภาพ ของประชาชนที่มีความน่าเชื่อถือ และเป็นข้อมูลจากการสำรวจในชุมชนที่สามารถเป็นตัวแทนประชากรได้ นอกจากนี้ การสำรวจอย่างต่อเนื่อง ยังสามารถใช้ศึกษาแนวโน้มสถานะสุขภาพของประชาชนได้อย่างต่อเนื่องด้วย การ สำรวจสุขภาพประชาชนไทยครั้งหลังสุด เป็นการสำรวจครั้งที่ 4 (พ.ศ. 2551-2552) ซึ่งบริหารจัดการและ ดำเนินการโดย สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข โดยได้รับการสนับสนุน ด้านงบประมาณจาก สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการ สร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และกรมอนามัย การเตรียมการสำรวจด้านวิชาการ ได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ จากมหาวิทยาลัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การสำรวจภาคสนาม ได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายนักวิชาการของมหาวิทยาลัยในภูมิภาคต่างๆ

รายงานผลการสำรวจสุขภาพเด็กไทยฉบับนี้ เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจสุขภาพประชาชน ไทยครั้งที่ 4 โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายเด็ก ซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญสำหรับการพัฒนาประเทศในอนาคต เนื้อหาจะ ครอบคลุมการนำเสนอปัจจัยเสี่ยงสุขภาพสำคัญได้แก่ พฤติกรรมพฤติกรรมทางสุขภาพ สถานสุขภาพทั่วไป ภาวะโภชนาการและการเจริญเติบโต และการพัฒนาทางสติปัญญา อารมณ์สังคมและจริยธรรม ข้อมูลทั้งหลายนี้ จึงเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้กำหนดนโยบาย นักวิชาการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไป

จัดทำโดย  สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย (สสท.)
สนับสนุนโดย   สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข , สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข , สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ , สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ , กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข , สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ

picture
รายงานการสำรวจสุขภาพประชาชนไทย
โดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 4 พ.ศ. 2551 - 2


การสำรวจสุขภาพประชาชนไทย เป็นการสำรวจที่ใช้มากกว่าแค่การสอบถามกลุ่มตัวอย่าง แต่ครอบคลุมถึงการตรวจร่างกายและการตรวจสารตัวอย่างด้วย ทำให้การสำรวจสุขภาพประชาชนไทย ได้ข้อมูลที่มีจุดแข็งคือ เป็นข้อมูลสถานะสุขภาพของประชาชนที่มีความน่าเชื่อถือ (เพราะมีการยืนยัน ด้วยการตรวจร่างกายและสารตัวอย่าง) และเป็นข้อมูลจากการสำรวจในชุมชนที่สามารถเป็นตัวแทน ประชากรได้ นอกจากนี้การสำรวจอย่างต่อเนื่อง ยังสามารถใช้ศึกษาแนวโน้มสถานะสุขภาพของ ประชาชนได้อย่างต่อเนื่องด้วย การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยครั้งนี้เป็นครั้งที่ 4 (พ.ศ. 2551- 2552) ซึ่งบริหารจัดการและดำเนินการโดยสำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย สถาบันวิจัย ระบบสาธารณสุข และได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจาก สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานหลักประกันสุขภาพ แห่งชาติ และกรมอนามัย การเตรียมการสำรวจด้านวิชาการได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญ สาขาต่างๆ จากมหาวิทยาลัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การสำรวจภาคสนามได้รับความร่วมมือ จากเครือข่ายนักวิชาการของมหาวิทยาลัยในภูมิภาคต่างๆ  รายงานผลการสำรวจฉบับสมบูรณ์นี้ เป็นผลของความพยายามและความร่วมมือของหน่วยงาน ต่างๆ ที่ทำงานนี้มานานกว่า 2 ปี เนื้อหาจะครอบคลุมการนำเสนอปัจจัยเสี่ยงสุขภาพสำคัญได้แก่ พฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับ การสูบบุหรี่ ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การบริโภคอาหาร กิจกรรม ทางกาย และสถานะทางสุขภาพต่างๆ โดยชี้ให้เห็นแนวโน้มเมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจครั้งที่ ผ่านมา (พ.ศ. 2546-2547) ข้อมูลทั้งหมดจึงเป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้กำหนดนโยบาย นักวิชาการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไป

จัดทำโดย  สำนักงานสำรวจสุขภาพประชาชนไทย (สสท.)
สนับสนุนโดย   กระทรวงสาธารณสุข , สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ , สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข , สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

picture
การสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทย
โดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 3 พ.ศ. 2546 - 2547


ข้อมูลข่าวสารเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างยิ่งของการกำหนดนโยบาย แผนงานและการประเมินผลงานทุกระบบ โดยเฉพาะระบบสุขภาพที่ต้องใช้ข้อมูลที่มีความแม่นยำถูกต้องครอบถ้วน และทันเวลา ระบบข้อมูลตามรายงานจากสถานบริการทุกระดับที่รวบรวมเป็นรายเดือนและรายปีนั้นเป็นข้อมูลจากผู้ป่วยเพียงส่วนเดียวซึ่งไม่เพียงพอต่อการกำหนดนโยบายและแผนงานระยะยาวของประเทศ  สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ร่วมกับสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข สถาบันการศึกษาทั้งในกรุงเทพฯและภูมิภาค ได้ร่วมกันสร้างฐานข้อมูลสถานะสุขภาพของคนไทยอย่างต่อเนื่อง โดยมีการสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยคนไทยมาแล้ว 2 ครั้ง และครั้งที่ 3 ได้ดำเนินการในปี 2547 โดยการตรวจร่างกาย เจาะเลือด สัมภาษณ์กลุ่มประชากรตัวอย่างเกือบ 40,000 ราย ครอบคลุมทุกภาคทั้งในเขตเมืองและชนบท ข้อมูลทั้งหมดได้รับการวิเคราะห์ และรายงานผลเบื้องต้นตามที่ปรากฎในรายงานฉบับนี้และจะมีการวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอื่นๆ เพื่อตีพิมพ์เป็นบทความทางวิชาการเผยแพร่ในโอกาศต่อไป

จัดทำโดย  สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข , สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ , กระทรวงสาธารณสุข
สนับสนุนโดย   สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ , สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

picture
ผลสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชน
โดยการตรวจร่างกายครั้งที่ 2 พ.ศ. 2539 - 2540


สุขภาพของประชาชนในชาติ เป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาและความั่นคงของประเทศ การสภาวะสุขภาพประชาชนไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2539-2540 นี้ เป็นการสำรวจครั้งที่สองต่อเนื่องจากครัังแรกที่ได้ดำเนินการมาแล้วในปี พ.ศ. 2534 ที่ต้องการทราบสภาวะสุขภาพของประชาชน ในอันที่จะนำความรู้นั้น มาวางแผน และจัดการระบบการแพทย์ การสาธารณสุข ให้กับประชาชน ให้มีประสิทธิภาพที่สุด อย่างไรก็ตาม ด้วยสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งเศรษฐกิจ สังคม กลวิธีการสำรวจ และการจัดองค์กร ทำให้รูปแบบการสำรวจจำต้องเปลี่ยนแปลงไป ผลที่ได้ในครั้งนี้จึงไม่อาจจะนำไปเปรียบเทียบกับผลการสำรวจที่ผ่านมาแล้วได้โดยตรง

การสำรวจทั้งสองครั้งใช้ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ตลอดจนมองปัญหาในกลุ่มอายุต่าง ๆ ของประชากร เช่นเดียวกัน แต่ก็มีความแตกต่างตรงที่การเลือกกลุ่มตัวอย่าง เพื่อให้ เป็นตัวแทนของประชาชนไทย โดยในการสำรวจครั้งนี้ใช้รายชื่อบุคคลตัวอย่าง ที่สุ่มมาจากการสำรวจการย้ายถิ่นประชากร และกำหนดขนาดตัวอย่าง ให้สามารถตอบคำถามในระดับภาค และกรุงเทพมหานครได้ ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การมองสภาวะสุขภาพ ทั้งด้านบวก และด้านลบ โดยเน้น เรื่องพัฒนาการ สำหรับเด็กปฐมวัย เรื่องเชาวน์ปัญญา ในเด็กวัยเรียน เรื่องสุขภาพ และ โรคที่ตรวจพบได้ง่าย สำหรับผู้ใหญ่วัยทำงาน และเรื่องภาวะพึ่งพิงสำหรับผู้สูงอายุ ทำให้ดูเหมือนว่าเป็นการสำรวจ 4 โครงการ พร้อม ๆ กันไป ใน 5 ท้องถิ่น (4 ภาค และ กรุงเทพมหานคร)

ผลการสำรวจ แสดงให้เห็นชัดว่า พัฒนาการทางสังคมเศรษฐกิจที่ผ่านมาอย่างมากมาย ไม่ได้เอื้อประโยชน์ด้านสุขภาพ ให้กับประชาชนในสัดส่วนเดียวกันเลย ตรงกันข้าม ประชากรในเขตเมือง ดูเหมือนจะมีสภาวะสุขภาพโดยรวมด้อยกว่าประชากรชนบท และที่น่าเป็นห่วงยิ่งก็คือ ค่าเชาวน์ปัญญาของเด็กวัยเรียน ต่ำกว่าที่ควรเป็น นอกจากนี้ความตระหนักของผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ก็มีบางส่วนไม่สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของเด็ก สำหรับผู้สูงอายุนั้น ก็ได้ข้อมูลชัดเจนว่า ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น แต่ก็มีภาวะพึ่งพิงสูงขึ้นตามไปด้วย

จัดทำโดย  ""
สนับสนุนโดย   มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ , กระทรวงสาธารณสุข