สุขภาพของประชาชนในชาติ เป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาและความั่นคงของประเทศ การสภาวะสุขภาพประชาชนไทย ในช่วงปี พ.ศ. 2539-2540 นี้ เป็นการสำรวจครั้งที่สองต่อเนื่องจากครัังแรกที่ได้ดำเนินการมาแล้วในปี พ.ศ. 2534 ที่ต้องการทราบสภาวะสุขภาพของประชาชน ในอันที่จะนำความรู้นั้น มาวางแผน และจัดการระบบการแพทย์ การสาธารณสุข ให้กับประชาชน ให้มีประสิทธิภาพที่สุด อย่างไรก็ตาม ด้วยสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งเศรษฐกิจ สังคม กลวิธีการสำรวจ และการจัดองค์กร ทำให้รูปแบบการสำรวจจำต้องเปลี่ยนแปลงไป ผลที่ได้ในครั้งนี้จึงไม่อาจจะนำไปเปรียบเทียบกับผลการสำรวจที่ผ่านมาแล้วได้โดยตรง
การสำรวจทั้งสองครั้งใช้ข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ตลอดจนมองปัญหาในกลุ่มอายุต่าง ๆ ของประชากร เช่นเดียวกัน แต่ก็มีความแตกต่างตรงที่การเลือกกลุ่มตัวอย่าง เพื่อให้
เป็นตัวแทนของประชาชนไทย โดยในการสำรวจครั้งนี้ใช้รายชื่อบุคคลตัวอย่าง ที่สุ่มมาจากการสำรวจการย้ายถิ่นประชากร และกำหนดขนาดตัวอย่าง ให้สามารถตอบคำถามในระดับภาค และกรุงเทพมหานครได้ ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การมองสภาวะสุขภาพ ทั้งด้านบวก และด้านลบ โดยเน้น เรื่องพัฒนาการ สำหรับเด็กปฐมวัย เรื่องเชาวน์ปัญญา ในเด็กวัยเรียน เรื่องสุขภาพ และ
โรคที่ตรวจพบได้ง่าย สำหรับผู้ใหญ่วัยทำงาน และเรื่องภาวะพึ่งพิงสำหรับผู้สูงอายุ ทำให้ดูเหมือนว่าเป็นการสำรวจ 4 โครงการ พร้อม ๆ กันไป ใน 5 ท้องถิ่น (4 ภาค และ
กรุงเทพมหานคร)
ผลการสำรวจ แสดงให้เห็นชัดว่า พัฒนาการทางสังคมเศรษฐกิจที่ผ่านมาอย่างมากมาย
ไม่ได้เอื้อประโยชน์ด้านสุขภาพ ให้กับประชาชนในสัดส่วนเดียวกันเลย ตรงกันข้าม ประชากรในเขตเมือง ดูเหมือนจะมีสภาวะสุขภาพโดยรวมด้อยกว่าประชากรชนบท และที่น่าเป็นห่วงยิ่งก็คือ ค่าเชาวน์ปัญญาของเด็กวัยเรียน ต่ำกว่าที่ควรเป็น นอกจากนี้ความตระหนักของผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ก็มีบางส่วนไม่สอดคล้องกับสภาพที่แท้จริงของเด็ก สำหรับผู้สูงอายุนั้น ก็ได้ข้อมูลชัดเจนว่า ประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น แต่ก็มีภาวะพึ่งพิงสูงขึ้นตามไปด้วย
จัดทำโดย | "" | |||
สนับสนุนโดย | มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ , กระทรวงสาธารณสุข |
สารบัญรายงาน | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|